สถิติของปี 2019 แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้อนุญาโตตุลาการของฝ่ายมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิงจากรายงานของ Herbert Smith Freehills ซึ่งได้ทำการรวบรวมสถิติการเข้าใช้บริการสถาบันอนุญาโตตุลาการต่าง ๆ โดยทำการอ้างอิงจากสถิติจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2015-2018 รวมไปถึงได้ทำการรวบรวมสถิติต่อมาในปี 2019 อีกด้วย
Herbert Smith Freehills รายงานว่า ในปี 2019 ศูนย์อนุญาโตตุลาการ[TS1] ระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian International Arbitration Centre “AIAC” ) นั้นมีกรณีพิพาทที่มีผู้เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายมาเลเซียซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ทั้งหมด 98 กรณี (100 กรณีในปี 2018) อีกทั้งผู้อำนวยการของ AIAC (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งภายใต้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ 2005 ของประเทศมาเลเซีย) ได้รายงานว่า มีคดีเฉพาะกิจหรือ Ad Hoc ทั้งหมด 27 กรณี อีกทั้ง AIAC ยังมีกระบวนการอนุญาโตตุลาการฉุกเฉินที่ดำเนินการภายใต้กฎของ AIAC เป็นครั้งแรกอีกด้วย
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของหอการค้าระหว่างประเทศหรือ ICC ยังเป็นสถาบันที่ได้รับความนิยมจากทางมาเลเซีย ด้วยสถิติสูงในรอบสามปี นั่นคือมีผู้ใช้บริการ 17 รายในปี 2019
สำหรับศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสิงคโปร์ (Singapore International Arbitration Centre หรือ SIAC) นั้นได้รับความนิยมจากมาเลเซียน้อยลงกว่าปี 2018 อย่างมาก นั่นคือลดลงจาก 82 คดีในปี 2018 เหลือเพียง 38 คดีเท่านั้นในปี 2019 ทั้งนี้รวมไปถึงบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในมาเลเซียและมีบริษัทย่อยเป็นคู่สัญญาของ SIAC แต่มีที่ตั้งอยู่ที่อื่นด้วย
ยังเห็นได้ว่าปี 2019 ที่ผ่านมานั้น การอนุญาโตตุลาการในสถาบันที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียนั้นเป็นที่นิยมสำหรับประเทศมาเลเซียมาก คณะอนุญาโตตุลาการฝ่ายพาณิชย์ของเกาหลี (The Korean Commercial Arbitration Board “KCAB”) ได้รายงานว่าร้อยละ 1.4 ของผู้เกี่ยวข้องในการอนุญาโตตุลาการทั้งหมดของสถาบันนั้นมีคู่ความเป็นฝ่ายมาเลเซีย ทั้งนี้ถึงแม้ว่า KCAB จะไม่ได้รายงานจำนวนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เข้าใช้บริการ แต่ KCAB มีการอนุญาโตตุลการที[TS2] ่ดำเนินการทั้งหมด 443 กรณีในปี 2019
รายงานการทำงานปี 2019 ของคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศจีน (China International Economic and Trade Arbitration Commission “CIETAC” ) ก็ได้ระบุถึงการใช้บริการของสถาบันด้วย ทั้งนี้แม้ว่าจะไม่มีรายงานถึงจำนวนผู้ใช้บริการทางฝ่ายมาเลเซียทั้งหมดก็ตาม
อีกทั้งในส่วนของสมาคมอนุญาโตตุลาการพาณิชย์แห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Commercial Arbitration Association “JCAA”) ก็ได้รายงานว่ามีการเข้าใช้บริการทางอนุญาโตตุลาการของฝ่ายมาเลเซีย กล่าวคือผู้ร้องรายหนึ่ง และผู้ถูกร้องอีกรายหนึ่งในระหว่างปี 2015-2019
นอกเหนือไปจากนี้ยังมีรายงานจากสถาบันอนุญาโตตุลาการหอการค้าสตอกโฮล์ม (Stockholm Chamber of Commerce “SCC” ) ว่ามีกรณีพิพาทที่มีผู้เกี่ยวข้องจากทางมาเลเซีย หลังจากที่มีกรณีพิพาทสองกรณีที่ได้ลงทะเบียนไว้ในปี 2018
ทั้งนี้สถิติที่มาจากประเทศทางเอเชียเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าสถาบันอนุญาโตตุลาการที่เป็นที่นิยมอาทิเช่น ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งลอนดอน ( London Court of International Arbitration “LCIA”), ศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศฮ่องกง (Hong Kong International Arbitration Centre “HKIAC”) สมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกา- ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการระงับข้อพิพาท (American Arbitration Association – International Centre for Dispute Resolution “AAA-ICDR”) นั้นไม่ได้รับความนิยมสำหรับมาเลเซียในปี 2019 แต่เป็นเพราะรายงานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้าใช้บริการของฝ่ายมาเลเซียโดยเฉพาะนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยออกมานั่นเอง นอกเหนือไปจากนี้ ความนิยมในการเข้าใช้บริการของ LCIA และ HKIAC นั้นได้รับความนิยมอยู่แล้ว นอกเหนือไปจากนี้ HKIAC ยังได้จัดลำดับผู้เข้าใช้ 10 อันดับแรกจากที่ตั้ง[TS3] ทางภูมิศาสตร์หรือสัญชาติอีกด้วย[1]
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการอนุญาโตตุลาการที่ AIAC, ICC และ SIAC นั้นยังเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับทางฝ่ายมาเลเซีย ทั้งนี้แม้ว่าแต่ละสถาบันนั้นจะเปิดเผยข้อมูลผู้เข้าใช้โดยมีหลักการที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังสามารถเห็นได้ว่าความนิยมในการเข้าใช้บริการสถาบันอนุญาโตตุลาการของมาเลเซียนั้นค่อนข้างมีความคงที่ นอกเหนือไปจากนี้ จะเห็นได้ว่า การใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการต่าง ๆ นั้นเป็นทีนิยมกับคู่ความฝ่ายมาเลเซียมากกว่าการอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจหรือที่เรียกกันว่า Ad Hoc แต่อย่างไรก็ดี การที่จะเลือกใช้ การอนุญาโตตุลาการแบบเฉพาะกิจหรือสถาบันอนุญาโตตุลาการนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะและความเป็นมาของข้อพิพาทที่เป็นปัญหาด้วย อย่างไรก็ดี การที่คู่ความฝ่ายมาเลเซียเลือกใช้บริการสถาบันอนุญาโตตุลาการนั้นก็เพราะว่าความมีชื่อเสียงและความโปร่งใสของสถาบันชั้นนำต่าง ๆ เหล่านี้
นอกเหนือไปจากนี้ ในขณะนี้มาเลเซียนั้นได้เน้นไปที่การมีส่วนร่วมในโครงการริเริ่มการลงทุนระดับพหุภาคีและขนาดใหญ่ขึ้นในภูมิภาค นับตั้งแต่โครงการ Belt and Road Initiative ไปจนถึงการลงนามของมาเลเซียในความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก รวมไปถึงการลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาคเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า การอนุญาโตตุลาการนั้นจะได้รับความนิยมสำหรับธุรกิจในประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้รวมไปถึงผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ค่ากับบริษัทมาเลเซียด้วย
ที่มา:
[1] ได้แก่ ฮ่องกง, สาธารณรัฐประชาชนจีน, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน, สหรัฐอเมริกา, หมู่เกาะเคย์แมน, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, สหราชอาณาจักร, สวิตเซอร์แลนด์ และมาเก๊าตามลำดับ ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hkiac.org/about-us/statistics