เปิดไทม์ไลน์ RPC ฝ่ามรสุม ก่อนจะ “เทิร์นอะราวด์”
บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ RPC (อาร์พีซี) บริษัทที่มีรายได้หลักมาจากธุรกิจพลังงาน เดินหน้าชูแผน “เทิร์นอะราวด์” (TURN AROUND) จับมือพันธมิตรลุยขยายสถานีน้ำมันแบรนด์ “เอสโซ่” (ESSO) ตั้งเป้า 100 สาขาใน 5 ปี พร้อมตั้งทีมรุกธุรกิจนอนออยล์ ยอมทุ่มพันล้านรุก 2 ธุรกิจ ‘พลังงาน-อสังหาฯ’
ข่าว/บทความ ที่เกี่ยวข้อง
THAC ขอเปิดไทม์ไลน์ จาก บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) สู่การเป็น บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ RPC ฝ่ามรสุมต่อสู้กับข้อพิพาททางธุรกิจ มุ่งมั่นขยายธุรกิจหลังจากเราเป็นพันธมิตรกับเอสโซ่ (ESSO) ชูแผน “เทิร์นอะราวด์” หวังธุรกิจเติบโต THAC จึงได้รวบรวมข้อมูลมาเป็นลำดับมาให้ดังนี้
ปี 2538 ก่อตั้งบริษัท “ระยองเพียวริฟายเออร์” ทำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน “เพียว”
8 สิงหาคม 2538 บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบ คอนเดนเสทเรสซิดิว กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ซึ่งผลิตโดยบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) โดยสัญญามีลักษณะเป็นสัญญาต่าง ตอบแทน ผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด (Evergreen Basis)
30 กันยายน 2552 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ได้ส่งจดหมายแจ้งขอยกเลิกสัญญาการซื้อขายวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิว กับ บริษัทฯโดยจะขอยกเลิกสัญญาเมื่อ อายุสัญญาครบ 15 ปี ในปี 2555 ซึ่งเป็นการแจ้งล่วงหน้าถึง 3 ปี บริษัทฯ ได้เชิญทางปตท.เข้า ร่วมหารือ เพื่อหาข้อสรุปที่ยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่าย มีการตีความในสัญญาแตกต่างกัน
3 ธันวาคม 2552 เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นให้ได้รับการรับรอง และคุ้มครองตามกฎหมาย บริษัท “ระยองเพียวริฟายเออร์” จึงได้ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด โดยได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่ออนุญาโตตุลาการ เพื่อให้องค์กรกลาง ร่วมพิจารณาหาข้อสรุป ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการหาข้อยุติที่ระบุไว้ในสัญญาในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย จะยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ โดยไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
1 กุมภาพันธ์ 2555 ปตท. หยุดส่งวัตถุดิบให้แก่ RPC ซึ่งถือว่าเป็นการผิดสัญญาข้อ 15.5 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในขณะที่เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุยาโตตุลาการนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการนั่นเอง
7 กุมภาพันธ์ 2555 RPC หยุดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบ
18 พฤษภาคม 2555 ปตท.(PTT) ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เพื่อเรียกร้องให้ RPC ชดใช้ค่าวัตถุดิบกากคอนเดนเสท (CR) งวดสุดท้าย
12 มิถุนายน 2555 ปตท. (PTT) ยื่นเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ให้ PRC ชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ตามสัญญาซื้อขายกากคอนเดนเสท ข้อ 15 ที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการ แต่ RPC ยังไม่ยอมชำระหนี้ในส่วนนี้เพราะถือว่า ปตท. (PTT) ผิดสัญญาเรื่องวัตถุดิบ ทำให้ RPC ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ทั้งเรื่องของการหยุดการผลิตอย่างไม่มีกำหนด การเลิกจ้างพนักงานเกือบทั้งหมดของบริษัท RPC จึงสิทธิ์ยืดหน่วงเงินค่าผลิตภัณฑ์นี้ไว้เป็นค่าเสียหาย และรอจนกว่าคณะอนุญาโตตุลาการจะตัดสินชี้ขาด
14 มิถุนายน 2555 RPC ได้รับหมายห้ามชั่วคราว จากศาลแพ่ง เหตุเพราะ ปตท. (PTT) ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างที่ดำเนินการกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงได้มีคำสั่งอายัดเงินจำนวนกว่า 400 ล้านบาท ที่ RPC จะจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจนกว่าศาลจะมีคำสั่งใหม่
22 มิถุนายน 2555 RPC ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราว
30 สิงหาคม 2555 ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวลงวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ทำให้ RPC สามารถดำเนินการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
7 มกราคม 2557 เปลี่ยนชื่อบริษัท จาก บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) เป็น “บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน)”
4 เมษายน 2559 ได้รับคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 25 มีนาคม 2559 โดยเสียงข้างมากมีคำชี้ขาดให้ ปตท. (PTT) ชำระค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญากับ RPC โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในจำนวนเงิน 390 ล้านบาทต่อปี พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จนถึงวันที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด (25 มีนาคม 2559)
9 พฤศจิกายน 2559 RPC ยื่นข้อเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เพื่อเรียกร้องให้ ปตท. (PTT) ชดใช้ค่าเสียหาย จากกรณีที่ ปตท. (PTT) ไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกากคอนเดนเสท และส่งวัตถุดิบที่มีค่ากำมะถันสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา
8 พฤษภาคม 2560 RPC ได้รับคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการลงวันที่ 27 เมษายน 2560 ในข้อเรียกร้องของ ปตท. เรื่องที่ เรียกร้องให้ RPC ชดใช้ค่าวัตถุดิบกากคอนเดนเสท (CR) งวดสุดท้าย โดยคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า ให้ RPC ชำระเงินจำนวนเงินกว่า 1500 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 9.375 ต่อปี คิดจากเงินต้น โดยนับถัดจากวันที่ยื่นเสนอข้อพิพาท (ยื่นวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ) ซึ่งจากคำชี้ขาดนี้ RPC ไม่เห็นด้วย จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ
19 กันยายน 2562 จากที่ ปตท. ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เรื่องที่ให้ปตท. (PTT) ชำระค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญากับ RPC โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ ปตท. ชำระค่าเสียหายให้แก่ RPC ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งทาง ปตท. (PTT) มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้
3 มกราคม 2563 RPC ได้รับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2562 โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าให้ ปตท. (PTT) ชำระค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญา ให้แก่ RPC เป็นจำนวนเงินกว่า 26.70 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย
ฟ้าหลังฝนย่อมงดงามเสมอ แม้ว่า RPC จะฝ่ามรสุมมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การที่ผลประกอบการของบริษัทที่กลับมา “เทิร์นอะราวด์” ได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 ก็นับว่าเป็นข่าวดีไม่น้อย เหคุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป สามารถติดตามได้ที่ www.thac.or.th
ที่มา
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920182