กูรูรับปรึกษาชีวิตคู่ หวังหยุดปัญหาหย่าร้างในจีน
รับปรึกษาชีวิตสมรสในจีน ทำเงิน 1 ล้านหยวนต่อปี เป็นที่หาฮือฮาบนโลกออนไลน์ไปทั่วประเทศจีน เมื่อ จู เฉินหยง ที่ปรึกษาชีวิตสมรส วัย 44 ปี เปิดรับหน้าที่นี้ในออฟฟิศเล็กๆ แห่งหนึ่งในนครเซี่ยงไฮ้ ทุกครั้งที่ออนไลน์มีผู้เข้ามาชมกว่า 500 ราย
การเปิดออฟฟิศเพื่อทำหน้าที่รับี งจู เฉินหยง ได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจของผู้คนในประเทศจีนอย่างมาก เพราะเป็นการช่วยแก้ปัญหาของผู้คนที่ประสบปัญหานี้ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ปัจจุบันประเทศจีนพบว่าอัตราการหย่าร้างในจีนพุ่งขึ้นสูงมาก โดยข้อมูลจากรัฐบาลจีนระบุว่า ตัวเลขการจดทะเบียนหย่าปี 2563 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือ 8.6 ล้านคู่ เท่ากับว่าตัวเลขนี้นั้น สูงขึ้นเป็น 2 เท่าจากยอดรวมของปี 2562 และเป็นครั้งแรกที่ยอดหย่าสูงกว่ายอดจดทะเบียนสมรส
“ผมบอกเสมอว่า การให้คำปรึกษาชีวิตสมรสชาวจีนก็เหมือนการรักษามะเร็งระยะสุดท้ายและ มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่คิดจะหย่า พวกเขาต้องการคำแนะนำว่าการหย่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น”จูเล่าพร้อมอธิบายว่าลูกค้าของเขาส่วนใหญ่มาเมื่อ “เกิดวิกฤติสุดๆ” ทำให้ในทุกครั้งที่จูออนไลน์เพื่อให้คำปรึกษานั้น เขาจะคิดเสมอว่า “เขาทำเพื่อหลีกเลี่ยงการหย่าโดยไม่จำเป็นของผู้คน” และเขาก็อยากช่วยคู่สมรสให้หาทางออกได้อย่างนุ่มนวลที่สุดเมื่อต้องการแยกทางกันจริงๆ เพื่อลูกๆของพวกเขาเอง
หลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศจีนใช้นโยบาย “ลูกคนเดียว” มาตลอด ทำให้ประสบกับปัญหาความไม่สมดุลระหว่างเพศชายและเพศหญิง อย่างรุนแรง เกิดประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิงกว่า 30 ล้านคน อาจส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านประชากรในอนาคตได้ นอกจากนี้แรงกดดันจากทางครอบครัวที่ต้องการให้รีบแต่งงาน การแข่งขันในการหน้าที่การงานของคนในสังคม ราคาสิ่งของ บ้านที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น และผู้ที่รับบทบาทหน้าที่คุณแม่มักจะไม่ได้รับการส่งเสริมให้ก้าวหน้าในอาชีพการงานเท่าที่ควร ทำให้ความต้องการที่จะแต่งงาน มีครอบครัว มีลูกของชาวจีนลดลง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพส่วนบุคคลมากกว่า
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
“ถ้ามองในมุมบวก การหย่าร้างคือคำประกาศอิสระภาพและการตื่นรู้ของผู้หญิง นอกจากนี้ปัญหาเงินทองและการนอกใจก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักในการหย่า” จูกล่าวเสริม
อัตราการเกิดที่ลดลง และอัตราการหย่าที่เพิ่มขึ้น ทางรัฐบาลจีนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเมื่อปี 2563 สมาชิกสภาได้เสนอกฎหมายบังคับให้มีระยะเวลาสงบสติอารมณ์ก่อนหย่า 30 วัน จากปกติที่เคยสามารถหย่าได้ภายในวันเดียว การเสนอกฎหมายนี้ก็เพื่อป้องกันการหย่าแบบหุนหันพลันแล่นนั่นเอง
หวัง หยูไป่ ทนายความคดีสมรสในกว่างโจว ได้ออกมาโต้แย้งข้อกฎหมายนี้ว่า “การขยายเวลาก่อนหย่าเป็นการทำร้ายจิตใจกันมากกว่า และมันไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งต่อคนที่ต้องเจ็บปวดกับความรุนแรงในครอบครัว ผู้ที่ต้องการหนีไปจากชีวิตแต่งงานที่ไม่มีความสุข”
ขณะที่หลายมณฑลของจีนตอนนี้ได้ตั้งที่ปรึกษาให้กับคู่แต่งงานหลายหมื่นคู่ ทั้งที่เป็นคู่แต่งงานใหม่ และคู่แต่งงานที่กำลังมีปัญหา ซึ่งวิธีการนี้ช่วยแก้ปัญหาการหย่าร้างได้มากถึง 2 ใน 3 ของผู้ที่มาขอจดทะเบียนหย่า โดยที่กรุงปักกิ่งก็มีที่ปรึกษาประจำการถาวรที่สำนักงานทะเบียนสมรสทุกแห่ง
ทั้งนี้ในประเทศไทยเองก็มีสถาบันอนุญาโตตุลาการ THAC ที่ให้บริการเรื่องการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยวิธีการประนอมข้อพิพาท โดยเฉพาะในเรื่องของการประนอมข้อพิพาทสำหรับคดีครอบครัว อย่างที่รู้กันในเบื้องต้นว่า คดีครอบครัวเป็นคดีที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ทำให้ต้องใช้ที่ปรึกษาหรือผู้ประนอมที่มีความรู้ มีเทคนิคการเจรจาที่น่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ เพื่อที่จะมาช่วยยุติปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในครอบครัว หรือปัญหาที่อาจจะนำไปสู่การแยกทางกันของคู่สมรสได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันกับในประเทศจีน ตลอดจนวิธีการประนีประนอมนี้ เป็นวิธีที่นำไปสู่การหาทางออกร่วมกันโดยที่ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ได้ความเป็นธรรมที่น่าพึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย รวมถึงยังสามารถทำได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงไม่ต้องกลัวว่าหากมีคู่สมรสที่อยู่คนละประเทศหรือคนละสัญชาติจะจัดการยุติปัญหาข้อพิพาทนี้ได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการรับปรึกษาปัญหาชีวิตคู่ในประเทศจีนนั้นจะได้รับความนิยมแต่ในบางกรณีก็ไม่สามารถไกล่เกลี่ยให้ลงตัวได้เช่น กรณีของวอลเลซ ข้าราชการพลเรือน อายุ 36 ปี ที่ปิดฉากชีวิตแต่งงาน 3 ปี ที่ไปไม่รอดเพราะพ่อตาแม่ยายเข้ามาจุ้น ซึ่งกรณีนี้กระบวนการการไกล่เกลี่ยล่าช้าเกินกว่าที่จะเปลี่ยนใจหย่า หลังจากศาลเซี่ยงไฮ้อนุญาตให้หย่าก็ล่าช้าไป 1 ปีเพราะโควิดระบาด โดยวอลเลซกล่าวว่า “สำหรับคนที่อยากหย่าจริงๆ การไกล่เกลี่ยเป็นแค่พิธีการเท่านั้น” และเขาเป็นหนึ่งในคนจีนรุ่นใหม่ ที่ไม่แยแสกับการแต่งงานมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่เห็นด้วยกับความพยายามผลักดันของรัฐบาล เพื่อนของเขาหลายคนหมกมุ่นอยู่กับการที่ต้องแต่งงาน สุดท้ายกลายเป็นการหย่าร้าง ฉะนั้นการกดดันให้ผู้หญิงแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและรีบเร่งให้พวกเธอมีลูก ทำให้หญิงชาวจีนจำนวนมากรู้สึกอึดอัดและไม่อยากเข้าไปติดกับปัญหาที่จะเจอในชีวิตคู่นี้
ที่มา iQNewsAlert : Story (iqnewsclip.com)
‘กูรูกู้รัก’ ธุรกิจทำเงินแก้ปัญหาชีวิตคู่จีน (bangkokbiznews.com)