อีกสักยก! ศาลปกครองสูงสุด อนุญาตให้มีการพิจารณาข้อพิพาท “โฮปเวลล์” ใหม่อีกครั้ง
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา จากการประชุมของศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งให้รับมหากาพย์คดี “โฮปเวลล์” กลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยระบุว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม “คู่กรณี” นำผลแห่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นข้ออ้างในการให้ศาลฯ ชี้ขาดข้อพิพาทใหม่
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีไทย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ได้มีบทบาทในการรับผิดชอบเรื่องราวเกี่ยวกับโฮปเวลล์ ที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยฝ่ายหนึ่ง กับโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าความสำเร็จในการยื่นคำร้องเพื่ออนุมัติผ่านนั้น มีสาระสำคัญว่าศาลปกครองสูงสุดนั้นกลับคำพิพากษาของศาลปกครองที่ปฏิเสธคำร้องของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ได้ให้ยกร้องข้อพิพาทโครงการยกระดับถนน และทางรถไฟ ซึ่งจากคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่พิจารณาข้อพิพาทนี้นั้น ออกคำชี้ขาดว่าหน่วนงานทั้ง 2 ของรัฐตามที่กล่าวมานั้นจำต้องจ่ายเงินชดเชยในโครงการ Hopewell (ประเทศไทย) กว่า 24,000 ล้านบาท สำหรับการยกเลิกโครงการที่ไม่เป็นไปตามสัญญา
ย้อนอ่านข้อพิพาทมหากาพย์ “โฮปเวลล์” ได้ที่นี่
บทความ “บทเรียนโฮปเวลล์ กับการยกระดับอนุญาโตตุลาการไทย” อ่านได้ที่นี่
คู่พิพาททั้งสองฝ่ายได้ตกลงนำคดีดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยทั้งกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นอุทธรณ์คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เพื่อทำการเพิกถอนคำชี้ขาด ต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งยืนยันคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองหน่วยงานไม่เห็นด้วยถึงคำชี้ขาดดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสิทธิที่คู่พิพาทสามารถเรียกร้องต่อการพิจารณาคำชี้ขาดใหม่ได้ การกฎและกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกที่ยืดหยุ่น โดยทั้ง 2 หน่วยงานอ้างว่ามีหลักฐานที่ชี้ได้ว่าบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และไม่ใช่บริษัทเดียวกับที่ชนะการประมูลโครงการตามระเบียบการว่าจ้าง ซึ่งศาลยกคำร้องดังกล่าว จึงส่งผลให้มีการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาต่อไป
รายละเอียดจากที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า บทบัญญัติใดของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว ซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายนั้น เป็นคำพิพากษาที่ใช้บังคับมิได้หรือต้องสิ้นผลบังคับผูกพันลงเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ศาลปกครองสูงสุดจึงปรับให้เป็นรับคำขอให้ศาลพิจารณพิพากษาคดีใหม่ของทั้ง 2 กระทรวงไว้พิจารณาหรือกล่าวคือเป็นการขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีโฮปเวลล์ใหม่ ส่งผลให้การพิจารณาการจ่ายค่าชดเชย และค่าเสียหายรณีที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ยกเลิกสัญญาโครงการนี้ ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง หลังวันที่ 22 เม.ย.2562 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม และรฟท. ชดใช้ค่าเสียหายให้กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเงิน 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งปัจจุบันเงินต้นและดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 2.6 หมื่นล้านบาท