สรุป 2018 International Arbitration Survey: The Evolution of International Arbitration[1]
การสำรวจ “วิวัฒนาการของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” หรือ International Arbitration Survey: The Evolution of International Arbitration ในปี 2018 นั้นแสดงให้เห็นว่าอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการตรากฎหมาย การตีความ และการปฏิบัติแบบสำรวจนี้ได้มุ่งเป้าไปที่ยังการประเมินเชิงประจักษ์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และระบุประเด็นสำคัญของพัฒนาผ่านมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอนุญาโตตุลาการอย่างกว้างขวางและมีความหลากหลาย
สถานะปัจจุบันของการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
เมื่อเปรียบเทียบแบบสำรวจในปี 2015 จะพบว่าความนิยมในอนุญาโตตุลาการร่วมกับการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น ๆ นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในปี 2015 มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 34% เท่านั้นที่แสดงความสนใจต่อการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีแบบผสมนี้[2]
เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มย่อยของผู้ตอบแบบสอบถามจะพบว่า ผู้ประกอบการเอกชนและอนุญาโตตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลานั้นมองว่าการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแบบเอกเทศ ( International Arbitration as a Stand Alone) นั้นดีกว่าอนุญาโตตุลาการร่วมกับการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของที่ปรึกษาถึง 60% นั้นเลือกวิธีการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศร่วมกับการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น ๆ มากกว่าการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแบบเอกเทศ (32%)
97% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเป็นวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก ว่าจะเป็นรูปแบบเอกเทศ (48%) หรือร่วมกับวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น (49%)
เมื่อพูดถึงลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของการอนุญาโตตุลาการ ผู้ตอบแบบสอบถาม 64% กล่าวว่าการบังคับใช้คำชี้ขาดเป็นลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของการอนุญาโตตุลาการ ตามมาด้วยการหลีกเลี่ยงกฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายระดับประเทศ (60%) ซึ่งสองสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการบังคับใช้คำขี้ขาดตามอนุสัญญานิวยอร์กและการหลีกเลี่ยงความลำเอียงที่อาจเกิดขึ้นได้และลักษณะเฉพาะของศาลระดับประเทศ ในขณะที่ 40% นั้นตอบว่าความยืดหยุ่น ตามมาด้วยความสามารถของคู่พิพาทในการเลือกอนุญาโตตุลาการ (39%) และการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว (35%)[3]
อย่างไรก็ตาม 67% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า “ค่าใช้จ่าย” เป็นลักษณะที่แย่ที่สุดของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตามมาด้วยการขาดระบบการลงโทษที่มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ (45%) การขาดอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม (39%) และความล่าช้า (34%)[4]
ทั้งนี้ 99% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าจะแนะนำการอนุญาโตตุลาการระหว่างในการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะข้ามพรมแดนในอนาคต[5]
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
วิวัฒนาการของที่นั่งพิจารณาและสถาบันอนุญาโตตุลาการ
สถานที่นั่งพิจารณาที่ได้รับความนิยมห้าอันดับแรกได้แก่ลอนดอน (64%) ปารีส (53%) สิงคโปร์ (39%) ฮ่องกง (28%) และเจนีวา (26%)[6]
เจนีวานั้นเป็นที่นั่งพิจารณาที่เป็นที่ต้องการเป็นอันดับสามในทวีปยุโรปและแอฟริกา และเป็นอันดับที่สี่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นนั้นลอนดอนเป็นสถานที่นั่งพิจารณาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ตามมาด้วยสิงคโปร์และฮ่องกง ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือนั้นนิวยอร์กได้รับความนิยมเป็นอันดับสาม ตามมาด้วยสิงคโปร์ เป็นที่น่าสนใจว่า เซาเปาโล (บราซิล) นั้นอยู่ในอันดับที่แปดของอันดับโดยรวม โดยส่วนใหญ่มาจากผู้ตอบแบบสอบถามจากละตินอเมริกา[7]
ในส่วนของเหตุผลที่ทำให้ที่นั่งพิจารณาเหล่านั้นได้รับความนิยมนั้นได้แก่ “ชื่อเสียงทั่วไปและการเป็นที่ยอมรับ” เป็นเหตุผลหลัก (14%) ตามมาด้วย “ความเป็นกลางและความเป็นยุติธรรมของระบบกฎหมายระดับประเทศ” (13%) “กฎหมายอนุญาโตตุลาการระดับประเทศ” (12%) และ “ประวัติในการบังคับใช้ข้อตกลงเพื่ออนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ” (11%)[8]
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากว่าครึ่ง (55%) คิดว่า Brexit จะไม่มีผลกระทบต่อการใช้ลอนดอนเป็นที่นั่งพิจารณา[9] พวกเขาเชื่อว่า “โครงสร้างทางกฎหมายที่เป็นทางการ” มีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลงและยังคงสนับสนุนอนุญาโตตุลาการต่อไป 70% คาดการณ์ว่าปารีสจะเป็นที่นั่งพิจารณาที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากผลกระทบทางลบของ Brexit ในลอนดอน[10]
สำหรับสถาบันอนุญาโตตุลาการทีได้รับความนิยมมากที่สุดนั้นได้แก่ สภาหอการค้านานาชาติ – International Chamber of Commerce (ICC) (77%) ตามมาด้วย ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งลอนดอน – London Court of International Arbitration (LCIA) (51%) ศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสิงคโปร์ – Singapore International Arbitration Centre (SIAC) (36%) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศฮ่องกง – Hong Kong International Arbitration Centre (HKIAC) (27%) และสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งหอการค้าสตอกโฮล์ม – Arbitration Institute of the Stockholm Chamber of Commerce (SCC) (16%) ตามลำดับ ซึ่ง ICC และ LCIA นั้นได้รับความนิยมมานานนับทศวรรษและมีการคาดหมายว่าความนิยมนี้คงไม่ลดลงในเร็ววัน[11]
สาเหตุที่ทำให้สถาบันอนุญาโตตุลาการเหล่านี้ได้รับความนิยมนั้นได้แก่ ชื่อเสียงทั่วไปและการยอมรับของสถาบัน ตามมาด้วยการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เช่น ประสิทธิภาพ ความกระตือรือร้น สิ่งอำนวยความสะดวก คุณภาพของเจ้าหน้าที่ และประสบการณ์ที่ผ่านมาของสถาบัน ในขณะที่ความเป็นกลาง/ ‘ความเป็นสากล’ นั้นเป็นเหตุผลลำดับที่สี่[12]
อนุญาโตตุลาการ
ในเรื่องของความหลากหลายของอนุญาโตตุลาการนั้น หนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ตอบเกี่ยวกับผลกระทบของความหลากหลายของอนุญาโตตุลาการที่มีผลต่อคุณภาพของการทำชี้ขาดนั้น“ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของข้อพิพาทที่เป็นปัญหา” (26%) ในขณะที่ 22% นั้นคิดว่าความหลากหลายนำมาซึ่ง “การปรับปรุงคุณภาพบางส่วน” ในขณะที่ 18% มองว่าความหลากหลายนำไปสู่ “การปรับปรุงคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญ” ในขณะที่ 19% นั้นมองว่า กระบวนการพิจารณานี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ทั้งนี้เพราะ “ความหลากหลายนั้นมีคุณค่าในตัวของมันเอง” และมองว่าความหลากหลายไม่ได้สร้างความแตกต่างในด้านคุณภาพหรือสามารถลดคุณภาพของการตัดสินใจได้[13]
ในส่วนของการพัฒนาความหลากหลายของอนุญาโตตุลาการนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (59%) เห็นด้วยว่าความหลากหลายทางเพศได้รับการพัฒนามากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายทางชาติพันธ์นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่ามีความจำเป็นที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด[14]
ทั้งนี้ 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นเห็นว่า สถาบันอนุญาโตตุลาการควรเป็นผู้ที่ทำให้แน่ใจว่ามีความหลากหลายมากขึ้นในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ[15] ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามถึง 80% มองว่า สถาบันอนุญาโตตุลาการนั้นมีอิทธิพลมากที่สุดต่อทิศทางในอนาคตของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในหลาย ๆ ด้าน[16] โดยมากกว่าหนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสอบนั้นมองว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความมุ่งมั่นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อขยายและกระจายการสรรหาอนุญาโตตุลาการให้มีความหลากหลายมากขึ้น[17]
การคัดเลือกอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ซึ่ง 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นได้ตอบว่า แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการนั้นได้มาจากการ “ปากต่อปาก” ตามด้วย “จากเพื่อนร่วมงานภายใน” (68%) และ “ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ (เช่น บทวิจารณ์ในอุตสาหกรรม ไดเรกทอรีทางกฎหมาย และฐานข้อมูลอื่นๆ หรือเครื่องมือตรวจสอบ) ” (63%)[18] ทั้งนี้ข้อมูลที่ผู้เกี่ยวต้องการเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการนั้นได้แก่ การทำคำชี้ขาดที่ผ่านมาและการตัดสินใจ แนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญ และระดับความพร้อมของอนุญาโตตุลาการตามลำดับ[19]
เงินทุน ประสิทธิภาพ และการรักษาความลับ
97% ของผู้ตอบแบบสอบถามทราบถึงเงินทุนของบุคคลที่สามในการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีมุมมอง “เชิงบวก” โดยทั่วไปเกี่ยวกับเงินทุนของบุคคลที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้เงินทุนของบุคคลที่สามจริง ๆ
ทั้งนี้ “Due Process Paranomia” ยังคงเป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าทำให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นมีประสิทธิภาพน้อยลง ผู้ตอบแบบสอบถามยังเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการดำเนินการอนุญาโตตุลาการที่มากขึ้น[20]
87% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าการรักษาความลับในอนุญาโตตุลาการการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คิดว่าการรักษาความลับควรเป็นคุณลักษณะการเลือกไม่ใช้ มากกว่าการเลือกใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ[21]
อนาคต
ผู้ตอบแบบสอบถามนั้นมองว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพลังงาน (85%) และการก่อสร้าง/สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (82%) เทคโนโลยี (81%) และการธนาคารและการเงิน (56%)[22]
ในเรื่องของเทคโนโลยีนั้นได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยที่ 73% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นใช้เทคโนโลยีสำหรับการสืบพยาน เช่น การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย, การถอดเสียงอิเล็กทรอนิกส์แบบเรียลไทม์ และ 60% ใช้การประชุมผ่านวิดีโอหรือ Videoconference และการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ (54%) AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบเอกสารที่ใช้เทคโนโลยีช่วย) (12%) และ ห้องพิจารณาเสมือนจริง (8%)
ผู้ตอบแบบสอบถามนั้นมองว่าประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นผ่านเทคโนโลยี ความแน่นอนและการบังคับใช้รคำชี้ขาดที่มี่ประสิทธิภาพมากขึ้น ความหลากหลายที่เพิ่มขึ้นทั้งในหมู่อนุญาโตตุลาการและผู้ใช้อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนากระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในอนาคต[23]
- [1] สรุปงานรายฉบับนี้แปลมาจาก 2018 International Arbitration Survey: The Evolution of International Arbitration จัดทำโดย White & Case Research Fellow in International Arbitration, Queen Mary University of London ผู้สนใจสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.arbitration.qmul.ac.uk/media/arbitration/docs/2018-International-Arbitration-Survey—The-Evolution-of-International-Arbitration-(2).PDF
- [2] 2018 International Arbitration Survey P.5
- [3] P. 7
- [4] P.8
- [5] P.8
- [6] P.9
- [7] P.10
- [8] P.10
- [9] P. 11
- [10] P. 13
- [11] P.13
- [12] P.14
- [13] P. 16
- [14] P. 18
- [15] P.18
- [16] P. 36
- [17] P.19
- [18] P.20
- [19] P.22
- [20] P.24
- [21] P.28
- [22] P.30
- [23] P.38