ศาลล้มละลายสหรัฐสั่งฟื้นฟูบริษัทยา “Purdue Pharma” ผ่านการ “ประนอม” หวังลดความขัดแย้งในสังคม
ศาลล้มละลายกลางประจำประเทศสหรัฐอเมริกา สั่งรื้อฟื้นกรณีล้มละลายของบริษัท Purdue Pharma ผู้ผลิตยาเอกชนชื่อดัง ซึ่งครอบครองโดยสมาชิกของครอบครัว Sackler โดยผู้พิพากษาสั่งเริ่มต้นด้วยการประนอมข้อพิพาทอีกครั้งในวันที่ 14 มกราคมนี้ ซึ่ง Robert Drain ผู้พิพากษาล้มละลายใน ไวท์แพลนส์ (White Plains) ประจำรัฐนิวยอร์ก ได้ออกคำสั่งให้เริ่มกระบวนการดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงร่วมกันใหม่อีกครั้ง หลังจากถูกปฏิเสธไปก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม
บริษัท Purdue Pharma ซึ่งโด่งดัง และทำรายได้หลายพันล้านจากการจัดจำหน่ายยาแก้ปวดประเภท Opioid OxyContin ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ รักษาอาการปวดเฉียบพลันและอาการปวดเรื้อรัง (โดยมีส่วนผสมจากสารเสพติด เพิ่มเติมที่นี่) ปัญหาต่างๆเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตมานั้นส่อแววในการใช้ไปในการเสพติดสูง ซึ่งหากใช้เกินขนาดอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ต่อมาในปี 2550 ทางบริษัทถูกตัดสินว่าได้มีความพยายามในการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศักยภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยต้องชดใช้ค่าปรับกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19,900 ล้านบาท)
ยิ่งไปกว่านั้น ในเดือนพฤษภาคม 2561 6 รัฐจากสหรัฐอเมริกา ฟลอริดา เนวาดา นอร์ทแคโรไลนา นอร์ทดาโคตา เทนเนสซี และเท็กซัส—ได้ยื่นฟ้องต่อข้อหาปฏิบัติทางการตลาดที่หลอกลวง โดยเพิ่มเป็น 16 คดีที่เคยถูกฟ้องร้องโดยรัฐอื่นๆ ของสหรัฐอเมริกาและเปอร์โตริโก โดยมีสาะสำคัญของการฟ้องร้องว่าบริษัท Purdue Pharma ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนจากอาการเสพยาเกินขนาด (Overdose) หลังจากนั้นไม่นานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาจากการตอบสนองของการฟ้องร้องหลายคดีต่อ Purdue เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา Opioid OxyContin บริษัท Purdue Pharma ได้ถูกตัดสิน และฟ้องล้มละลายในที่สุด
โดยล่าสุดที่ได้มีคำสั่งให้เริ่มกระบวนการประนอมข้อพิพาทกันนั้น ได้มีการเปิดเผยจากตระกูล Sackler เจ้าของบริษัทว่าพวกเขาพร้อมที่จะชดเชยเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์ (ราว 149 แสนล้านบาท) ให้กับแนวทางการเริ่มต้นแผนการฟื้นฟู และปรับสร้างบริษัทใหม่ โดยมุ่งหวังที่จะนำไปสู่แนวทางในการลดการผลิตยา Opioid OxyContin พร้อมกับเป็นเครื่องยืนยันว่าตระกูลของพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบิดเบือนข้อเท็จจริง รวมถึงข้อพิพาทต่างๆที่สืบเนื่องมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่ทนายความที่เป็นตัวแทนของรัฐส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าวโดยอาจจะใช้เวลาในการตกลงรายละเอียดต่างๆร่วมกันต่อไป
อย่างไรก็ตามหากพวกเขาไม่บรรลุข้อตกลงได้ การประนอมยอมความ หรือการไกล่เกลี่ยก็จะสิ้นสุดลง และการอุทธรณ์ของ Purdue Pharma ก็ยังคงดำเนินต่อไปในชั้นศาล และหาแนวทางในการฟื้นฟูกิจการล้มละลายต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งเพราะว่าเหตุแห่งการถูกฟ้องล้มละลายนั้นไม่ได้มาจากภาวะ หรือสภาพคล่องทางการเงินที่ไม่มากพอ รวมถึงปัจจัยภายนอกจากเศรษฐกิจโดยรวม แต่กลับเป็นความขัดแย้งในการบิดเบือนข้อเท็จจริงในประสิทธิภาพของยา และคร่าชีวิตประชาชนในหลายรัฐไปจำนวนมาก ทั้งนี้ปลายทางของข้อพิพาทนี้จึงสำคัญไม่น้อยต่อการนำมาเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างทั้งบทบาทของการระงับข้อพิพาททาเลือกผ่านการประนีประนอมต่อไป