ฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่เริ่มใช้ข้อตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการร่วมกัน
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2020 ศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Supreme People’s Court) และกระทรวงยุติธรรมฮ่องกง ได้ลงนามในข้อตกลงเพิ่มเติม (The Supplemental Arrangement) เกี่ยวกับการบังคับใช้ร่วมกันของคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและเขตปกครองพิเศษฮ่องกงซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นการตกลงเพิ่มเติมแก้ไขและส่งเสริมข้อตกลงที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการบังคับใช้ร่วมกันของคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและเขตปกครองพิเศษฮ่องกงซึ่งเรียกว่า The Arrangement Concerning Mutual Enforcement of Arbitral Awards between the Mainland and the Hong Kong Special Administrative Region (the 1999 Arrangement หรือข้อตกลงปี 1999)
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
สำหรับข้อตกลง 1999 ได้ลงนามเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 1999 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2000 ซึ่งข้อตกลงนี้เป็นกรอบที่สามารถบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำในฮ่องกงได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนและในทางกลับกัน เพื่อให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำในสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถบังคับใช้ได้ในฮ่องกง โดยที่ข้อตกลงเพิ่มเติมนี้เป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติเพียงสี่ประการเท่านั้น แต่ก็เป็นการชี้แจงประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญรวมไปถึงเป็นการปรับปรุงวิธีการกลไกต่าง ๆ ของการร่วมบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการร่วมกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกง
ประเด็นสำคัญของข้อตกลงเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้
Article 1 ชี้แจงว่าการบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ระบุไว้ภายใต้ข้อตกลงปี 1999 จะต้องตีความให้ครอบคลุมทั้งขั้นตอนสำหรับ “การรับรอง (Recognition)” และ “การบังคับใช้ (Enforcement)” ของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งในข้อตกลงปี 1999 นั้น ไม่ได้รวมขั้นตอนการรับรองไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้ง ดังนั้น การชี้แจงเกี่ยวกับการบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในข้อตกลงเพิ่มเติมนี้[TS1] มีความสอดคล้องกับอนุสัญญานิวยอร์ก Article 3 ที่บัญญัติว่า “รัฐภาคีจะยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการด้วยหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาของรัฐที่มีการร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาด”[1]
การแก้ไขนี้มีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2020
Article 2 นั้นเป็นการขยายขอบเขตของการบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่สามารถบังคับใช้ได้ในฮ่องกง ทั้งนี้เนื่องมาจากภายใต้ข้อตกลงปี 1999 คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีผลบังคับใช้โดยศาลฮ่องกงก็ต่อเมื่อหน่วยงานอนุญาโตตุลาการที่บริหารจัดการอยู่ในรายชื่อของสำนักงานกิจการนิติบัญญัติของสภาแห่งรัฐ (Legislative Affairs Office of the State Council) ว่าเป็นหน่วยงานอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการยอมรับ ในส่วนนี้ข้อตกลงเพิ่มเติมได้บัญญัติว่า ตราบใดที่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้รับการดำเนินการตามกฎหมายอนุญาโตตุลาการของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นได้รับการยอมรับและบังคับใช้ในฮ่องกงภายใต้กฎหมาย
ดังนั้น ภายใต้ข้อตกลงเพิ่มเติมนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฮ่องกงทั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นสถาบันอนุญาโตตุลาการหรือ อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc))[TS2] จะสามารถบังคับใช้ได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และในทางกลับกัน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในสาธารณรัฐประชาชนจีนก็สามารถบังคับใช้ได้ในฮ่องกงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักการในอนุสัญญานิวยอร์กนั่นเอง
Article 3 นั้นเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง Article 2 (3) ของข้อตกลง 1999 ทั้งนี้เพื่อให้คู่พิพาทสามารถยื่นขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลฮ่องกงและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการกำหนดวิธีการสำหรับศาลทั้งสองประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนสถานะของการบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลการอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจาก Article 2 (3) ของข้อตกลง 1999 นั้นไม่อนุญาตให้มีการยื่นขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ[TS3] [TS4] ต่อศาลที่เกี่ยวข้องทั้งสองแห่งในเวลาเดียวกัน ดังนั้น เจ้าหนี้ในกรณีพิพาทจะต้องเลือกสถานที่ที่จะดำเนินการบังคับไปตามคำชี้ขาดเพียงที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น แม้ว่าลูกหนี้จะมีทรัพย์สินอยู่ในทั้งสองเขตอำนาจศาลก็ตาม ดังนั้น หากการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นยืดเยื้อหรือไม่ประสบผลสำเร็จ เจ้าหนี้ตามคำชี้ขาดก็อาจไม่สามารถยื่นขอบังคับตามคำชี้ขาดต่อศาลที่เกี่ยวข้องอีกแห่งหนึ่งได้เนื่องจากหมดอายุความในการขอบังคับ (สองปีในสาธารณรัฐประชาชนจีนและหกปีในฮ่องกง) การยกเลิกข้อจำกัดดังกล่าวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและเพื่อเป็นการอำนวยประโยชน์ต่อเจ้าหนี้เพื่อที่จำได้ไม่ต้องเลือกระหว่างศาลสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือฮ่องกงอีกต่อไป
Article 4 ของข้อตกลงเพิ่มเติมนั้นเป็นการยืนยันอำนาจศาลของสองประเทศในการที่จะกำหนดมาตรการ[TS5] สงวนรักษาหรือมาตรการ[TS6] บังคับ (preservation or mandatory measures) ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการรับรองคำขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ [TS7] โดยมีผลใช้บังคับทันทีในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2020 โดยเป็นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการชั่วคราวนอกเหนือจากข้อตกลงเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในมาตรการระหว่างกาลที่ศาลมีคำสั่งในการช่วยเหลือการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ (Arrangement Concerning Mutual Assistance in Court-ordered Interim Measures in Aid of Arbitral Proceedings) โดยศาลแผ่นดินใหญ่และของฮ่องกง ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำให้แน่ใจว่าจะมีมาตรการระหว่างกาลตลอดระยะเวลาของกระบวนอนุญาโตตุลาการรวมทั้งก่อนที่จะเริ่มดำเนินกระบวนการตามขั้นตอนอีกด้วย
ทั้งนี้ในประเทศจีนนั้นข้อบังคับเหล่านี้ทั้งหมดมีผลบังคับใช้ทันที สำหรับกรณีของฮ่องกงนั้น Article 1 และ 4 มีผลบังคับใช้ทันทีเช่นกัน ส่วน Article 2 และ 3 จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Ordinance)
ที่มา:
[1] New York Convention 1958. Article III “Each Contracting State shall recognize arbitral awards as binding and enforce them in accordance with the rules of procedure of the territory where the award is relied upon”