พระราชบัญญัติฉบับใหม่และความพยายามยกระดับสถานะของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
สิงคโปร์ได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำทางการอนุญาโตตุลาการ ไม่เพียงแต่ในประเทศแถบเอเชียเท่านั้น แต่ยังอยู่ในระดับโลกอีกด้วย และเพื่อเป็นการรักษาสถานภาพนี้ กระทรวงกฎหมาย (Ministry of Law) ของสิงคโปร์จึงมีบทบาทสำคัญในการติดตามพัฒนาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศและเชิงในพาณิชย์และปรับเปลี่ยนรวมถึงการวางกรอบกฎหมายที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อส่งเสริมการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
ข่าว/บทความ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2020 รัฐสภาของสิงคโปร์ได้ผ่านกฎหมายอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ฉบับแก้ไข) เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสิงคโปร์(International Arbitration Act “IAA”) ) ข้อ 143A (“พระราชบัญญัติ”) การแก้ไขดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างกรอบกฎหมายของสิงคโปร์สำหรับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยเพิ่มสถานะในฐานะศูนย์กลางข้อพิพาทระหว่างประเทศของสิงคโปร์
ความเป็นมา
ในปี 2019 รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดให้มีการปรึกษาหารือสาธารณะเกี่ยวกับการเสนอแก้ไข IAA ทั้งหมดสี่ข้อ[1] กระทรวงกฎหมายได้รับข้อมูลจากทั้งด้านธุรกิจ การอนุญาโตตุลาการ องค์กรวิชาชีพนักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงาน การแก้ไขสองรายการซึ่งเป็นความพยายามในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหลายฝ่ายและเสริมสร้างอำนาจในการบังคับใช้ภาระหน้าที่ในการรักษาความลับนั้นได้รับการประกาศใช้อย่างทางการซึ่งเป็นการแก้ไขที่เสนอครั้งแรกของ IAA ตั้งแต่ปี 2012 โดยข้อเสนอที่ได้ทำการหารือเพื่อการแก้ไขนั้นได้แก่
- ข้อกำหนดของกระบวนการเริ่มต้นในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหลายฝ่าย
- อนุญาตให้คู่ความตามข้อตกลงร่วมกันเพื่อร้องขอให้ตัดสินปัญหาเขตอำนาจศาลในขั้นตอนการการชี้ขาดข้อพิพาทเบื้องต้น
- การให้อำนาจศาลและองค์คณะเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้ข้อผูกพันในการรักษาความลับในการอนุญาโตตุลาการ และ
- อนุญาตให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถอุทธรณ์คำถามของกฎหมายอันเกิดจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลสูงสิงคโปร์โดยมีเงื่อนไขว่าคู่ความจะต้องตกลงร่วมกันที่จะเข้ากระบวนการ
ประเด็นสำคัญ
ข้อกำหนดของกระบวนการเริ่มต้นในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหลายฝ่าย
ก่อนที่จะมีการแก้ไขใหม่ IAA ไม่ได้จัดเตรียมกระบวนการเริ่มต้นใด ๆ สำหรับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลมากกว่าสองฝ่าย ดังนี้เมื่อไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตกลงกันสำหรับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วนั้น จึงอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้คัดค้านที่จะทำการชะลอหรือหยุดยั้งกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่มีคู่ความหลายฝ่ายได้ ทั้งนี้เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับความนิยมในการดำเนินการอนุญาโตตุลาการ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นทีต้องมีกฎหมายเพื่ออุดช่องว่างทางกฎหมายนี้
มาตรา 9B ใน IAA ได้มีการ กระบวนการเริ่มต้นใด ๆ สำหรับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลมากกว่าสองฝ่าย การแก้ไขจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับฝ่ายที่ไม่มีข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการเช่นเดียวกัน การแก้ไขนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าไม่มีฝ่ายใดสามารถละเมิดการขาดขั้นตอนดังกล่าวเพื่อชะลอ / ขัดขวางการอนุญาโตตุลาการได้ ทั้งนี้รวมไปถึงการกำหนดกระบวนการและกรอบเวลาที่ชัดเจนที่ทั้งสองฝ่ายควรนำมาใช้ในการแต่งตั้งองค์คณะทั้งสามคน ที่สำคัญคือคู่ความต้องตกลงที่จะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการภายในระยะเวลาที่กำหนดตามลำดับ จากนั้นอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่ความทั้งสองจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการที่เป็นประธาน หากพวกเขาไม่สามารถตกลงกันได้ตามข้อตกลง “มีอำนาจในการแต่งตั้ง” (เช่นประธานศาลอนุญาโตตุลาการของศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งสิงคโปร์ (SIAC) หรือบุคคลดังกล่าวที่หัวหน้าผู้พิพากษาแต่งตั้งให้ใช้อำนาจเหล่านี้) ตามคำร้องขอของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ดำเนินการแทน
อำนาจในการบังคับใช้ข้อผูกพันในการรักษาความลับ
ภายใต้กฎหมายสิงค์โปร์ คู่ความและองค์คณะอนุญาโตตุลาการมีหน้าที่โดยนัยที่จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับที่ได้รับในระหว่างการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการหรือใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดนอกเหนือจากข้อพิพาทเว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงเป็นอย่างอื่น ทั้งสองฝ่ายอาจรับภาระหน้าที่ในการรักษาความลับอย่างชัดเจนในข้อตกลงอนุญาโตตุลาการหรือโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของสถาบันอนุญาโตตุลาการที่เลือก
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนนี้ไม่ได้ประมวลขึ้นมาเป็นกฎหมายใหม่ แต่การแก้ไขช่วยเพิ่มความสามารถของคู่สัญญาในการรักษาความลับที่มีอยู่โดยยอมรับอย่างเป็นทางการว่าคณะอนุญาโตตุลาการและศาลยุติธรรมของสิงคโปร์มีอำนาจในการ “ออกคำสั่งหรือให้คำแนะนำ” เพื่อให้แน่ใจว่าพันธกรณีดังกล่าวได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยที่สิ่งนี้คล้ายกับอำนาจการบังคับใช้ที่กฎ ICC มอบให้แก่คณะอนุญาโตตุลาการ อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความลับต่ออนุญาโตตุลาการ ขณะนี้คำสั่งชั่วคราวของศาลทั้งในสิงคโปร์และต่างประเทศสามารถบังคับใช้ได้ในลักษณะเดียวกับคำสั่งศาลโดยมีเงื่อนไขว่าจะได้รับการอนุมัติจากศาลสูง และตั้งศาลสูงสามารถออกคำสั่งเพื่อบังคับใช้ข้อผูกพันเหล่านี้ได้โดยตรง
ในการผ่านร่างกฎหมายใหม่นี้ มีเพียงสองข้อเท่านั้นที่ประกาศใช้ กล่าวคือในกรณีของการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในกรณีข้อพิพาทหลายฝ่าย และการให้อำนาจศาลและองค์คณะเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้ข้อผูกพันในการรักษาความลับในการอนุญาโตตุลาการ ในส่วนของอีกสองเรื่องที่ยังไม่ได้ประกาศใช้นั้นยังอยู่ในระหว่างพิจารณา
แหล่งที่มา
- https://globalarbitrationnews.com/new-act-seeks-to-enhance-singapores-status-as-an-international-arbitration-hub/#_ftn1
- https://www.allenandgledhill.com/sg/publication/articles/17055/s-status-as-arbitration-hub-to-be-enhanced-as-bill-to-amend-international-arbitration-act-passed
- https://www.sidley.com/en/insights/newsupdates/2020/11/amendments-to-modernize-and-streamline-singapore
- https://www.dlapiper.com/en/singapore/insights/publications/2020/09/new-amendments-singapore-international-arbitration-a
- [1] https://www.mlaw.gov.sg/news/press-releases/public-consultation-on-proposed-amendments-to-the-international-arbitration-act#:~:text=PRESS%20RELEASES-,Public%20Consultation%20on%20Proposed%20Amendments%20to,Arbitration%20Act%20(%E2%80%9CIAA%E2%80%9D)&text=The%20Ministry%20of%20Law%20(MinLaw,June%20to%2021%20August%202019.
ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-594488