ข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการว่าด้วยการประนอมข้อพิพาท
การประนอมกับการอนุญาโตตุลาการแตกต่างกันอย่างไร มีข้อบังคับเหมือนกันหรือเปล่า? คำถามนี้ก็เป็นอีกคำถามที่ทางสถาบัน THAC ของเรานั้นพบเจออยู่บ่อย ๆ
ข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการว่าด้วยการประนอมข้อพิพาท มีขึ้นมาเพื่อกำหนดกระบวนการ การประนอมข้อพิพาท เพราะการประนอมข้อพิพาทเป็นวิธีการที่คู่พิพาทสมัครใจที่จะตั้งบุคคลที่สามที่เป็นคนกลางเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือในการระงับข้อพิพาท โดยข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดรายละเอียดตั้งแต่การเริ่มต้นการประนอม การตอบรับการเข้าร่วมการประนอมจัดส่งคำชี้แจ้งและคำแถลง เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ จนสิ้นสุดการประนอม และถ้าหากคู่พิพาทตกลงกันได้แล้วก็จะต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เพื่อนำมาบังคับใช้นั่นเอง
โดยกระบวนการการประนอมนั้นจะต้องทำให้เสร็จในระยะเวลา 60 วัน แต่ต้องไม่เกิน 90 วัน หลังจากแต่งตั้งผู้ประนอม และยังสามารถขยายเวลาเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 30 วัน และเมื่อออกสัญญาประนีประนอมยอมความมาแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความนี้จะมีสภาพบังคับเหมือนกับคำชี้ขาดของการทำอนุญาโตตุลาการเลย เพราะที่สถาบันฯ THAC มีข้อบังคับพิเศษที่สามารถเปลี่ยนจากสัญญาประนีประนอมเป็นคำชี้ขาดได้ โดยคู่พิพาทต้องตกลงกันเพื่อทำอนุญาโตตุลาการ โดยแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมา 1 คน โดยคนที่มาเป็นอนุญาโตตุลาการจะต้องไม่เป็นผู้ประนอมในข้อพิพาทของเราก่อน เพียงเท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนจากสัญญาประนีประนอมเป็นคำชี้ขาดได้นั่นเอง สามารถดูคลิปวิดีโอสั้นที่ทาง THAC จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการว่าด้วยการประนอมข้อพิพาท คลิก