ศาลชั้นต้นของบรัสเซลส์กำหนดว่าเลขาธิการศาลสามารถช่วยในการร่างคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการได้ตราบเท่าที่คณะอนุญาโตตุลาการทบทวนและแก้ไขงานของตน
ข้อพิพาททางการค้าที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการควบรวมกิจการหรือข้อตกลงอื่น ๆ เช่น ข้อตกลงด้านความร่วมมือ ใบอนุญาต ข้อตกลงในการพัฒนา สัญญาก่อสร้าง สัญญาร่วมทุนที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้รับการยุติข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
เบลเยียมเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติและองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เป็นประเทศที่มีความเป็นสากลซึ่งมีผู้คนกว่า 180 เชื้อชาติอาศัยอยู่ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้มีส่วนทำให้ความต้องการกลไกการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยเฉพาะอนุญาโตตุลาการเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น
ศูนย์อนุญาโตตุลาการและการไกล่เกลี่ยแห่งเบลเยียม The Belgian Centre for Arbitration and Mediation (CEPANI) และหอการค้าระหว่างประเทศแห่งเบลเยียม International Chamber of Commerce Belgium (ICC Belgium) มีส่วนสนับสนุนการส่งเสริมและความสำคัญของเบลเยียมในฐานะศูนย์กลางการอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการเชิงพาณิชย์ในประเทศส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วย CEPANI อนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญมักเริ่มต้นภายใต้กฎของ ICC
ในเบลเยียมมีการใช้อนุญาโตตุลาการเพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขข้อพิพาทมาเกือบครึ่งศตวรรษ กระบวนการอนุญาโตตุลาการปัจจุบันดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก สิ่งนี้มีส่วนช่วยในการเข้าถึงกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ในทางตรงกันข้าม คดีในศาลจะต้องดำเนินการในภาษาท้องถิ่นอย่างดัตช์หรือฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาราชการ ทั้งนี้กฎหมายอนุญาโตตุลาการของเบลเยียมอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายต้นแบบของ UNCTRAL
ทั้งนี้รูปแบบของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการอยู่ภายใต้มาตรา 1713 ของแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของเบลเยี่ยมหรือBJC, ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดด้านความถูกต้องและด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยที่ตาม BJC นั้นคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการในเบลเยียมจะต้องเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยคณะอนุญาโตตุลาการ
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
ที่มาของปัญหา
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2020 ศาลชั้นต้นของกรุงบรัสเซลส์ หรือ the Brussels Court of First Instance ได้ปฏิเสธที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการของ ICC ภายใต้คณะกรรมาธิการยุโรปตามข้อกล่าวหาว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้นมีบางส่วนถูกร่างโดยเลขาธิการศาลอนุญาโตตุลาการ โดยถือว่าการช่วยเหลือในการร่างคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการโดยเลขาธิการศาลจะมีผลใช้บังคับตราบที่อนุญาโตตุลาการประเมินและแก้ไขงานของตน
กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างคณะกรรมาธิการยุโรปหรือ European Commission และผู้รับเหมานี้เกิดขึ้นเมื่อในปี 2009 เมื่อคณะกรรมาธิการยุโรปหรือได้เข้าทำสัญญากับผู้รับเหมาสองรายในปี 2009 ได้แก่ บริษัท Cypriot และบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทเยอรมันสำหรับการก่อสร้างท่อระบายน้ำ เครือข่ายการจ่ายน้ำ และสถานีสูบน้ำในไซปรัส ซึ่งภายหลังต่อมาได้นำเรื่องที่เกี่ยวกับข้อบกพร่องนี้ขึ้นเป็นกรณีพิพาทอนุญาโตตุลาการของ ICC กรุงบรัสเซลส์ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเบลเยี่ยม ซึ่งภายหลังต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดบางส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบซึ่งความเห็นส่วนใหญ่นั้นเป็นไปในทางที่สนับสนุนคณะกรรมาธิการยุโรป
ต่อมาคณะผู้รับเหมาได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาตตุลาการในเรื่องที่เกี่ยวกับบทบาทของเลขาธิการศาลในเรื่องของการจัดทำคำถามต่อพยานผู้เชี่ยวชาญและการมีส่วนในการร่างคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการซึ่งประธานคณะอนุญาโตตุลาการยอมรับว่าเลขาธิการศาลได้จัดเตรียมร่างคำถามและช่วยร่างคำชี้ขาดจริง อย่างไรก็ตามประธานคณะอนุญาโตตุลาการชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเขาได้ทบทวนรายการคำถามแล้ว และไม่มีวลีใดในคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่เขาไม่ได้ตรวจสอบและแก้ไขหากจำเป็น ดังนั้นผู้รับเหมาทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งโดยขอให้ศาลชั้นต้นของบรัสเซลส์ระงับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงการมอบอำนาจตัดสินใจให้เลขาธิการศาลซึ่งเป็นเหตุให้เป็นโมฆะของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 1717 , §3, a) v) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของเบลเยี่ยม
ในคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2020 ศาลชั้นต้นของกรุงบรัสเซลส์ได้ตัดสินว่าหลักการสำคัญของอนุญาโตตุลาการประการหนึ่งคือการตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นความมุ่งมั่นที่จะตัดสินข้อพิพาทเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือคณะอนุญาโตตุลาการพึ่งพาความช่วยเหลือจากเลขานุการฝ่ายธุรการมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเลขาธิการนั้นมีหน้าที่เป็นมากกว่าการบริหารจัดการและองค์กรล้วน ๆ ศาลพิจารณาว่าข้อเท็จจริงเพียงว่าคณะอนุญาโตตุลาการมอบหมายให้เลขาธิการศาลดำเนินการแก้ไขคำชี้ขาดทั้งหมดหรือบางส่วนหรือรายการคำถามสำหรับพยานผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอที่จะแสดงการมอบอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งหากเป็นการมอบอำนาจการตัดสินใจนั้นต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจการตัดสินใจที่แท้จริงต่อเลขาธิการศาล อีกทั้งศาลยังระบุด้วยว่าเลขาธิการศาลมักเป็นทนายความอายุน้อยซึ่งขาดประสบการณ์และด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าจะมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจ
ที่มา:
- https://globalarbitrationreview.com/insight/know-how/challenging-and-enforcing-arbitration-awards/report/belgium
- https://globalarbitrationnews.com/brussels-court-of-first-instance-rules-that-tribunal-secretaries-can-assist-in-drafting-an-arbitral-award-so-long-as-the-arbitral-tribunal-reviews-and-corrects-their-work/
- https://viamediationcentre.org/readnews/MTM3NA==/Brussels-Court-of-First-Instance-refuses-to-set-aside-ICC-award-and-Rules-in-favour-of-Tribunal-Secretaries