บทสรุปจาก Halliburton v Chubb ถึงความลำเอียงของอนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการนั้นก็มีหลักการเช่นเดียวกับผู้พิพากษา กล่าวคือ ต้องมีความยุติธรรมและไม่ลำเอียง นอกเหนือไปจากนี้ เนื่องจากคู่ความนั้นสามารถเลือกผู้ที่จะมาเป็นอนุญาโตตุลาการ[TS1] ในกรณีพิพาทได้ ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีโดยศาล ซึ่งคู่ความไม่สามารถเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้พิพากษาในคดีใด ๆ ได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการรายเดียวกันในหลายคดีที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยคู่ความฝ่ายเดิมนั้นก็สามารถทำให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับความเป็นธรรมของอนุญาโตตุลาการได้
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาของศาลอังกฤษ (รวมไปถึงประเทศไทยด้วย) นั้นจะเป็นการพิพากษาโดยเปิดเผย แต่ในทางกลับกัน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นมักจะไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนั้นจึงอาจมีข้อสงสัยในเรื่องของความไม่โปร่งใส ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของอนุญาโตตุลาการที่จะเปิดเผยข้อมูลที่อาจนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมได้
ศาลฎีกาของสหราชอาณาจักรได้มีคำตัดสินคดี Halliburton v Chubb ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลยืนยันว่าอนุญาโตตุลาการมีหน้าที่ตามกฎหมายในการเปิดเผยสถานการณ์ที่จะหรืออาจจะก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นกลางและความยุติธรรมของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งกรณีนี้หมายรวมถึงการยอมรับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการรายเดิมซ้ำหลายครั้งด้วย
ความเป็นมา
กรณีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการระหว่าง บริษัท Halliburton และ บริษัท Chubb Bermuda Insurance Company เกี่ยวกับการเรียกร้องที่เกิดจากเหตุการณ์ Deepwater Horizon แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกซึ่งระเบิดในปี 2010 ทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แท่นขุดเจาะเป็นของ Transocean Holdings LLC ซึ่งดำเนินการโดย BP และให้บริการโดย Halliburton
หลังจากเหตุการณ์นั้น Halliburton จึงพยายามเรียกร้องสิทธิ์ภายใต้นโยบายการประกันความรับผิดส่วนเกิน (excess liability insurance policy ) กับ Chubb อย่างไรก็ตาม Chubb ปฏิเสธข้อเรียกร้องและในเดือนมกราคม 2015 Halliburton ได้เริ่มการพิจารณาคดีอนุญาโตตุลาการต่อ Chubb กรณีพิพาทดังกล่าวอยู่ภายใต้ Bermuda Form policy ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายนิวยอร์ก และมีไว้สำหรับอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc) ในลอนดอน ทั้ง Halliburton และ Chubb ได้ทำการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคน แต่เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันในเรื่องของอนุญาโตตุลาการคนที่สามซึ่งจะมาทำหน้าที่ประธานได้ ต่อมาศาลอังกฤษจึงได้ตั้งตั้ง Mr. Kenneth Rokison QC ในเดือนมิถุนายน 2015 อย่างไรก็ตาม Mr. Kenneth Rokison นั้นได้รับการเสนอชื่อโดย Chubb
ต่อมาในเดือนธันวาคม 2015 Mr. Kenneth Rokison ได้รับการแต่งตั้งอีกสองครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการแต่งตั้งโดย Chubb ในการอนุญาโตตุลาการที่เริ่มโดย Transocean ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับ Deepwater Horizon เช่นเดียวกัน ครั้งต่อมาเป็นการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวข้องกับ Deepwater Horizon เช่นกัน โดยเป็นการแต่งตั้งที่เกี่ยวข้องกับ Transocean ต่อผู้ให้ประกันภัยรายอื่น โดยที่การแต่งตั้งต่าง ๆ เหล่านี้ Mr. Kenneth Rokison ไม่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อ Halliburton
หลายเดือนต่อมา เมื่อ Halliburton ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว Halliburton จึงได้ทำการร้องขอต่อศาลสูง ตามมาตรา 24(1) ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ 1996 (Arbitration Act 1996 ) เพื่อที่จะถอน Mr. Kenneth Rokison ด้วยเหตุผลที่ว่ามีข้อกังขาเกี่ยวกับความยุติธรรม โดย Halliburton ได้กล่าววกว่า การแต่งตั้ง Mr. Kenneth Rokison ซึ่งมีการอ้างถึงและเกี่ยวข้องกับ Transocean รวมถึงการที่ Mr. Kenneth Rokison ไม่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นทำให้เกิดความลำเอียงเนื่องมาจาก (ก) ผลประโยชน์ลับที่เขาอาจจะได้รับจาก Chubb ในรูปของค่าตอบแทนที่เขาจะได้รับจากการแต่งตั้ง ; และ (ข) ข้อมูลที่เขาจะได้เรียนรู้จากการอ้างอิงของ Transocean ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทของ Halliburton และมีให้แก่ Chubb อย่างไรก็ตามศาลสูงปฏิเสธคำขอและคำอุทธรณ์ของ Halliburton ต่อศาลอุทธรณ์ถูกยกฟ้องเช่นกัน ดังนั้น Halliburton จึงได้นำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา
บทสรุปจากศาลฎีกา (Supreme Court)
ในกรณีนี้ ศาลวินิจฉัยว่า Mr. Kenneth Rokison มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะเปิดเผยข้อเท็จต่อ Halliburton ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวข้องกับกรณีของ Chubb และ Transocean และ Mr. Kenneth Rokison ล้มเหลวในการปฏิบัติดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องมาจากว่า ในระหว่างที่ Mr. Kenneth Rokison ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ ก็อาจจะเป็นเวลาที่ทับซ้อนกับการเป็นอนุญาโตตุลาการในกับ Chubb ในกรณีอื่นอีกด้วย และอาจทำให้เกิดความลำเอียงได้
นอกเหนือไปจากนี้ คำพิพากษาได้ทำการชี้แจงประเด็นที่เกี่ยวข้องหลายประเด็น ทั้งนี้รวมไปถึงประเด็นในกฎหมายอังกฤษ ซึ่งอนุญาโตตุลาการมีหน้าที่ในการรักษาความเป็นกลางและความยุติธรรม ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะเป็นผู้แต่งตั้งก็ตาม ทั้งนี้ ศาลฎีกาได้พิจารณาจากสถานการณ์ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองค์คณะในการอนุญาโตตุลาการที่มีข้อเท็จจริงและมีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงมีสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันอย่างมากโดยคู่ความฝ่ายหนึ่ง (กรณีนี้คือ Mr. Kenneth Rokison ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย Chubb) ทั้งนี้ศาลได้ยืนยันว่าอนุญาโตตุลาการนั้นมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเปิดเผยการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในกรณีที่การแต่งตั้งกล่าวนั้นอาจทำให้เกิดข้อกังขาและมีความเป็นไปได้ที่เกิดความลำเอียงและความอยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า การไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการลำเอียงไปเสียทีเดียว แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในข้อเท็จจริงและเป็นสถานการณ์ที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อประเมินว่าเกิดความลำเอียงขึ้นจริงหรือไม่เท่านั้น
ที่มา:
https://www.mediate.com/articles/uksupremecourthalliburtonvchubb.cfm