ความแตกต่างระหว่างการอนุญาโตตุลาการและการดำเนินการทางศาลในกฎหมายไทย
เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ทำให้มีโอกาสเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน การระงับข้อพิพาทนั้นมีด้วยกันมากมายหลายแบบ อาทิเช่น
- การเจรจาต่อรอง ([TS1] Negotiation) ซึ่งถือเป็นวิธีการที่พื้นฐานที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางกฎหมาย และไม่จำเป็นต้องมีบุคคลภายนอกในกระบวนการ
- [TS2] (Mediation) เป็นวิธีการที่สลับซับซ้อนมากกว่าการเจรจาต่อรอง โดยการประนอมข้อพิพาทนี้ นอกเหนือไปจากคู่กรณีแล้ว จะมีบุคคลที่สามที่เรียกว่าผู้ไกล่เกลี่ยเข้าร่วมกระบวนการประนอมข้อพิพาทด้วย
- การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างคู๋พิพาท ซึ่งอาจมีมากกว่าสองฝ่าย โดยส่งข้อพิพาทไปยังบุคคลภายนอกทำการพิจารณาชี้ขาด โดยที่คู่พิพาทยินยอมที่จะผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยที่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นมีผลผูกพันคู่พิพาท
- การฟ้องคดีต่อศาล (Litigation เป็นการระงับข้อพิพาทที่คู่ความที่มีการโต้แย้งกันนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการศาลตามกระบวนวิธีพิจารณาความแพ่ง (หรือกระบวนพิจารณาความอาญา) โดยเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ โดยศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีตามพยานหลักฐาน โดยที่คู่ความมีสิทธิในการอ้างพยานและแก้ต่างข้อกล่าวหาของตน
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
ความแตกต่างระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการและกระบวนการพิจารณาคดีทั่วไป
กล่าวโดยทั่วไปแล้วการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่ยืดเยื้อเหมือนดังเช่นการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ ทั้งนี้เนื่องมาจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นมีกระบวนการพิจารณาที่ไม่เคร่งครัดและไม่มีขั้นตอนยุ่งยากแต่คู่พิพาทก็ยังสามารถเสนอพยานหลักฐานของตนต่ออนุญาโตตุลาการได้อย่างยุติธรรมเท่าเทียมกัน
การเข้าสู่กระบวนการ
ในกรณีของกระบวนพิจารณาโดยศาลนั้น คู่ความไม่จำเป็นต้องตกลงกันล่วงหน้าไว้ก่อน เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยความยินยอมของคู่กรณี
ในทางกลับกัน การเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้น คู่พิพาทต้องทำการตกลงกันด้วยความสมัครใจ โดยคู่กรณีตกลงกันไว้ด้วยการทำเป็นสัญญาเรียกว่า “สัญญาอนุญาโตตุลาการ” (อังกฤษ: arbitration agreement) มีใจความเป็นการเสนอข้อพิพาทของตนที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ไม่ว่าจะมีการกำหนดตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการไว้ในคราวนั้นด้วยหรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการจึงเกิดขึ้นด้วยความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยการมอบอำนาจให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยข้อพิพาทดังกล่าว ส่วนการมอบอำนาจเช่นว่าอาจกระทำกันโดยตกลงกันในสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเลยหรือในสัญญาอื่น ๆ ต่างหาก เช่น สัญญาที่คู่สัญญานั้นตกลงทำขึ้นเพื่อกิจการระหว่างกันและจะถือว่าข้อสัญญาต่างหากนี้นับเข้าเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการเช่นกัน ทั้งนี้หากคู่กรณีไม่ได้มีการตกลงกันไว้ให้มีการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ แม้ว่าจะมีการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการจนเสร็จสิ้นจนมีคำชี้ขาดแล้วก็ตาม คำชี้ขาดก็ไม่สามารถใช้บังคับได้[TS3]
สำหรับประเทศไทยนั้น คู่พิพาทจะเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการได้ 2 ประเภท คือ 1) การอนุญาโตตุลาการในศาลซึ่งเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 210-222 [TS4] และ 2) การอนุญาโตตุลการนอกศาล ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการหรือสำนักระงับข้อพิพาทต่าง ๆ
ความสะดวกและรวดเร็ว
ในส่วนของการพิจารณาคดีโดยศาลนั้น จะใช้เวลาค่อนข้างนาน และประกอบไปด้วยขั้นตอนรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงการที่คู่ความสามารถอุทธรณ์หรือฎีกาคดีได้ ซึ่งอาจทำให้กระบวนพิจารณายาวนานและยืดเยื้อ
การอนุญาโตตุลาการนั้นจะมีความรวดเร็วในกระบวนพิจารณามากกว่า รวมทั้งมีความยืดหยุ่นมากกว่า อีกทั้งการที่อนุญาโตตุลาการนั้นย่อมเป็นผู้ที่คู่พิพาทเลือกให้เป็นผู้ชี้ขาด ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในปัญหาที่เป็นที่พิพาท ทำให้การพิจารณาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเมื่ออนุญาโตตุลาการได้ทำคำชี้ขาดแล้ว ข้อพิพาทเป็นอันสิ้นสุดทันที คู่พิพาทต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่สามารถอุทธรณ์ได้อีกต่อไป นอกเหนือจากในบางกรณีเท่านั้น
ความยุ่งยากและความสลับซับซ้อนของคดี
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาเป็นอนุญาโตตุลาการในกรณีพิพาทนั้นมักจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในกรณีพิพาทอยู่แล้ว จึงสามารถเข้าใจสภาพการณ์รวมไปถึงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การพิจารณาเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและยุติธรรม
ในส่วนของกระบวนพิจารณาทางศาลนั้น เนื่องจากคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่จะพิพากษาคดีได้ ดังนั้นผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนั้นอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในกรณีนั้น ๆ ดังนั้นในกรณีนี้ก็จะขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน พยานผู้เชี่ยวชาญที่มาเบิกความ รวมไปถึงความสามารถของทนายความในคดีนั้น ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความล่าช้าได้อีกด้วย
การรักษาความลับ
การพิจารณาคดีในศาลนั้น ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งได้ทำการบัญญัติในการกระบวนพิจารณาต้องทำโดยเปิดเผย โดยที่บุคคลภายนอกสามารถเข้าฟังและรับรู้ได้ ยกเว้นในบางกรณีเท่านั้น ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีในทางธุรกิจซึ่งอาจจะต้องมีการรักษาความลับ รวมไปถึงภาพพจน์ทางธุรกิจอีกด้วย
ในทางกลับกัน กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นการลับ บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิเข้าร่วม รวมถึงไม่มีสิทธิรู้ข้อเท็จจริงในคดีทำให้สามารถรักษาความลับและรักษาภาพพจน์ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท
เนื่องมาจากกระบวนพิจารณาทางศาลนั้นใช้เวลาค่อนข้างนานและอจยืดเยื้อได้หลายปีในบางกรณี เนื่องจากมีการอุทธรณ์และฎีกา ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสทางธุรกิจ รวมไปถึงอาจเสียความสัมพันธ์ในทางธุรกิจได้อีกด้วย
การอนุญาโตตุลาการนั้นใช้เวลาน้อยกว่า รวมไปถึงมีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายกว่า ดังนั้นจึงมีลักษณะที่เป็นมิตรต่อคู่พิพาทมากกว่า ซึ่งเป็นผลดีต่อคู่พิพาทที่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษามิตรภาพในทางธุ[TS6] รกิจกันต่อไปในอนาคต
อ้างอิง:
สรุปสาระสาคัญโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่อนญุาโตตุลาการ หลักสูตร“กระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ” https://tai.coj.go.th/th/file/get/file/20190329e8feec7a17790f108bed0f9b922ed185134126.pdf
อนันต์ จันทรโอภากร. กฎหมายไทยกับการส่งเสริมอนุญาโตตลุาการข้อพิพาททางพาณิชย์. https://tai.coj.go.th/th/file/get/file/20190507d41d8cd98f00b204e9800998ecf8427e104904.pdf
จารุณี มณีรัตน์. การระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการในคดีที่มีทุนทรัพย์เล็กน้อย
: ศึกษากรณีระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี https://core.ac.uk/download/pdf/233619955.pdf