ทำความรู้จักกับ ICC หรือหอการค้านานาชาติและความเกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการ
International Chamber of Commerce หรือ ICC นั้นตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งขึ้นในปี 1919 หรือ 102 ปีที่แล้ว ซึ่งสภาหอการค้านานาชาตินั้นถือเป็นองค์กรทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1] โดยมีสมาชิกเป็นองค์กรทางธุรกิจมากกว่า 45 ล้านรายจากประเทศกว่าร้อยประเทศทั่วโลก ภารกิจหลักของ ICC นั้นคือให้การสนับสนุนทางการค้า รวมถึงสนับสนุนการลงทุนระหว่างประเทศอีกด้วย
ICC นั้นเป็นผู้กำหนด INCOTERMS ซึ่งมาจาก International Commercial terms คือข้อกำหนดในการส่งสินค้า หรือเงื่อนไขในการส่งสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายทราบถึงความเขตความรับผิดชอบและความรับผิดต่าง ๆ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ประธานของ ICC คนปัจจุบันคือนาย Ajaypal Singh Banga โดยมีนาย John W.H. Denton AO เป็นเลขานุการ[2]
ICC นั้นมีกิจกรรมหลักทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่
1. การตั้งกฎ
2. การระงับข้อพิพาท
3. การสนับสนุนนโยบาย
ข่าว/บทความ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกนั้นต่างก็มีส่วนร่วมในธุรกิจระหว่างประเทศ ICC จึงมีอำนาจเหนือใครในการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน แม้ว่ากฎเหล่านี้จะเป็นไปโดยสมัครใจก็ตาม แต่ ICC ก็มีการติดตามการทำธุรกรรมหลายพันรายการทุกวันและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศ
นอกเหนือไปจากนี้ ICC สนับสนุนงานของสหประชาชาติองค์การการค้าโลกและหน่วยงานระหว่างรัฐบาลอื่น ๆ อีกมากมายทั้งระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคเช่น G20[3] ในนามขององค์กรธุรกิจระหว่างประเทศ ICC เป็นองค์กรแรกที่ได้รับสถานะที่ปรึกษาทั่วไปกับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติและสถานะผู้สังเกตการณ์ของสหประชาชาติ[4]
ICC นั้นมีบทบาทที่สำคัญในกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยผ่านทางศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของ ICC หรือที่เรียกว่า International Court of Arbitration ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1923 และถือเป็นสถาบันอนุญาโตตุลาการชั้นนำแห่งหนึ่งของโลกโดยได้มีการระงับข้อพิพาทไปแล้วมากกว่า 24,000 คดีตั้งแต่ก่อตั้งมา[5] และได้ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากตลอดมา
ถึงแม้ว่า ICC International Court of Arbitration นั้นจะถูกเรียกว่าศาลในนามก็ตาม หากแต่ศาลของ ICC นั้นไม่ได้ทำการตัดสินอย่างเป็นทางการหรือทำคำพิพากษาในกรณีพิพาทแต่อย่างไร แต่เราใช้การกำกับดูแลทางศาลของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ (exercise judicial supervision of arbitration proceedings) โดยที่ขอบความรับผิดชอบของ ICC International Court of Arbitration ได้แก่ :
- การยืนยันแต่งตั้งและเปลี่ยนตัวอนุญาโตตุลาการตลอดจนการตัดสินใจเกี่ยวกับความท้าทาย (Challenge) ใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับอนุญาโตตุลาการ
- ตรวจสอบกระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อให้แน่ใจว่าดำเนินการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และประสิทธิภาพที่จำเป็น
- กลั่นกรองและอนุมัติคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการทั้งหมดเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและความสามารถในการบังคับใช้คำชี้ขาดนั้น
- จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
- ดูแลการดำเนินการในกรณีฉุกเฉินก่อนที่จะเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการ[6]
จุดประสงค์ของ ICC International Court of Arbitration คือเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้ ICC Rules อย่างเหมาะสมตลอดจนช่วยเหลือคู่พิพาทฝ่ายต่าง ๆ และอนุญาโตตุลาการในการเอาชนะอุปสรรคของกระบวนการ ความพยายามเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการของศาลซึ่งประกอบด้วยทนายความและบุคลากรสนับสนุนมากกว่า 80 คน
ICC International Court of Arbitration นั้น ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ
จากสถิติของ Queen Mary University of London เมื่อปี 2018 ได้ระบุว่า จากผลสำรวจนั้น ICC ได้รับความนิยมมากสูงที่สุดถึง 77%[7] และถึงแม้ว่าในปี 2019 นั้นจะได้รับคะแนนโหวตที่ 71%[8] ก็ยังถือเป็นสถาบันทางการอนุญาโตตุลาการที่ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นเดิม
ICC นั้นได้เปิดเผยสถิติ ปี 2020 สำหรับบริการอนุญาโตตุลาการและบริการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น ๆ (Alternative Dispute Resolution) โดยได้กล่าวว่า ICC นั้นเป็นสถาบันอนุญาโตตุลาการที่เป็นที่ต้องการของโลก โดยที่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของ ICC ได้มีการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการใหม่ทั้งหมด 946 คดีในปี 2020 ซึ่งเป็นจำนวนข้อพิพาทสูงสุดตั้งแต่ปี 2016 โดยที่ข้อพิพาทขนาดเล็กที่ซับซ้อนส่งผลให้สถิติเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
จากกรณีพิพาทที่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการทั้งหมด 946 คดีนั้นมีการดำเนินการภายใต้ ICC Rules ทั้งหมด 929 คดี ทั้งนี้มีการเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการภายใต้กฎอำนาจการแต่งตั้งของ ICC (ICC Appointing Authority Rules) ทั้งหมด 17 คดี โดยการอนุญาโตตุลาการเป็นการกำหนดให้ดำเนินการเฉพาะกิจ (Ad Hoc) หรือนอกกรอบการดำเนินงานของสถาบัน ICC นั้นขอความช่วยเหลือจาก ICC ได้ในกรณีเกี่ยวกับบริการจัดการกรณีเฉพาะ (specific case management services) โดย 17 คดีนี้มีการดำเนินการภายใต้ UNCITRAL 12 คดีและมี 5 คดีเป็นอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจหรือ Ad Hoc
[1] https://iccwbo.org/about-us/
[2] ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2020
[3] https://iccwbo.org/global-issues-trends/global-governance/g20/
[4] https://iccwbo.org/media-wall/news-speeches/un-general-assembly-grants-observer-status-international-chamber-commerce-historic-decision/
[5] สถิติปี 2005
[6] https://iccwbo.org/dispute-resolution-services/icc-international-court-arbitration/
[7] Queen Mary University of London. 2018 International Arbitration Survey P.13
[8] Queen Mary University of London. International Arbitration Survey – Driving Efficiency in International Construction Disputes P 11