สถานที่นั่งพิจารณาที่เป็นที่นิยมทั่วโลก (2)
3. กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
กระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศและระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสอยู่ภายใต้มาตรา 1442 ถึง 1527 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเลือกที่จะไม่ใช้กฎหมายแบบUNCITRAL Model Law แต่กฎหมายอนุญาโตตุลาการของฝรั่งเศสนั้นสอดคล้องกับหลักการทั่วไป UNCITRAL Model Law
คุณลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอนุญาโตตุลาการของฝรั่งเศสคือการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความเป็นอิสระของคู่พิพาท ซึ่งคู่พิพาทมีอิสระที่จะจัดการอนุญาโตตุลาการของตนตามที่เห็นสมควรโดยเป็นไปตามมาตรฐานของกระบวนการตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงสามารถเลือกอนุญาโตตุลาการของตนโดยใช้ภาษาของอนุญาโตตุลาการและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่คู่พิพาทต้องการใช้
แนวทางของศาลต่อการอนุญาโตตุลาการ
- ศาลฝรั่งเศสให้การสนับสนุนอนุญาโตตุลาการอย่างแข็งขันและปฏิเสธที่จะแทรกแซงในข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจมีผลบังคับใช้ข้ออนุญาโตตุลาการ
- ศาลแพ่งปารีส (The Paris Civil Court หรือ Tribunal de Grande Instance) รวมถึงผู้พิพากษาเฉพาะทางที่รับฟังคำร้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการเริ่มดำเนินการของอนุญาโตตุลาการ
- ศาลอุทธรณ์ปารีสยังมีส่วนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
สถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่โดดเด่นที่สุดในฝรั่งเศสคือศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของ ICC (ICC International Court of Arbitration)
การรักษาความลับ
กระบวนการอนุญาโตตุลาการในฝรั่งเศสอยู่ภายใต้หลักการรักษาความลับ โดยอาจระบุไว้ในข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ โดยข้อตกลงสามารถเสริมหลักการรักษาความลับในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบบางประการของอนุญาโตตุลาการหรือการจำกัดการบังคับใช้คำชี้ขาด
เหตุแห่งการคัดค้านคำชี้ขาด
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุดและไม่สามารถยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Merits) ได้เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงเป็นอย่างอื่น
คู่สัญญาอาจยื่นขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุที่มีอยู่ในมาตรา 1491 และ1492 [LG1] แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เหตุเหล่านี้รวมถึงกรณีที่สันนิษฐานว่าคณะอนุญาโตตุลาการไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว, ความผิดปกติในการแต่งตั้งของคณะอนุญาโตตุลาการ, ความล้มเหลวของศาลในการปฏิบัติตามเงื่อนไขการอ้างอิง, การไม่ให้โอกาสฝ่ายหนึ่งในการเสนอคดีของตน, คำชีขาดขัดหรือแย้งกับนโยบายสาธารณะ และ คำชี้ขาดไม่ได้ระบุถึงเหตุผล , รายชื่อและลายมือชื่อของคณะอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยคดี หรือกรณีที่คำชี้ขาดนั้นไม่ได้ทำขึ้นโดยเสียงข้างมาก
การบังคับใช้
ฝรั่งเศสได้ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญานิวยอร์ก (ภายใต้การสงวนสิทธิซึ่งกันและกัน) ดังนั้นอาจมีการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญานิวยอร์ก ในฝรั่งเศสได้
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
4. สิงคโปร์
อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในสิงคโปร์อยู่ภายใต้ International Arbitration Act (IAA) หรือกฎหมายอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ Cap. 143A ซึ่งนำกฎหมายอนุญาโตตุลาการต้นแบบ หรือ UNCITRAL Model Law ปี 1985 ให้มีอำนาจบังคับภายในประเทศสิงคโปร์
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสิงคโปร์ได้ให้อำนาจของทั้งสองฝ่าย โดยทั้งสองฝ่ายนั้นมีอิสระที่จะตกลงเกี่ยวกับขั้นตอนที่ดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยUNCITRAL Model Law ปี 1985 นั้นจะมีผลบังคับใช้หากข้อตกลงอนุญาโตตุลาการที่กำหนดไว้นั้นไม่ได้ระบุไว้ขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ หรือหากคู่พิพาทไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะใช้กฎหมายใดในการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ[LG2]
แนวทางของศาลต่ออนุญาโตตุลาการ
โดยทั่วไปแล้วศาลของสิงคโปร์ได้ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการเพื่อสนับสนุนความพยายามของสิงคโปร์ในการสนับสนุนให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อแก้ไขข้อพิพาททางการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายระหว่างประเทศ
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
สถาบันอนุญาโตตุลาการที่โดดเด่นที่สุดในสิงคโปร์คือ Singapore International Arbitration Centre (SIAC)
การรักษาความลับ
ศาลในสิงคโปร์ยอมรับว่าการอนุญาโตตุลาการเป็นความลับ ดังนั้นศาลจะกล่าวถึงข้อตกลงอนุญาโตตุลาการเป็นปกติ การรักษาความลับครอบคลุมกระบวนการอนุญาโตตุลาการและเอกสารใด ๆ ที่ทำขึ้นหรือได้รับระหว่างการอนุญาโตตุลาการภายใต้ข้อยกเว้นโดยนัยที่การเปิดเผยมีความจำเป็นตามสมควร การรักษาความลับจะนำไปใช้กับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อฝ่ายที่ชนะตามคำชี้ขาดต้องการลงทะเบียนและบังคับใช้คำชี้ขาด
เหตุแห่งการคัดค้านคำชี้ขาด
สำหรับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์ต่อศาลในกรณีปัญหาข้อกฎหมายต่อคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศคำชี้ขาดสามารถถูกคัดค้านได้โดยการยื่นคำขอเท่านั้น โดยเหตุในการคัดค้านนั้นรวมถึงความไม่ถูกต้องของข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ, การละเมิดนโยบายสาธารณะในคำชี้ขาด, การตัดสินใจในเรื่องที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของการยื่นต่ออนุญาโตตุลาการ, การไม่ใช้อนุญาโตตุลาการในประเด็นของข้อพิพาทและการละเมิดกฎแห่งความยุติธรรมตามธรรมชาติ กฎหมายอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไม่ได้ระบุว่าฝ่ายต่าง ๆ สามารถยกเว้นสิทธิในการตัดสินได้หรือไม่
การบังคับใช้คำชี้ขาด
สิงคโปร์ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญานิวยอร์ก ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำในสิงคโปร์จึงมีผลบังคับใช้ในเขตอำนาจศาลอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันคำชี้ขาดจากต่างประเทศที่เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานิวยอร์กก็สามารถบังคับใช้ได้ในศาลสิงคโปร์ไม่ว่าจะโดยการปฏิบัติตามคำชี้ขาด หรือหากอนุสัญญานิวยอร์กนั้นมีผลบังคับใช้ ก็สามารถร้องขอให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดได้โดยร้องขอเป็นคำสั่งศาลหรือโดยคำตัดสินจากศาลสูง
5. กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
- พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการของสวีเดนปี 1999 (The Swedish Arbitration Act of 1999) กำหนดวิธีดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศและระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในสวีเดน กฎหมายอนุญาโตตุลาการของสวีเดนมีความคล้ายคลึงกับกฎหมาย UNCITRAL Model Law
- พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการของสวีเดนระบุว่าอนุญาโตตุลาการจะจัดการกับข้อพิพาทในลักษณะที่เป็นกลางและรวดเร็ว
แนวทางของศาลต่ออนุญาโตตุลาการ
โดยทั่วไปศาลในสวีเดนจะสนับสนุนอนุญาโตตุลาการ
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
สถาบันอนุญาโตตุลาการที่โดดเด่นที่สุดในสวีเดนคือสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งหอการค้าสตอกโฮล์ม หรือ Arbitration Institute of the Stockholm Chamber of Commerce (SCC)
การรักษาความลับ
ภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการของสวีเดน คู่พิพาทไม่ได้มีหน้าที่ทั่วไปในการรักษาความลับ ในขณะที่มีภาระผูกพันตามกฎหมายอื่น ๆ บางประการซึ่งอาจรักษาความลับไว้ได้ ดังนั้นหากต้องการการรักษาความลับอย่างสมบูรณ์ควรพิจารณารวมถึงข้อกำหนดการรักษาความลับในข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
เหตุแห่งการคัดค้านคำชี้ขาด
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุดและไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงได้ อย่างไรก็ดี มีเหตุบางประการที่อาจมีการกำหนดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อาทิเช่น ศาลมีอำนาจเกินขอบเขตหรือความผิดปกติในกระบวนการดำเนินการที่สันนิษฐานไว้ที่จะมีต่อคำชี้ขาด บุคคลที่ไม่ใช่ชาวสวีเดนอาจจำกัด หรือยกเว้นเหตุต่างๆเหล่านี้ได้
มีเหตุบังคับบางประการที่จะถือว่าคำชี้ขาดนั้น“ ไม่ถูกต้อง” ซึ่งอาจไม่สามารถทำสัญญาได้ เช่น กรณีพิพาทที่ไม่สามารถตัดสินได้ภายใต้กฎหมายของสวีเดน รวมถึงการละเมิดนโยบายสาธารณะของสวีเดนการทำคำชี้ขาดไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ได้ลงนามโดยเสียงข้างมากของอนุญาโตตุลาการ
การบังคับใช้คำชี้ขาด
สวีเดนได้ลงนามและให้สัตยาบันอนุสัญญานิวยอร์กโดยไม่มีข้อสงวน ดังนั้นคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการในรัฐภาคีสมาชิกอื่นของอนุสัญญานิวยอร์กที่นอกเหนือจากประเทศสวีเดน จึงสามารถบังคับตามคำชี้ขาดเช่นว่านั้นในประเทศสวีเดนได้โดยไม่คำนึงถึงประเทศที่ออกคำชี้ขาด
ที่มา:
- https://files.klgates.com/files/upload/guidetoleadingarbitralseatsandinstitutions.pdf
- http://arbitrationblog.kluwerarbitration.com/2018/05/17/tbc/
- http://arbitrationblog.kluwerarbitration.com/2018/06/10/seat-arbitration-important-simple/
- https://www.claytonutz.com/ArticleDocuments/178/Clayton-Utz-Guide-to-International-Arbitration-2012.pdf.aspx?Embed=Y
- https://www.ashurst.com/en/news-and-insights/legal-updates/introduction-to-international-arbitration/