สนธิสัญญากฎบัตรพลังงานและกฎหมายของสหภาพยุโรปกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
สนธิสัญญากฎบัตรพลังงานหรือ The Energy Charter Treaty “ECT” นั้นเป็นข้อตกลงพหุภาคีที่ได้รับการลงนามเดือนในธันวาคม ปี 1994 และได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1998 โดยเป็นการสร้างกรอบพหุภาคีสำหรับการความร่วมมือระยะยาวระหว่างประเทศสมาชิก
สนธิสัญญานี้มุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศ รวมไปถึงการทำให้มั่นใจว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติทีไม่เป็นธรรมเพื่อให้พลังงานเหล่านั้นสามารถหมุนเวียนได้ข้ามพรมแดน รวมไปถึงการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวมไปถึงกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาและนักลงทุน
ปัจจุบันนั้นมีประเทศที่ลงนามเป็นภาคีกับสนธิสัญญากฎบัตรดังกล่าวทั้งหมด 57 ประเทศ แม้ว่าส่วนมากจะเป็นประเทศในสหภาพยุโรป แต่ทั้งนี้ก็ยังรวมถึงประเทศ non-EU และองค์กรระหว่างประเทศด้วย
อย่างไรก็ดี ECT นั้นถือเป็นหนึ่งในสนธิสัญญาที่มีกรณีพิพาทบ่อยที่สุดฉบับหนึ่ง โดยมีการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศครั้งแรกเพียงสามปีหลังจากที่สนธิสัญญา ECT มีผลบังคับใช้ นั่นคือ AES v. Hungary I ในปี 2001 ตามมาด้วย Nykomb v. Latvia ในปี 2003 ซึ่งนับถึงวันที่ 15 มกราคม 2021 นี้ มีข้อพิพาทอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องด้วยสนธิสัญญา ECT นี้ทั้งหมด 135 คดี ทั้งนี้มีบางกรณีที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาการลงทุนพหุภาคีด้วย[1]
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
Moldova v. Komstroy
ก่อนหน้านี้ในปี 2018 ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรป หรือ Court of Justice of the EU “CJEU” ได้มีคำตัดสินคดี Achmea (C-284/16, 2018) และได้พบว่า คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 8 ของสนธิสัญญาการลงทุนทวิภาคี Netherlands-Slovakia นั้นมีผลต่อหลักความไว้วางใจและความเป็นอิสระทางคำสั่งทางกฎหมายของสหภาพยุโรป ดังนั้นจึงไม่สอดคล้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรป ทำให้ในปี 2020 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้สรุปข้อตกลงเกี่ยวกับการยุติข้อตกลงการลงทุนภายในสหภาพยุโรปเพื่อให้สอดคล้องกับการพิจารณาคดีของ CJEU อย่างไรก็ตาม การอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนภายในสหภาพยุโรปยังคงเป็นไปตาม ECT
ทั้งนี้ ECT นั้นไม่ได้รับผลกระทบจากคำตัดสิน Achmea เท่าไรนัก ทั้งนี้เนื่องมาจาก ECT นั้นไม่ถือเป็นข้อตกลงเฉพาะสมาชิกสหภาพยุโรปเท่านั้น แต่เป็นข้อตกลงการค้าและการลงทุนด้านพลังงานแบบพหุภาคีที่สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกสรุปว่าเป็นข้อตกลง ‘ผสมผสาน’ อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปนั้นผูกพันต่อ ECT ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการแบ่งขอบเขตเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการการลงทุนภายในสหภาพยุโรปภายใต้ ECT
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา CJEU ได้มีคำตัดสินเกี่ยวกับคดีหมายเลข C-741/19 ซึ่งเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลของ CJEU เกี่ยวกับคำร้องขอให้มีการพิจารณาคดีเบื้องต้นเพื่อตีความสนธิสัญญากฎบัตรพลังงานในกรณีที่เกี่ยวข้องกับประเทศภาคีของสนธิสัญญาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งคำตัดสินดังกล่าวนี้ได้เป็นการยุติข้อถกเถียงที่มีมาอย่างยาวนานของข้อตกลงว่าด้วยการลงทุนภายในสหภาพยุโรปซึ่งได้กล่าวว่าการอนุญาโตตุลาการภายใต้ สนธิสัญญา ECT นี้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายของสสหภาพยุโรปในเรื่องของการดำเนินคดีภายในสหภาพยุโรป (Intra-EU)
ในคดีของ Moldova v Komstroy (C-741/19) นี้ได้มีการประเมินมาตรา 26 ECT ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทอนุญาโตตุลาการการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคำสั่งของกฎหมายยุโรป ทั้งนี้ได้มีการสรุปว่า มาตรา 26 ECT นี้ไม่สอดคล้องกับสหภพยุโรปเนื่องจากเป็นการบ่อนทำลายความมีอิสระ ทั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกับ CJEU เพื่อประเมินความเข้ากันได้ของอนุญาโตตุลาการว่าด้วยการลงทุนภายใต้สหภาพยุโรปภายใต้ ECT
ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า CJEU นั้นไม่มีเขตอำนาจในการตีความข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการบังคับในประเทศนอกเหนือจาก EU แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีนี้ได้มีการอ้างคำพิพากษา Hermès เพื่อเป็นการยืนยันว่าศาลมีเขตอำนาจในกรณีนี่บทบัญญัติดังกล่าวสามารถนำไปใช้นอกเหนือสหภาพยุโรปได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความสนใจในการบังคับใช้สนธิสัญญาดังกล่าวนี้นอกสหภาพยุโรป
นอกเหนือไปจากนี้ ยังมีการสรุปต่อไปอีกว่า มาตรา 26 ของ ECT นี้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรป ทั้งนี้เนื่องมาจาก offer ที่เกิดจากการอนุญาโตตุลาการซึ่งอาจกระทำโดยฝ่ายของรัฐในบริบทภายในสหภาพยุโรปไม่สอดคล้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรป นอกเหนือไปจากนี้ยังมีการพิจารณาต่อไปอีกว่า มาตรา 26 ซึ่งได้มีการวางหลักว่า คณะอนุญาโตตุลาการนั้นควรรับฟังกรณีที่ตามสนธิสัญญานี้และหลักเกณฑ์รวมทั้งหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่บังคับใช้ (“in accordance with this Treaty and applicable rules and principles of international law”) นั้นอาจจะเป็นการให้อำนาจแก่คณะอนุญาโตตุลาการในการบังคับใช้กฎหมายนอกสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมีการพิจารณาว่าอนุญาโตตุลาการนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการพิจารณาคดีของสหภาพยุโรป ดังนั้นจึงอาจทำให้เกืดความไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรปได้ ดังนั้นจึงเป็นข้อสรุปที่ทำให้มาตรา 26 ECT นั้นไม่สอดคล้องกับกฎหมายสหภาพยุโรป
นอกเหนือไปจากนี้ ยังสามารถสรุปได้ว่า CJEU นั้นมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีโดยไม่ต้องคำนึงถึงความขัดแย้งในมาตรา 26 ECT ท้งนี้เนื่องมาจากข้อกำหนดนี้สามารถใช้ได้ต่อศาลของแต่ละประเทศ
ทั้งนี้คณะผู้แทนของสหภาพยุโรปยืนยันว่า ECT ไม่ควรควบคุมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนภายในสหภาพยุโรป และมีการชี้แจงว่ากฎหมายของยุโรปที่ใช้บังคับมากกว่า ECT ควรมีผลบังคับใช้กับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนภายในสหภาพยุโรป นอกเหนือไปจากนี้ สหภาพยุโรปจะต้องดำเนินการเพื่อหยุดการบังคับใช้ ECT ภายในสหภาพยุโรป เนื่องจากไม่มีความยั่งยืนทางกฎหมายและทางการเมือง ด้วยเหตุนี้สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกอาจยุติการเป็นสมาชิก ECT ได้
ที่มา:
- https://globalarbitrationnews.com/energy-charter-treaty-and-eu-law-the-advocate-generals-opinion-calling-for-broadening-the-reasoning-from-achmea-judgment-to-ect-and-cjeus-jurisdiction-over-a-case-concerning-non-eu-members/
- https://globalarbitrationreview.com/guide/the-guide-energy-arbitrations/4th-edition/article/the-energy-charter-treaty
- http://arbitrationblog.kluwerarbitration.com/2020/01/07/intra-eu-investment-reform-what-options-for-the-energy-charter-treaty/
- http://arbitrationblog.kluwerarbitration.com/2021/04/24/moldova-v-komstroy-and-the-future-of-intra-eu-investment-arbitration-under-the-energy-charter-treaty-what-does-the-ects-negotiating-history-tell-us/
- http://arbitrationblog.kluwerarbitration.com/2020/01/07/intra-eu-investment-reform-what-options-for-the-energy-charter-treaty
- https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=77e518b4-770e-44b2-86fa-09dfd8fe483d
- [1] International Energy Charter, ‘List of all Investment Dispute Settlement Cases’, https://www.energychartertreaty.org/cases/list-of-cases