ทะเลจีนใต้เดือด! ถอดรหัสข้อพิพาทสหรัฐ – จีนในสังเวียนอาเซียน
สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกา กับสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภายหลังจากการมาเยือนพื้นที่ตะวันตกออกเฉียงใต้ของกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดี และแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในการหนุนกลุ่มประเทศอาเซียนบริเวณน่านน้ำทะเลจีนใต้ ในการงัดข้อกับจีน ที่กำลังจะใช้มาตรการขมขู่ บีบบังคับ และอ้างสิทธิอย่างไม่เป็นธรรมในพื้นที่ทะเลดังกล่าว
ต้นตอของปัญหาดังกล่าวสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทของ “ทะเลจีนใต้” ที่หลายประเทศ อาทิ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน และใต้หวัน ที่ต่างอ้างกรรมสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าวมานานกว่าร้อยปี ซึ่ง จีน นั้นอ้างถึงกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด
การมาเยือนถิ่นอาเซียนของ กมลา แฮร์ริส ครั้งนี้นอกจากจะแสดงจุดยืนเคียงข้างกลุ่มประเทศอื่นๆที่ต่างเป็นคู่กรณีกับจีนแล้วนั้น ยังแสดงวัตถุประสงค์ในการคานอำนาจกับจีนที่แพร่ขยายอำนาจทางด้านเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เธอยังได้อ้างผลการตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในปี 2559 ที่ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายชนะจีนในพื้นที่สันทรายสการ์โบโรห์ แต่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร โดยเธอเสริมว่าการกระทำของรัฐบาลจีนยังบ่อนทำลายระเบียบตามกฎเกณฑ์และคุกคามอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ
ล่าสุดประเด็นดังกล่าวถึงหูของจีน หวัง เหวินปิน โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศ จึงได้ชี้แจงกลับอย่างทันควันว่า สหรัฐใช้วาทกรรมเพื่อปกป้องหลักการอเมริกาต้องมาก่อน ปราบปราม บีบบังคับ และกลั่นแกล้งประเทศอื่นๆ ได้ตามอำเภอใจ พร้อมยกตัวอย่างการที่สหรัฐถอนตัวออกจากอัฟกานิสถาน แสดงถึงความเห็นแก่ตัวของรัฐบาลสหรัฐอีกด้วย
ทั้งหมดนี้หลายฝ่ายวิเคราะห์ถึงความพยายามของสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำทัพของ โจ ไบเดน ประธานธิบดีคนปัจจุบัน ที่รุกคืบเข้าอาเซียนทุกทาง เพื่อคานการขยายอำนาจของจีน ที่ดูเหมือนจะอิทธิพลมากขึ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งการมาเยือนครั้งนี้อาจจะส่งผลให้ข้อพิพาทระหว่างจีน กับกลุ่มประเทศในทะเลจีนใต้นั้นจะดุเดือด และแข็งกร้าวขึ้นเมื่อมีสหรัฐมาเป็นตัวละครรายใหม่ที่ค่อยๆเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเด็นของอนุญาโตตุลาการนั้น THAC เชื่อว่าเราอาจจะได้เห็น และวิเคราะห์กรณีพิพาทในอีกหลายประเทศหลังจากนี้แน่นอน โปรดติดตามการอักเดทข่าวสาร และบทความวิเคราะห์อันเฉียบแหลมจากทีมงานของเรา