คณะกรรมาธิการยุโรปตั้งเป้ายุติระบบความลับที่ปกป้องการถือครองเชื้อเพลิงฟอสซิลในทุกกระบวนการ
เดอะการ์เดียน (The Guardian) สำนักข่าวชื่อดังจากเกาะอังกฤษ รายงานว่า การใช้แผงองค์กรลับเพื่อปกป้องการลงทุนเชื้อเพลิงฟอสซิลมูลค่าหลายพันล้านปอนด์ภายในยุโรปอาจสิ้นสุดลงหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปมีความคืบหน้าในการการยกเลิกระบบดังกล่าวแล้วในอีกไม่ช้า
สืบเนื่องมาจากการกรณีการได้รับประโยชน์จากภาษีลาภลอยของ “Rockhopper” บริษัทน้ำมันชื่อดังจากแดนผู้ดี กว่า 210 ล้านปอนด์ (ราว 8,779 ล้านบาท) ส่งผลให้ทางคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเตรียมปฏิรูปสนธิสัญญากฎบัตรพลังงาน (ECT) ใหม่ ซึ่งจะทำให้ การ “Rockhopper” และบริษัทอื่นๆหมดสิทธิ์รับค่าลาภลอยดังกล่าวอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม กลุ่มสมาชิกของ สนธิสัญญากฎบัตรพลังงานหรือ The Energy Charter Treaty (ECT) กว่า 52 ประเทศ ต่างเตรียมพร้อมด้วยความพยายามในการปกป้องรายได้ของบริษัทพลังงานในยุโรปที่ลงทุนนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยรายละเอียดของสนธิสัญญาให้สิทธิพวกเขาในการฟ้องรัฐในระบบอนุญาโตตุลาการเมื่อพวกเขาเชื่อว่าการคาดการณ์ผลกำไรของพวกเขาได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจเชิงนโยบายได้ แต่ในทางกลับกันความพยายามในการปิด หรือหยุดดำเนินการนั้น สิ่งนี้อาจทำให้รัฐต่างๆ สามารถบรรลุเป้าหมายในการปิดโครงการน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ของสหภาพยุโรปในปี 2050
การลงทุนด้านพลังงานของสหภาพยุโรปมากกว่าสองในสามได้รับการคุ้มครองโดยสนธิสัญญาดังกล่าว คิดว่ามาจากนักลงทุนที่อยู่ในกลุ่มเช่นกัน และการเบิกจ่ายโดยรวมภายใต้กลุ่ม ECT อาจสูงถึง 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 49 ล้านบาท) ภายในปี 2593 จากการประมาณการบางอย่างของบรรดานักวิเคราะห์
คอร์เนเลีย มาร์ฟีลด์ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านนโยบายการค้าและสภาพภูมิอากาศของ Climate Action Network Europe กล่าวว่า ข้อเสนอนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของบริษัท เชื้อเพลิงฟอสซิลที่โจมตีนโยบายสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างมาก อย่างน้อยก็ภายในสหภาพยุโรป แต่จะเป็นการดียิ่งขึ้นที่จะเปิดโอกาสให้ประเทศนอกสหภาพยุโรปเข้าร่วมข้อตกลงนี้ได้
ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการระบุถึงอันตรายที่อยู่บนความแตกต่างในกฎหมายระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปและสนธิสัญญาด้านพลังงาน โดยจะกลายเป็นความขัดแย้งทางกฎหมายโดยพฤตินัยเพราะการตัดสินชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ละเมิดกฎหมายของสหภาพยุโรปจะเผยแพร่ในคำสั่งทางกฎหมายของประเทศในโลกที่สาม หรือกลุ่มประเทศนอกสหภาพยุโรป
หรืออาจะกล่าวได้ว่า ความเสี่ยงในข้อขัดแย้งทางกฎหมายคือการทำให้ข้อตกลงระหว่างประเทศไม่สอดคล้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรป ด้วยเหตุนี้ รัฐในสหภาพยุโรปจึงควรยืนยันว่ากลุ่ม ECT ไม่มีผลบังคับใช้ และไม่เคยบังคับใช้กับความสัมพันธ์ภายในสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวของสหภาพยุโรป จากการประชุม ณ กรุงบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม ยังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะแก้ไข และปรับปรุงรายละเอียดในส่วนของ ECT ให้ทันสมัยท่ามกลางการเรียกร้องให้ออกจากสนธิสัญญาค้าส่งที่เพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อวันพฤหัสบดี สภาล่างของรัฐสภาโปแลนด์ลงมติถอนตัวจาก ECT. 418 ต่อ 11 เสียงอย่างเป็นเอกฉันท์
อดัมส์ กิลบอร์ด เช็กเวอทินสกีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมของโปแลนด์ เปิดเผยว่า ทางการโปแลนด์กำลังมาถึงจุดที่ประเมินร่วมกันว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นจากกระบวนการปรับปรุงนี้ และไม่มีวี่แววว่าทางกลุ่มพันธมิตรของเรายินดีที่จะดำเนินการเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ อิตาลีออกจาก ECT เมื่อห้าปีก่อนหน้านี้
และต่างมองเห็นได้จุดเดียวกันว่าว่าโอกาสที่จะทำให้สนธิสัญญาที่เป็นรูปร่างที่ต้องการจะไม่เกิดขึ้น
ก่อนหน้านี้ โปแลนด์มีชื่อเสียงในฐานะสภาพอากาศที่ล้าหลัง แต่มีนโยบายสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ของสหภาพยุโรปในปี 2050 ซึ่งกำหนดให้ต้องยุติอุตสาหกรรมถ่านหินและก๊าซที่กว้างขวางอย่างรวดเร็ว รวมถึงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่สหภาพยุโรปกำลังแก้ไขเพื่อหาจุดตรงกลางร่วมกัน แต่ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรปไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นทันทีทำให้นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่ากลยุทธ์ในการเดินหน้าต่อไปนั้นยังคงเปิดช่องทางให้นักลงทุนดำเนินการต่อได้ผ่านการย้ายจากเขตอำนาจศาลหนึ่งไปยังอีกเขตอำนาจหนึ่ง
ยามินา ซาเฮบ อดีตเจ้าหน้าที่ของ ECT ที่ผันตัวเป็นนักวิจารณ์สนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของรายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) กล่าวหาคณะกรรมการว่า “ซ่อนความล้มเหลวที่เห็นได้ชัดของข้อเสนอการปรับปรุง ECT ให้ทันสมัย”
สิ่งเหล่านี้ จะไม่ป้องกันการเรียกร้องการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐนักลงทุนใหม่จากนักลงทุนในสหภาพยุโรปต่อประเทศในสหภาพยุโรป เธอกล่าวโดยสังเกตว่า สหราชอาณาจักรและสวิตเซอร์แลนด์มีแนวโน้มที่จะดึงดูดนักลงทุนเหล่านั้นมาก เพราะการเปิดช่องทางดังกล่าวของสหภาพยุโรปที่เอื้อให้บางประเทศได้รับเม็ด เงินและผลประโยชน์อีกด้วย