“สิงคโปร” และ “ฮ่องกง” กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางอนุญาโตตุลาการทางธุรกิจ แซง “ญี่ปุ่น” หลังโควิด 19 ระบาด
ประเทศสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง กำลังพัฒนามาเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งเอเชีย และได้รับประโยชน์จากความต้องการในการใช้อนุญาโตตตุลการระหว่างประเทศของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลมาจากความไว้วางใจจากการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้แล้วนั้น อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญก็คือการใช้ภาษา “อังกฤษ” อย่างแพร่หลาย
การเพิ่มขึ้นของจำนวนการแพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนระหว่างประเทศในทุกวงการ เช่น ธุรกิจนําเข้าส่งออก ธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดข้อพิพาทต่างๆนานาในเรื่องของสัญญา และอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นอนุญาโตตุลาการจึงได้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักลงทุน ด้วยวามยืดหยุ่นในการดำเนิน หรือพิจารณาคดี
อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศลอนดอน (LCIA) รายงานว่า ปี 2020 นั้นถือได้ว่ามีการใช้บริการอนุญาโตตุลาการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งนาย โยชิฮิโร ทากาโทริ ที่ปรึกษากฏหมายชาวญี่ปุ่นร่วมกับทีมงานจากสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า ในกรณีข้อพิพาทระหว่างประเทศนั้นทั้งสองฝ่ายจะตัดสินใจว่าจะส่งคดียังไปตามข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งในทวีปเอเชียนั้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบอีกด้วยว่าในปี 2021 เขตบริหารพิเศษ กระโดดขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 ส่วนประเทศสิงคโปร์ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับหนึ่งร่วมกับสหราชอาณาจักร ซึ่งอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนอกจากความสามารถในการพิจารณาคดีเป็นภาษาอังกฤษนั้น อนุญาโตตุลาการของสิงคโปร์ (SIAC) มีการปรับตัวให้ทันกับยุคดิจิทัล และข้อจำกัดในการเดินทางภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ด้วยการเปิดยบริการผ่านช่องทางออนไลน์ที่มากขึ้น และศูนย์อนุญาโตตุลาการของฮ่องกง (HKAIC) ได้จัดตั้งสำนักงานในกรุงโซลและเซี่ยงไฮ้เพื่อดึงดูดบริษัทข้ามชาติ
และขยายขอบเขตในการพิจารณาคดีด้วยเช่นกัน
การเบนเข็มมายังเอเชียนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบที่ดีต่ออดีตยักษ์ใหญ่ของอนุญาโตตุลาการเอเชีย อย่างประเทศญี่ปุ่น มีรายงานว่า ศูนย์อนุญาโตตุลาการของญี่ปุ่นรับคดีใหม่ 18 คดีในปีที่แล้ว น้อยกว่าสิงคโปร์ 60 เท่า ในปี 2017 รัฐบาลญี่ปุ่นมีความพยายามในการผลักดันให้ “แดนซามูไร” ให้เป็นศูนย์กลางของการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมีความพร้อมทั้งในเมืองโอซาก้า และโตเกียว แต่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามหวังได้
นอกจากโควิดแล้วนั้น ผลลัพทธ์ส่วนหนึ่งจากการขาดบุคลากรที่มีทักษะในการทำงานเป็นอนุญาโตตุลาการหรือตัวแทน ทาคาโทริ ระบุว่า มีนักอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไม่กี่คนที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง และสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้
“แม้จะประกอบธุรกิจในบ้าน แต่เราต้องแข่งขันคดีในฐานะ ทีมเยือน “และมันอาจทำให้เราอยู่ในสถานะทางธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวย” ซึโยชิ ฮาราดะ เจ้าหน้าที่บริหารของ Nippon Steel ได้กล่าวเอาไว้
ด้วยเหตุนี้ประเทศญี่ปุ่นจึงมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการผลักดันอนุญาโตตุลาการกลับขึ้นไปสู่มาตรฐานสากล ซึ่งทั้งหมดนี้ยังอยู่ในระหว่างกระบวนการแก้ไขกฏหมาย โดย ฮิโรกิ อาโอกิ ทนายความชาวญี่ปุ่นในสิงคโปร์ ชี้ว่า การขาดแคลนคดีอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่ดำเนินการในญี่ปุ่นนั้นแสดงให้เห็นว่าบริษัท หรือกลุ่มนักลงทุนในญี่ปุ่นนั้นไม่ค่อยมีความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจในประเทศตัวเอง เพราะหากธุรกิจที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีนั้นจะมี “อนุญาโตตุลาการ” ในประเทศบ้านเกิดของตนเองผลักดันให้มีฐานที่มั่นคงได้ดีและง่ายขึ้น