คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและความผูกพันต่อคู่พิพาท
การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) นั้นเป็นการระงับข้อพิพาททางแพ่งแบบหนึ่ง โดยที่คู่พิพาท[TS1] ได้มีการตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทของตนที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด โดยมีการทำเป็นสัญญาที่เรียกว่า “สัญญาอนุญาโตตุลาการ” หากไม่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ[TS2] ไม่อาจใช้บังคับได้ หรือไม่ครอบคลุมไปถึงกรณีพิพาท คู่พิพาทก็ไม่จำต้องผูกพันให้มีการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ หากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น คู่พิพาทก็ชอบที่จะฟ้องร้องกันตามกฎหมายต่อไป[1] [TS3] ในทางกลับกัน หากมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการแล้ว ข้อสัญญาย่อมผูกพันคู่พิพาทให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ และในกรณีที่คู่พิพาทนำความไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลโดยพลการ และเมื่อคู่พิพาทฝ่ายใดร้องขอ ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่จําเป็นต้องวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี เพื่อให้ไปดําเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป[2] ทั้งนี้ ขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการที่จะวินิจฉัยกรณีพิพาทมีอยู่เท่าที่ระบุในไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ประเด็นใดที่อยู่นอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาย่อมไม่อยู่ในเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ ต้องนำข้อพิพาทไปฟ้องเป็นคดีสู่ศาลต่อไป[3] อย่างไรก็ตาม การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้นจำเป็นที่จะต้องเป็นข้อพิพาทที่สามารถระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายเท่านั้น[4] เอกชนไม่สามารถวินิจฉัยในเรื่องสถานะหรือความสามารถของบุคคลได้ เช่นนี้ต้องได้รับการพิพากษาโดยศาลเท่านั้น
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนุญาโตตุลาการ 2 ฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2477 มาตรา 210-220 และ 222 ซึ่งเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการในศาล และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล โดยกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ใช้กับการระงับข้อพิพาททางแพ่งทุกชนิดโดยการอนุญาโตตุลาการ โดยรวมไปถึงข้อพิพาททางธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้าและการลงทุนที่ดำเนินการในประเทศไทย[5]
วิธีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
- Ad Hoc Arbitration หรือการอนุญาโตตุลการที่คู่พิพาท[TS4] ดำ[TS5] เนินการเองหรือเป็นการเฉพาะกิจ เป็นการที่คู่พิพาท[TS6] ประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทตามวิธีการด้วยตนเอง โดยไม่ใช้บริการการอนุญาโตตุลาการจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ และทำการตั้งอนุญาโตตุลาการและมีการกำหนดรายละเอียดของวิธีพิจารณาต่าง ๆ และให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท
- Institutional Arbitration หรือการอนุญาโตตุลาการที่ดำเนินการโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นกรณีที่คู่พิพาทพิพาท[TS7] นั้นตกลงกันใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการที่บริการการอนุญาโตตุลาการ เช่นสถาบันอนุญาโตตุลาการ หรือสถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม รวมถึงสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น [TS8]
การใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการนั้นจะมีความสะดวกสบายมากกว่า Ad Hoc ทั้งนี้เนื่องมาจาก[TS9] การที่สถาบันอนุญาโตตุลาการทุกแห่งจะมีข้อบังคับอนุญาโตตุลาการหรือ Arbitration Rule ของตนเอง เช่น การแต่งตั้งและคัดค้านอนุญาโตตุลาการ กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ การทำคำชี้ขาด ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการของสถาบัน และสถาบันจะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการต่าง ๆ โดยที่คู่พิพาท[TS10] ไม่ต้องดำเนินการเอง[6][TS11]
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
คำชี้ขาด หมายถึงคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาททุกประเด็นที่คู่พิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ รวมถึงการตัดสินในประเด็นขอบ[TS12] เขตอำนาจอนุญาโตตุลาการ และวิธีพิจารณาอนุญาโตตุลาการโดยคำชี้ขาดต้องเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่พิพาท[TS13] [7] โดยที่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นต้องทำให้เสร็จภายในกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่กระบวนพิจารณาเป็นอันสิ้นสุด[8] โดยให้ใช้เสียงข้างมาก[9]
การยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาด
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยทั่วไปนั้นถือว่าเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่พิพาท[TS14] โดยเป็นการยุติทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย โดยหากคู่พิพาท[TS15] ที่แพ้ไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ฝ่ายที่ชนะก็สามารถร้องต่อศาลเพื่อขอบังคับได้[10] อย่างไรก็ดี เนื่องจากการพิจารณาและการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตยของศาล[11] ดังนั้น การนำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศหนึ่งไปบังคับในอีกประเทศหนึ่งนั้นจะง่ายกว่าการบังคับตามคำพิพากษาของศาล [TS16] เพราะไม่ใช่การนำอำนาจอธิปไตยของประเทศหนึ่งไปบังคับในอีกประเทศหนึ่ง แต่หมายถึงคำชี้ขาดขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง และมักจะมีความสัมพันธ์กับอนุสัญญาต่าง ๆ
อย่างไรก็ดี การที่จะบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ[TS17] [TS18] นั้นจะต้องมีการร้องขอต่อศาลเสียก่อน[12] ซึ่งโดยปกติศาลก็จะไต่สวนว่ามีการทำคำชี้ขาดกันจริงและถูกต้องหรือไม่ และเปิดโอกาสให้คัดค้านได้เฉพาะเหตุตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าคำคัดค้านฟังไม่ขึ้นและมีการทำคำชี้ขาดกันจริง ศาลก็จะพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดนั้น โดยไม่ได้เข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ชี้ขาด
ที่มา:
สถาบันอนุญาโตตุลาการ. สำนักอนุญาโตตุลาการ [TS19] สำนักงานศาลยุติธรรม. คู่มือการอนุญาโตตุลาการ: แนวคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ https://tai.coj.go.th/th/file/get/file/20190327a3309340b041b991ff3722f55956bba6104329.pdf
จารุณี มณีรัตน์. การระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการในคดีที่มีทุนทรัพย์เล็กน้อย: ศึกษากรณีระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี https://core.ac.uk/download/pdf/233619955.pdf
วารสารวิชาการศาลปกครอง. อนุญาโตตุลาการและการไกล่เกลี่ยในคดีปกครองของไทย บรรยายโดย ดร.มานิตย์ วงศ์เสรี ตุลาการศาลปกครองกลาง. http://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Oldnews/09-ARTICLE/Dr-Marnit.pdf
[1] ฎีกาที่ 11949/2556
[2] พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14
[3] ฎีกาที่ 8627/2550
[4] สถาบันอนุญาโตตุลาการ. สำนักอนูญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม. คู่มือการอนุญาโตตุลาการ: แนวคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ น.17
[5] จารุณี มณีรัตน์. การระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการในคดีที่มีทุนทรัพย์เล็กน้อย: ศึกษากรณีระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี น.112
[6] เสาวนีย์ อัศวโรจน์, คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยการ อนุญาโตตุลาการ, พิมพ์ครั้งที่3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 49.
[7] อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5 น. 119
[8] ข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการ หมวด 6 ข้อที่ 70
[9] ข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการ หมวด 6 ข้อที่ 69
[10] วารสารวิชาการศาลปกครอง. อนุญาโตตุลาการและการไกล่เกลี่ยในคดีปกครองของไทย บรรยายโดย ดร.มานิตย์ วงศ์เสรี ตุลาการศาลปกครองกลาง. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2545 น. 111
[11] เพิ่งอ้าง หน้าเดียวกัน
[12] พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2545 มาตรา 41