หลัก Res Judicata กับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
หลัก Res Judicata ได้ถูกนำมาปรับใช้กับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อความเด็ดขาด และมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้คำชี้ขาดถึงแม้ว่าจะไม่แพร่หลายมากในการนำมาปรับใช้ อย่างไรก็ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศมักถูกมองว่าเป็นประเด็นที่มีความคลุมเครือ การเข้าสู่กระบวนการจึงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความไม่สอดคล้องกับประเด็นปัญหา
ความหมายและคำจำกัดความของหลัก Res Judicata
Res Judicata เป็นภาษาละตินที่มีความหมายว่าการตัดสินใจ ในนิยามของกฎหมายนั้นหมายถึงแนวคิดของหลักการที่ว่าด้วยสาเหตุของการกระทำอาจไม่ได้รับการพิจารณาเมื่อได้รับการตัดสินที่เป็นธรรมแล้ว คำพิพากษาเป็นที่สิ้นสุด สามารถนำมาอธิบายหลักนี้ได้เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างเป็นธรรมแล้ว นอกจากนี้หลัก
Res Judicata ยังรวมไปถึงข้อยกเว้นการอ้างสิทธิด้วย
หลัก Res Judicata ถูกนำมาเป็นหลักทั่วไปทางกฎหมายทั้งในทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในรัฐ เช่น การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมภายในรัฐ และคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประทศที่มีผลผูกพันคู่พิพาท โดยทั่วไปแล้วคณะอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาหลัก Res Judicata จากผลของการพิจารณาของศาลก่อนหน้า อย่างไรก็ตามประเด็นปัญหาของหลัก Res Judicata อาจเกิดขึ้นระหว่างคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งมีคำชี้ขาดที่ออกมาแตกต่างกันในครั้งก่อนหน้า
คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการคือการตัดสินที่สามารถพิจารณาตามหลัก Res Judicata ได้ในทุกกรณีที่ตามหลังมาซึ่งคู่พิพาทเดิมอาจยกขึ้นต่อสู้ระหว่างกัน คำชี้ขาดนั้นถือเป็นที่สิ้นสุดเนื่องจากการตัดสินเดิมถือเป็นที่สิ้นสุดและมีผลผูกพันคู่พิพาท ในอีกนัยหนึ่ง หลัก Res Judicata เป็นเรื่องของคำพิพากษาที่ออกมานั้นไม่สามารถโต้แย้งได้เนื่องจากการตัดสินเป็นที่สิ้นสุดและมีผลผูกพันระหว่างคู่พิพาท ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับการอุทธรณ์หรือขอโต้แย้งอื่นที่ยังสามารถปรากฎอยู่ ในการพิจารณาตามหลัก Res Judicata คณะอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาตามวิธีการดังนี้
- วิธีการทางกฎหมาย Common Law อนุญาตให้มีคำแก้ต่างหลายข้อ เช่น คำแก้ต่างในหลัก estoppel[1], การพิพากษากลับ และการละเมิดกระบวนการทางกฎหมาย
- วิธีการทางกฎหมาย Civil Law ซึ่งอนุญาตให้มีคำแก้ต่างเพียงข้อเดียว เช่นในฝรั่งเศส หลัก Res Judicata อ้างถึง หลัก autorité de la chose jugée (authority of the thing ruled upon) กล่าวคือไม่สามารถไล่เบี้ยต่อคำพิพากษาได้
ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสามารถแบ่งการพิจารณาหลัก Res Judicata ได้ตามสนธิสัญญาการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศซึ่งจะมีวิธีการที่แตกต่างกันในการพิจารณาตามหลัก Res Judicata ของคณะอนุญาโตตุลาการ
หลัก Res Judicata ในอนุญาโตตุลาการตามสนธิสัญญาการลงทุน
เป็นที่ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติว่าคณะอนุญาโตตุลาการในสนธิสัญญาการลงทุนพยายามที่จะปรับใช้วิธีการตามกลักกฎหมาย Common Law ในการพิจารณาหลัก Res Judicata ก่อนที่จะมีคำชี้ขาด ตัวอย่างเช่น
คณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทระหว่าง Amco Asia Corporation and others และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พิจารณาว่าหากคณะกรรมการเฉพาะกิจบางส่วนตัดสินที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดบางส่วน คำชี้ขาดส่วนที่ไม่ถูกเพิกถอนนั้นจะมีผลผูกพันคู่พิพาทสอดคล้องกับหลัก Res Judicata “ไม่เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าแนวโน้มพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศคือการยอมรับการใช้เหตุผลการพิจารณาเบื้องต้นหรือโดยบังเอิญเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตามหลัก Res Judicata ปรากฏในข้อพิพาท Pious Fund Case[2] ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(The Hague Court; ปัจจุบัน The International Court of Justice) ไม่สามารถตีความได้ในทางนั้น
คณะอนุญาโตตุลาการกล่าวเพียงว่า ทุกส่วนของคำพิพากษาให้ความกระจ่างและส่งเสริมซึ่งกันและกันและทั้งหมดทำหน้าที่ในการแสดงเจตนาที่ถูกต้องและแม่นยำและดำเนินกระบวนการตามบทบัญญัติ และเพื่อกำหนดประเด็นที่เป็นไปตามหลัก Res Judicata หากการตัดสินของคณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับคำชี้ขาดส่วนถูกเพิกถอนและไม่ถูกเพิกถอนไม่ปรากฏชัดแจ้ง ประเด็นทั้งหมดในการตัดสินจะต้องเชื่อถือได้ในการตีความและชี้แจงบทบัญญัติ
แต่กรณีปรากฏว่าการตัดสินนั้นชัดเจน”
เช่นเดียวกันกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในคดีพิพาท Rachel S. Grynberg, Stephen M. Grynberg, Miriam Z. Grynberg and RSM Production Company และ Grenada มีการพิจารณาเกี่ยวเนื่องกับหลัก Estoppel
และมีคำชี้ขาดกล่าวถึงหลักกฎหมายปิดปากมีการจัดตั้งขึ้นเป็นหลักพื้นฐานกฎหมายที่ใช้บังคับในศาลระหว่างประเทศและกระบวนอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นหนึ่งประเภทของหลัก Res Judicata คณะอนุญาโตตุลาการอ้างอิงถึงคดีพิพาท Amco ให้เหตุผลหลัก Res Judicata ไว้ว่า “สิทธิ ข้อสงสัย หรือข้อเท็จจริงที่มีประเด็นชัดเจนและศาลที่มีเขตอำนาจกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นเหตุแห่งการพิพากษากลับ ไม่สามารถโต้แย้งได้” สังเกตได้ว่าประเด็นหลักกฎหมายปิดปากมีนัยว่าการตัดสินในข้อสงสัยเดียวกัน มีการตัดสินถึงที่สุดแล้วในระหว่างคู่พิพาทเดียวกันแต่ไม่มีการระบุสาเหตุ คณะอนุญาโตตุลาการอ้างถึงกรณีศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาในคดีพิพาท Southern Pacific Railroad Co และสหรัฐอเมริกา พบว่าผลการการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการก่อนหน้าเกี่ยวกับสิทธิ ข้อสงสัย และข้อเท็จจริงหลายชุดผูกมัดกับการพิจารณาคดีของคณะอนุญาโตตุลาการชุดใหม่ “หลักการทั่วไปที่ได้ประกาศในหลายกรณีคือ สิทธิ ข้อสงสัย หรือท้อเท็จจริงที่ชัดเจนและกำหนดโดยศาลที่มีเขตอำนาจโดยตรงว่าเป็นเหตุแห่งการพิพากษากลับ ไม่สามารถโต้แย้งในคดีต่อมาระหว่างฝ่ายเดียวกัน แม้ว่าคำฟ้องชุดที่ 2 จะเป็นเหตุของการกระทำที่แตกต่างกัน สิทธิ ข้อสงสัย หรือข้อเท็จจริงเมื่อได้พิจารณาแล้ว จะต้องถือเอาระหว่างคู่พิพาทเดิมอย่างเด็ดขาดตราบเท่าที่คำพิพากษาในข้อพิพาทแรกยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง”
อีกหนึ่งตัวอย่างที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้วิธีการทางกฎหมาย Common Law มาพิจารณาหลัก Res Judicata คือข้อพิพาทในคดีระหว่าง Gavazzi และ โรมาเนีย ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการใช้หลักเกณฑ์สามอย่างในการมีคำชี้ขาดว่าไม่เข้าหลัก Res Judicata เพราะคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ของคู่พิพาทฝ่ายที่ถูกเรียกร้อง “ภายใต้ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ เงื่อนไขสามประการต้องสมบูรณ์สำหรับการตัดสินที่จะมีผลผูกพันต่อคู่พิพาทภายหลัง ได้แก่ วัตุประสงค์ในการร้องขอ, เหตุแห่งหารหระทำ และ คู่สัญญาพ้องต้องกัน”
หลัก Res Judicata ในการอนุญาโตตุลาการตามการค้าระหว่างประเทศ
เนื่องจากการตีความหลัก Res Judicata มีความแตกต่างกันในแต่ละรัฐ คณะอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศอาจใช้กฎหมายภายในรัฐที่แตกต่างกันเพื่อพิจารณาประเด็นตามหลัก Res Judicata
คณะอนุญาโตตุลาการอาจใช้กฎหมายของสถาที่ที่มีคำชี้ขาดก่อนหน้า ในคำชี้ขาดของสภาหอการค้านานาชาติ
ปี ค.ศ. 1994 คณะอนุญาโตตุลาการได้ใช้กฎหมายของรัฐที่มีคำชี้ขาดในข้อพิพาทก่อนหน้า ข้อพิพาทเกี่ยวข้องกับความตกลงสามฝ่ายในบริษัทในอิหร่าน เงินกู้ยืมจากธนาคารให้กับบริษัทนี้มีการค้ำประกันโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในสัญญา กระบวนการอนุญาโตตุลาการครั้งแรกเกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ ดำเนินกระบวนการโดยคู่พิพาทฝ่ายอิหร่าน ส่งผลให้คู่พิพาทอีกสองฝ่ายต้องเสียดอกเบี้ยตามจำนวนเงินค้ำประกัน และดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการครั้งที่สอง แต่กับอีกฝ่ายหนึ่งจากสองฝ่ายพิพาทโดยอ้างว่าการชดใช้จำนวนเงินต้นของการค้ำประกัน คณะอนุญาโตตุลาการจึ้งใช้หลักกฎหมายภายในรัฐสวิสเซอร์แลนด์มาพิจารณาหลัก Res Judicata
การใช้กฎหมายภายในรัฐที่กระบวนการอนุญาโตตุลาการครั้งใหม่เกิดขึ้นก็ถูกนำมาปรับใช้กับ
คณะอนุญาโตตุลาการ เช่น กรณีของคณะอนุญาโตตุลาการแห่งสภาหอการค้านานาชาติเกิดขึ้นครั้งใหม่ที่ปารีส คณะอนุญาโตตุลาการเลือกใช้กฎหมายฝรั่งเศสในการพิจารณาในขณะที่กระบวนการอนุญาโตตุลาการครั้งก่อนเกิดขึ้นที่เจนีวา
บทสรุป
ข้อพิพาทระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้น เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการหลายรูปแบบซึ่งส่งผลให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในประเด็นหลัก Res Judicata มากขึ้น เหตุนี้อาจส่งผลให้จำนวนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นทางการค้าระหว่างประเทศ
[1] แนวคิดหลักกฎหมายปิดปากกล่าวคือ การที่บุคคลหนึ่งมีสิทธิอยู่ตามกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ยอมให้เขากล่าวอ้างสิทธิเพื่อเรียกเอาประโยชน์ใดๆได้
[2] คดีพิพาทระหว่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก ค.ศ. 1902