ทำความรู้จักกับ Jay Treaty of Arbitration
Jay Treaty of Arbitration หรือที่เรียกกันว่า สนธิสัญญาเจย์ หรือ สนธิสัญญาบริติช หรือ สนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1794 เป็นสนธิสัญญาสงบศึกและการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ สนธิสัญญาเจย์เป็นความพยายามที่จะยุติปัญหาที่ค้างคาระหว่างสองประเทศซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่ครั้งสนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris of 1783) ซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่อเมริกาได้รับเอกราช โดยที่สาเหตุหลักที่นำไปสู่การเจรจาสนธิสัญญานั้นมาจากความตึงเครียดระหว่างสองประเทศหลังจากสงครามปฏิวัติสหรัฐอเมริกา(American Revolutionary War) ซึ่งแม้ว่าสงครามจะจบลงไปแล้ว สหรัฐฯก็ยังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและภาษีอันเนื่องมาจากการขาดดุลทางการค้า รวมไปถึงปัญหาเรื่องที่กองทหารของบริเตนใหญ่ยังคงยึดครองป้อมปราการหลายแห่งในดินแดนที่สหรัฐอ้างสิทธิ์ตั้งแต่ภูมิภาคเกรตเลกส์ไปจนถึงโอไฮโอในปัจจุบัน
ข่าว/บทความ ที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญของ Jay Treaty
- สนธิสัญญาเจย์เป็นข้อตกลงทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่
- สนธิสัญญาเจย์มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างสองชาติที่ยังคงอยู่หลังจากที่สนธิสัญญาปารีสในปี ค.ศ. 1783 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดสงครามปฏิวัติอเมริกา
- สนธิสัญญาลงนามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1795 และได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาอังกฤษงมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796
- สนธิสัญญานำชื่อมาจากหัวหน้าผู้เจรจาต่อรองของสหรัฐฯจอห์น เจย์ (John Jay) ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาสูงสุดคนแรกของสหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาบรรลุผลประโยชน์ของสหรัฐฯเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังเป็นการให้สิทธิเพิ่มเติมแก่บริเตนใหญ่มากขึ้น สิ่งที่สหรัฐฯได้รับสนธิสัญญาคือการยอมถอนกองกำลังทางตะวันตกเฉียงเหนือ (ซึ่งตกลงกันแล้วในปี 1783) และสนธิสัญญาทางการค้ากับบริเตนใหญ่ที่ให้สถานะ “ประเทศที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด” ของสหรัฐอเมริกา แต่ก็จำกัดการเข้าถึงเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯไปยังหมู่เกาะบริติชเวสต์อินดีส ปัญหาอื่น ๆ ทั้งหมดรวมถึงเขตแดนแคนาดาและรัฐเมน รวมถึงการชดเชยหนี้ก่อนการปฏิวัติและการยึดเรืออเมริกันของอังกฤษจะได้รับการแก้ไขโดยอนุญาโตตุลาการ สนธิสัญญายังยอมรับว่าอังกฤษสามารถยึดสินค้าของสหรัฐฯที่ส่งไปยังฝรั่งเศสได้หากพวกเขาจ่ายเงินให้และสามารถยึดของได้โดยไม่ต้องจ่ายสินค้าฝรั่งเศสบนเรืออเมริกัน[1]
สนธิสัญญาเจย์ได้รับการเจรจาโดย John Jay ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาสูงสุดคนแรกของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาดังกล่าวจะไม่เป็นที่นิยมในหมู่พลเมืองอเมริกัน แต่สนธิสัญญาก็ผ่านการลงมติโดยวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 20 ต่อ 10 และลงนามโดยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794 และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1795 จากนั้นก็ให้สัตยาบันโดยรัฐสภาของอังกฤษและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 และประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันดำเนินการตามสนธิสัญญาดังกล่าวแม้ว่ามันจะไม่เป็นที่นิยมเลยก็ตามทั้งนี้เนื่องมาจากการตระหนักถึงสันติภาพที่จะเกิดขึ้นและเพื่อสหรัฐฯมีเวลาอันมีค่าในการรวมตัวและติดอาวุธใหม่ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งในอนาคต[2] ทั้งนี้ในมุมมองของนักวิชาการส่วนใหญ่นั้นมองว่า ในแรกเริ่มนั้นสนธิสัญญาเจย์นั้นถือเป็น “ความล้มเหลวทางการทูต” หรือ “การต่อรองที่ไม่ดี” แต่สนธิสัญญานี้ประสบความสำเร็จในแง่ของการรักษาสันติภาพระหว่างสหรัฐฯและบริเตนใหญ่ [TS1] อีกทั้งยังสามารถรักษาความเป็นกลางของสหรัฐฯเอาไว้ได้[3] ทั้งนี้รวมไปถึงสนธิสัญญาเจย์เป็นความพยายามที่โดดเด่นของอเมริกาในการหลีกเลี่ยงสงครามและความไม่มั่นคงในระยะยาวและเนื่องมาจากสหรัฐอเมริกาไม่มีกองทัพเรือที่มีประสิทธิภาพและเป็นเพียงกองทัพเล็ก ๆ อย่างไรก็ตามสนธิสัญญาได้บรรลุความต้องการของสหรัฐฯในการถอนกองทัพของบริเตนใหญ่ออกจากป้อมในดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Territory) ซึ่งบริเตนใหญ่เคยปฏิเสธที่จะถอนกำลังออกภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพปารีส
นอกเหนือไปจากนี้ ภายใต้มาตรา 3 สนธิสัญญาเจย์ยังได้รับรองสิทธิของชาวอินเดียนพื้นเมือง พลเมืองอเมริกัน และพลเมืองแคนาดาในการที่จะเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา และดินแดนภายใต้ปกครองของเกรทบริเตนเพื่อวัตถุประสงค์ในการเดินทางและเพื่อการค้า ซึ่งภายหลังต่อมาสหรัฐฯได้บัญญัติกฎหมายดังกล่าวไว้ในมาตรา 289 ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติปี 1952 (แก้ไขเพิ่มเติม 1965)[4]
อย่างไรก็ตามแม้สนธิสัญญาเจย์ไม่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกันเท่าไหร่นัก แต่สนธิสัญญานี้ประสบความสำเร็จในแง่ของการรักษาสันติภาพระหว่างสหรัฐฯและบริเตนใหญ่ [TS2] อีกทั้งยังสามารถรักษาความเป็นกลางของสหรัฐฯเอาไว้ได้[5] และที่สำคัญ การอนุญาโตตุลาการภายใต้สนธิสัญญาเจย์ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศในปัจจุบัน[6] รวมไปถึงการเป็นจุดเริ่มต้นของการองค์กรตุลาการระหว่างประเทศซึ่งมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงโดยเสียงข้างมาก รวมไปถึงการกำหนดเขตอำนาจศาลของตนเอง และการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ[7] โดยที่มิติทางกฎหมายของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยินยอมให้รัฐภาคีสามารถยื่นข้อพิพาททางกฎหมายไปยังคณะอนุญาโตตุลาการและเพื่อเสนอข้อโต้แย้งภายใต้กฎหมาย อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า การอนุญาโตตุลาการที่มีจุดเริ่มต้นจากสนธิสัญญาเจย์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น “ทางเลือก” ในการพิจารณาคดี[8] นอกเหนือไปจากการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีโดยศาล
ในช่วงระยะเวล[TS3] ามากกว่า200 ปีนับตั้งแต่สนธิสัญญาเจย์ การอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ถูกนำมาใช้โดยสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่หลากหลายและป้องกันไม่ให้ความรุนแรงบานปลาย ซึ่งรวมถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับเรือเดินทะเล, สิ่งแวดล้อม, มลพิษวิกฤตการณ์ทางการทูต, รวมไปถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดน[9] ทั้งนี้สามารถกล่าวได้ว่าสนธิสัญญาเจย์ระหว่างสหรัฐและบริเตนใหญ่นี้เป็นจุดเริ่มต้นของ “ยุคสมัยใหม่” ในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ
- [1] Office of the Historian. John Jay’s Treaty, 1794–95. Department of State United State of America. https://history.state.gov/milestones/1784-1800/jay-treaty
- [4] Immigration and Nationality Act of 1952 and as amended in 1965
- [6] Georg Schwarzenberger, Present-Day Relevance of the Jay Treaty Arbitrations, 53 Notre Dame L. Rev. 715 (1978).
- Available at: http://scholarship.law.nd.edu/ndlr/vol53/iss4/3
- [8] Meshel, Tamar, 225 Years to the Jay Treaty: Interstate Arbitration Between Progress and Stagnation (March 26, 2019). This Article originally appeared in 3:1 Cardozo International Comparative, Policy & Ethics Law Review 1 (2020), Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3360188 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3360188
- [9] Ibid.