เตรียมตัวให้พร้อม! เปิดเนื้อหา พ.ร.ฎ.คุมแพลตฟอร์มดิจิทัล มีครอบคลุมประเด็นได้บ้าง?
รายงานจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ถึงรายละเอียดการประชุมของคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล ว่าด้วยเรื่องการร่างร่างหลักการปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 โดยมีสาระสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงิน และการพาณิชย์ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการยอมรับในภาคธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งในด้านความปลอดภัยแก่ประชาชาชนที่ใช้บริการอีกด้วย
อนึ่ง ร่าง “พ.ร.ฎ.คุมแพลตฟอร์มดิจิทัล” ดังกล่าวนั้น ได้มีการเปิดเผยถึงประเด็นสำคัญที่คณะอนุกรรมการมีมติเห็นชอบร่วมกันได้แก่
1. เสนอการปรับปรุงหลักการของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้มีเนื้อหา และหลักการที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ
2. ร่าง พ.ร.ฎ. นี้คือส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันการพัฒนากฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของเศรษฐกิจและสังคมไทย (Thailand’s Digital Transformation)
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีการแก้ไขปรับปรุงมาแล้วหลายครั้ง คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นควรเสนอให้ยกเลิกกฎหมายเดิมและยกร่างพระราชบัญญัติธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ฯ ฉบับใหม่ขึ้นแทน เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมทุกประเภท ภายใต้หลักการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่าง เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ทั้งผู้จัดจำหน่าย เจ้าของแพลตฟอร์ม ตลอดจนผู้บริโภค
ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังเป็นไปลักษณะของการพัฒนาด้านกฏหมายในการทำธุรกรรมออนไลน์
ที่ก้าวเข้ามาเป็นช่องทางหลักในการประกอบธุรกิจของทุกฝ่ายในอนาคต ซึ่งแนวทางการสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายดังกล่าวในข้างต้นนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
1. การลดต้นทุนแฝงและความไม่แน่นอนด้านกระบวนการ พิสูจน์พยานหลักฐาน และการพิจารณาคดี
2. หลีกเลี่ยงการกำกับดูแลแบบเข้ม สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างผู้กำกับดูแล ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้พัฒนาเทคโนโลยี และ 3. รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ ซึ่งจะมีเนื้อหาของข้อกฏหมายที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ เช่น ขอบเขตของกฏหมาย การยืนยันตัวตนบนโลกดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของบทบาทของหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักฐาน และการระงับข้อพิพาท
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในการให้บริการ และการระงับข้อพิพาททาเลือกแก่ผู้ใช้บริการทุกท่านที่มีปัญหา ข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทผ่านธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางและรูปแบบที่สามารถรองรับการดำเนินคดีผ่านระบบดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ทั้ง 1. ระบบ AMO 247 และ Talk DD ซึ่ง THAC ก็พร้อมที่จะให้บริการคู่พิพาทอย่างเต็มความสามารถ