ครม. เห็นชอบไทยเข้าร่วมเจรจาการค้าเสรีแห่งยุโรป “EFTA” ขยายฐานเศรษฐกิจ พร้อมคุ้มครองคู่ค้าด้วยการอนุญาโตตุลาการ
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า มีการเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือ (European Free Trade Association: EFTA) พร้อมทั้งเห็นชอบการเจรจาจัดทำบันทึกความตกลง เพื่อต่อยอดการเจรจาในรายละเอียด ในวันที่ 20 มิถุนายนนี้ พร้อมเสนอแนวทางการระงับข้อพิพาททางเลือกเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงนี้ด้วย
การเจรจาความร่วมมือร่วมกับ EFTA ในครั้งนี้ นอกจากประเทศไทยแล้วนั้นจะประกอบไปด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ โดยทางกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่าเป็นกลุ่มตลาดที่มีความสามาถ และศักยภาพ รวมถึงความสนใจที่จะตกลงทำการค้าเสรีกับไทย โดยมีร่างกรอบของการเจรจาดังนี้
1. การค้าสินค้าที่ ลดหรือยกเลิกอุปสรรคด้านภาษี
2. การปรับปรุงระเบียบของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าท้องถิ่นให้มีความโปร่งใส
3. การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการศุลกากร
4. มาตรการป้องกัน และเยียวผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมในประเทศ
5. สุขภาวะ และสุขอนามันของสินค้า
6. ความร่วมมือในการขจัดอุปสรรค
7. พัฒนาการค้า ให้มีมาตรฐานสูงในระดับสากลร่วมกัน
8. เปิดเสรีการลงทุนสาขาในประเทศไทยให้มีศักยภาพ
9. ส่งเสริมการค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
10. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในแนวทางและข้อกฎหมายของประเทศไทย
11. ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
12. การจัดซื้อจัดจ้างในไทยอย่างโปร่งใด
13. การคุ้มครองสิทธิของแรงงาน และสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
14. ส่งเสริม และให้ความรู้มือด้านเทคนิค และด้านเศรษฐกิจ
15. การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลดำเนินงานภายใต้ความตกลง
และ 16. การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ และส่งเสริมการใช้การอนุญาโตตุลาการ หากไม่สามารถแก้ปัญร่วมกันได้
ทั้งนี้ การใช้แนวทางการระงับข้อพิพาททางเลือกไม่ว่าจะเป็นการอนุญาโตตุลาการ หรือการประนอมข้อพิพาทเข้ามาใช้ในการยุติข้อพิพาทระหว่างรัฐ หรือระหว่างคู่ค้านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
เพราะการค้าระหว่างประเทศในทั่วโลกนั้นเน้นย้ำต่อการใช้กระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญ และคุณค่าของการระงับข้อพิพาททางเลือกในทางการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้อนุสัญญานิวยอร์ค (คลิ๊กเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม) ซึ่งถือเป็นตราสารพหุภาคีด้านการค้าระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด พร้อมกันนี้ยังเป็นเชื่อมโยงสนธิสัญญา บันทึกข้อตกลงภาคีทางการค้าต่างๆ ที่ใช้การระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการเข้าด้วยกันเพื่อเป็นหลักประกันทางการร่วมลงทุน และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติร่วมกัน