สรุปอนุญาโตตุลาการปี 2020
ปี 2020 นั้นเป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนหลายอย่าง ทั้งนี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงในส่วนของการอนุญาโตตุลาการและสถาบันอนุญาโตตุลาการต่าง ๆ ทั่วโลกด้วย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อการอนุญาโตตุลาการ การปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนหรือ Investor-State Dispute Settlement (ISDS) การออกจากสหภาพยุโรปของประเทศอังกฤษหรือ Brexit รวมไปถึงประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ นอกเหนือไปจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่า ปี 2020 เป็นปีที่สถาบันอนุญาโตตุลาการหลายแห่งมีจำนวน caseload มากขึ้นเป็นอย่างมากอีกด้วย
ผลกระทบของ COVID-19
COVID-19 นั้นทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการปิดพรมแดนระหว่างประเทศ การเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ social distancing ซึ่งมาตรการ New Normal เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมและการอนุญาโตตุลาการอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
เพื่อเป็นการปรับตัวให้เข้ากับ New Normal นี้ สถาบันอนุญาโตตุลาการหลายแห่งได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมผ่านโปรแกรม Zoom การส่งคำขอทางอิเล็กโทรนิกส์ รวมไปถึงการพิจารณาคดีเสมือนจริงหรือ Virtual Hearing
ในปี 2020 ที่ผ่านมา สถาบันอนุญาตตุลาการระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่งได้แก่ ICC, SCC ICSID, ICDR, SIAC, HKIAC และ LCIA ได้ออกแถลงการณ์เพื่อยืดหยัดถึงความร่วมมือกันเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 และเพื่อยืนยันว่าความยุติธรรมนั้นจะดำเนินต่อไปโดยไม่ชักช้า
นอกเหนือไปจากนี้ สถาบันอนุญาโตตุลาการหลายแห่งยังปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เช่น ICC ได้เผยแพร่บันทึกคำแนะนำโดยละเอียดเกี่ยวกับการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ guidance on Mitigating the Effects of the COVID-19 Pandemic ซึ่งรวมไปถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเสมือนจริงอีกด้วย นอกเหนือไปจากนี้ LCIA ได้ออกกฎปี 2020 ซึ่งทำให้การส่งคำขอและการสื่อสารทางอิเล็กโทรนิกส์เป็นสิ่งปกติ รวมไปถึงการยอมรับการพิจารณาคดีเสมือนจริง และกฎ ICC ยังได้เน้นไปที่การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาคดีเสมือนจริงและการยื่นเอกสารทางอิเล็กโทรนิกส์อีกด้วย
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
การปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน (Investor-State Dispute Settlement “ISDS”)
UNCITRAL หรือ คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ แห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law) ได้จัดตั้งคณะทำงานหรือ Working Group III ซึ่งได้มีการประชุมเสมือนจริงไปเมื่อเดือนตุลาคม 2020 เกี่ยวกับการปรับปรุง ISDS ในเรื่องของการป้องกันและการบรรเทาข้อพิพาท ตลอดจนวิธีการอื่นในการระงับข้อพิพาททางเลือก, Reflective loss และการเรียกร้องของผู้ถือหุ้น, การดำเนินคดีหลายคดี (Mutiple Proceeding) และการฟ้องแย้ง, ความมั่นคงทางค่าใช้จ่ายและและวิธีการจัดการข้อเรียกร้องที่ไม่แน่นอน, การตีความสนธิสัญญาโดยรัฐภาคี และเครื่องมือพหุภาคีในการปรับปรุง ISDS
ทั้งนี้ในเดือนกันยายน 2020 คณะทำงานของ UNCITRAL ได้เผยแพร่เอกสารการทำงานฉบับปรับปรุงเกี่ยวกับกลไกการอุทธรณ์ ปัญหาการบังคับใช้ และการเลือกและการแต่งตั้งสมาชิกศาล ISDS ซึ่งเปิดให้แสดงความคิดเห็นจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2020 เอกสารเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งต่อไปซึ่งมีกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ในเวียนนาและพฤศจิกายน 2021 ในนิวยอร์ก
นอกเหนือไปจากนี้ในเดือนพฤษภาคม 2020 สำนักเลขาธิการ ICSID และ UNCITRAL ได้เผยแพร่ร่างจรรยาบรรณสำหรับตุลาการหรือ Code of Conduct for Adjudicators พร้อมความคิดเห็นซึ่งได้ครบกำหนดไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2020 ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้แน่ใจว่าตุลาการ รวมไปถึงอนุญาโตตุลาการที่มีความเกี่ยวข้องกับ ISDS นั้นยังมีความอิสระและเป็นกลางตลอดเวลา รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจจะทำให้ปัญหาผลประโยชน์ขัดกันและเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่รวมไปถึงการจัดการข้อเรียกร้องด้วยความความซื่อสัตย์ เป็นธรรม และมีความสามารถ รวมไปถึงรายละเอียดอื่น ๆ
คาดว่าร่างฉบับแก้ไขจะถูกนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไปของ WG III ในเดือนเมษายน 2021
การออกจากสหภาพยุโรปของประเทศอังกฤษหรือ Brexit
การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษซึ่งรวมถึงเวลส์ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือที่เรียกกันว่า Brexit นั้น ได้สิ้นสุดระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 แล้ว และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญสำหรับข้อพิพาทระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรและฝ่ายต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การ Brexit นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการอนุญาโตตุลาการมากนัก ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความนิยมในการใช้บริการของ LCIA หรือศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของลอนดอน (London Court of International Arbitration) รวมไปถึงความเชื่อมั่นของความเชื่อมั่นของฝ่ายต่าง ๆ ในระบบการพิจารณาคดีของอังกฤษ รวมไปถึงความมีประสิทธิภาพและความเป็นกลาง[1] ก็ไม่ได้รับผลกระทบจาก Brexit แต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องมาจากความทันสมัยและความมีประสิทธิภาพของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการอังกฤษ ค.ศ 1996 อีกทั้งศาลยุติธรรมของอังกฤษได้รับการยอมรับในระดับสากลในเรื่องความเป็นกลาง รวมไปถึงประสบการณ์และทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับเรื่องที่ซับซ้อนและมีความเกี่ยวพันในหลายเขตอำนาจศาลอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกเหนือไปจากนี้ การอนุญาโตตุลาการก็จะไม่รับผลกระทบจาก Brexit เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ อนุสัญญานิวยอร์ก (The United Nations Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards (New York, 1958) หรือที่เรียกกันว่า “New York Convention”) จะมีผลบังคับใช้ต่อไปและกำหนดให้รัฐผู้ทำสัญญาปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและบังคับใช้คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนั้นเนื่องจากการยอมรับและการบังคับใช้คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรป ดังนั้น ผลของคำชี้ขาดจึงไม่ควรได้รับผลกระทบจาก Brexit อันที่จริงคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่นำมาใช้ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องได้รับการยอมรับจากศาลที่มีอำนาจ การดำเนินการทั้งหมดอยู่ภายใต้อนุสัญญานิวยอร์กและกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่กฎหมายของสหภาพยุโรปอีกด้วย
ความมั่นคงทางไซเบอร์
ในระยะเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ ได้ถูกโจมตีทางไซเบอร์นเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง เช่น ในการโจมตีทางไซเบอร์ที่เลวร้ายที่สุดของสิงคโปร์ แฮ็กเกอร์ได้แทรกซึมสถาบันดูแลสุขภาพ SingHealth และขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย 1.5 ล้านคน รวมถึงใบสั่งยาของนายกรัฐมนตรี หรือในการโจมตีทางไซเบอร์เป็นเวลานานสามเดือนบน Cathay Pacific Airways ข้อมูลของผู้โดยสาร 9.4 ล้านคนถูกแฮ็กเกอร์ขโมยไป นอกเหนือไปจากนี้ นอกเหนือไปจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปGeneral Data Protection Regulation หรือ GDPR
ทั้งนี้ แม้ว่าข้อได้เปรียบของอนุญาโตตุลาการคือการรักษาความลับ อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนในเชิงพาณิชย์ถูกส่งข้ามพรมแดนและจัดเก็บโดยผู้เกี่ยวของหลายคนในเขตอำนาจศาลที่แตกต่างกันซึ่งในบางครั้ง การขาดความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานทางไอทีและอนุญาโตตุลาการนั้นอาจก่อให้เกิดเสี่ยงทางความมั่นคงทางไซเบอร์ได้ทั้งนี้เนื่องมาจากการโจมตีทางไซเบอร์นั้นยากต่อการคาดการณ์และการละเมิดทางข้อมูลอาจจะกระทบต่อการอนุญาโตตุลาการได้
ที่ผ่านมา ได้มีการพยายามแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยการร่างโปรโตคอลและคำแนะนำ ไม่ว่าจะเป็น
- ร่าง the draft ICCA-CPR-NYC Bar Association Protocol for Cybersecurity in Arbitration
- the IBA Cybersecurity Guidelines (IBA Guidelines);
- the ICC Commission Report on the Use of Information Technology in International Arbitration (ICC Report); and
- the ICC Cyber Security Guide for Business (ICC Guide)
พิธีสารส่งเสริมความตระหนักในประเด็นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนุญาโตตุลาการและให้กรอบกระบวนการที่ผู้เข้าร่วมสามารถปรึกษาหารือเพื่อกำหนดว่าควรใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สมเหตุสมผล พิธีสารจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อคู่กรณียอมรับหรือกำหนดโดยศาลเท่านั้น
หลักเกณฑ์ของ IBA จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแก่บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อช่วยป้องกันตนเองจากการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล และช่วยให้พวกเขาดำเนินการต่อไปได้หากมีการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูลหรือการโจมตีเรียกค่าไถ่
รายงาน ICC จัดทำกรอบการวิเคราะห์เพื่อช่วยผู้เข้าร่วมในการประเมินว่าควรใช้ไอทีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือไม่ และใช้งานอย่างไรในลักษณะที่คุ้มค่า ยุติธรรม และมีประสิทธิภาพ
ICC Guide มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บริษัททุกขนาดจัดการแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และบรรเทาภัยคุกคามจากอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
ความนิยมในการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยการอนุญาโตตุลาการที่เพิ่มขึ้นในปี 2020
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาเสมือนจริงก็ตาม ความนิยมในการใช้การอนุญาโตตุลาการนั้นไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศฮ่องกงหรือ The Hong Kong International Arbitration Centre (HKIAC) ทำลายสถิติด้วยจำนวน 318 คดี HKIAC ได้รับการยื่นฟ้องอนุญาโตตุลากาใหม่สูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ จำนวนเงินทั้งหมดในข้อพิพาทอนุญาโตตุลาการที่จัดการโดย HKIAC อยู่ที่ 68.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นี่เป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2011 อีกทั้งศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสิงคโปร์หรือ The Singapore International Arbitration Centre (SIAC) ได้ประกาศไปแล้วว่ามีคดีใหม่ 1005 คดีในปี 2020 ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2020 ซึ่งเป็นอีกปีที่มีสถิติสูงสุด SIAC ทำลายสถิติ caseload ก่อนหน้านี้ที่รายงานในปี 2019
นอกเหนือไปจากนี้ ศาลอนุญาโตตุลาการหอการค้าระหว่างประเทศ หรือ International Chamber of Commerce Court of Arbitration (ICC) ยังได้รายงานคดีอนุญาโตตุลาการใหม่จำนวน 946 คดีในปี 2020 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 คดีใหม่ส่วนใหญ่ (929 คดี) นำกฎอนุญาโตตุลาการของ ICC มาใช้ ในขณะที่คดีที่เหลืออีก 17 คดี (ซึ่งเป็นกรณีอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจหรือ Ad Hoc) ถูกยื่นภายใต้กฎการแต่งตั้งของ ICC ( ICC Appointing Authority Rules) และศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศลอนดอน หรือ The London Court of International Arbitration (LCIA) ยังได้รายงานคดีที่ทำลายสถิติ 444 คดีที่อ้างถึงสถาบันในปี 2020 ซึ่งทำลายสถิติที่ LCIA รายงานในปี 2019 เพิ่มขึ้นประมาณ 10% อีกด้วย
ที่มา:
- https://www.lcia.org/News/record-number-of-lcia-cases-in-2020.aspx
- https://iccwbo.org/media-wall/news-speeches/icc-announces-record-2020-caseloads-in-arbitration-and-adr/#:~:text=The%20world
- https://www.siac.org.sg/images/stories/press_release/2020/Press%20Release%20SIAC%20Opens%20Office%20in%20New%20York%20and%20Announces%20New%20Record%20Caseload.pdf
- https://www.hkiac.org/about-us/statistics
- https://www.crowell.com/NewsEvents/AlertsNewsletters/all/2020-International-Arbitration-Overview-Demand-for-Dispute-Settlement-Up-Despite-COVID-19-Struggles
- http://arbitrationblog.practicallaw.com/oh-what-a-year-2020-arbitration-year-in-review/
- https://www.mondaq.com/arbitration-dispute-resolution/951036/a-guide-to-international-arbitration-2020-2021
- https://www.ibanet.org/article/eef13a7d-b31f-4362-b868-c7bc7edce52b
- [1] Norton Rose Fulbright (2017). How will Brexit impact arbitration in England and Wales?. https://www.nortonrosefulbright.com/en-gb/knowledge/publications/a655ac50/how-will-brexit-impact-arbitration-in-england-and-wales