เปิดไทมไลน์รัสเซีย ยูเครน! ความขัดแย้งที่สร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วโลกอย่างเหลือเชื่อ
นับตั้งแต่การรายงานจากสำนักข่าวชั้นนำต่างประเทศ เปิดเผยถึงปมขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซีย กับประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ทุกฝ่ายต่างเน้นยำถึงความ “ระอุ” ขั้นสุดจนอาจนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ ที่มีปมปัญหาจากประเด็นในเรื่องของการแย่งชิง และข้อพิพาทเรื่องพรมแดน
ทั้งสองฝ่ายต่างยืนยันในความถูกต้องของตนเอง เฉกเช่นเดียวกับข้อพิพาทพรมแดนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โดยฝั่งรัสเซียนั้นมองว่า “ยูเครน” เปรียบดั่ง “กันชน” สำคัญด้านยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ในการรับมือกับอิทธิพลจากองค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) (คลิ๊กเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม) อย่างไรก็ตามทางฝั่งยูเครน มองว่า “รัสเซีย” คือเข้าข่ายผู้บุกรุก ที่กระทำการยึดครองดินแดนของตนเองไปแล้วบางส่วน
THAC หรือสถาบันอนุญาโตตุลาการ จะมาไล่เรียงไทมไลน์ และปัญหา ที่มาของความขัดแย้ง และวิเคราะห์ถึงแนวทางอนาคตร่วมกัน
จุดเริ่มต้นของข้อพิพาท
นับตั้งแต่ยูเครนแยกตัวของมาจากสหภาพโซเวียต ในปี 2534 เสถียรภาพ และความมั่นคงก็กระท่อนกระแท่นมาโดยตลอด เศรษฐกิจซบเซา เกิดปัญหาจากผู้นำภายในประเทศกับแนวทางในการเลือกสนับสนุนระหว่างยุโรป กับรัสเซีย กระทั่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี “วิกตอร์ ยากูโนวิช” ที่เลือกในการปฏิเสธการเข้าร่วมแผนเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป นั้นบานปลายนำไปสู่ความรุนแรง และนำไปสู่การหลบหนีออกนอกประเทศของ “ยากูโนวิช”
ด้วยเหตุนี้ ชาวไครเมีย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนระหว่างยูเครนกับสหพันธรัสเซีย ตัดสินใจอยู่ฝั่งเดียวกับรัสเซีย หลังจากทำประชามติเพื่อหาข้อสรุปในพื้นที่อันเป็นข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่ง “รัสเซีย” จึงตัดสินใจเข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอยู่ตอนใต้ของยูเครน ก่อนผนวกอย่างถูกกฎหมาย โดยทางการรัสเซียอ้างว่า จำเป็นต้องรักษาสิทธิของขาวรัสเซีย และผู้ที่ใช้ภาษารัสเซียเอาไว้ เหตุผลดังกล่าว สร้างความไม่พอใจต่อทางยูเครนเป็นอย่างมาก จนบานปลายไปสู่ภาวะสงครามในพื้นที่ระหว่างชายแดน
ความพยายามเพื่อ “สันติภาพ”
ภาวะสงคราม และเหตุการณ์นองเลือด นับว่าเป็นสิ่งที่ประชาคมโลกไม่ให้เกิดอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงมินสค์ เมื่อปี 2558 แต่ก็มีการละเมิดสัญญาดังกล่าวมาโดยตลอด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน จากข้อพิพาทดังกล่าว แต่สิ่งเหล่านี้กับถูกละเลย และยังมีความรุนแรงที่บานปลายมาโดยตลอด ปัญหาเหล่านี้เหมือนบีบบังคับให้ องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) เข้ามาเพื่อตอบโต้แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวของรัสเซีย ซึ่งจากสนธิสัญญาของนาโต้ ระบุว่า หากประเทศพันธมิตรถูกรุกราน โดยประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก ประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการปกป้องในหนทางใดทางหนึ่ง
ปัจจุบัน และอนาคต กับความสงบ?
สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่จับตามองสถาณการณ์นี้อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งย้ำเตือนว่าการดำเนินการดังกล่าวของวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย นั้นจะก่อให้เกิดหายนะ และถอยห่างจากคำว่าสันติภาพมากขึ้นเรื่อยๆ นักวิเคราะห์ในหลากหลายวิชาชีพ นักข่าว และหน่วยงานด้านสันติภาพต่าง กำลังเร่งกดดันให้ทั้งสองประเทศ รวมถึงองค์กรนาโต้ (NATO) หาแนวทางในการประนอมข้อพิพาทดังกล่าว เพื่อลดความเสียหาย และความขัดแย้งต่อไปในอนาคต