แคนาดา: การบังคับใช้ข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาคดีล้มละลาย
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาของแคนาดา (the Supreme Court of Canada) ได้มีคำตัดสินเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำตัดสินของศาลบริติชโคลัมเบียซึ่งมีความเกี่ยวพันกับต่อการบังคับใช้คำสั่งระงับข้อพิพาททางเลือกในกระบวนการล้มละลายของแคนาดาในคดี Petrowest Corporation v Peace River Hydro Partners, 2020 BCCA 339 โดยมีประเด็นสำคัญในเรื่องของการบังคับใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการต่อผู้พิทักษ์ทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยศาล (Court-Appointed Receiver) ซึ่งก่อนกระบวนการล้มละลายจะเริ่มขึ้น Peace River Hydro Partners (PHRP) ได้รับการจ้างช่วงจาก Petrowest สำหรับโครงการก่อสร้างโครงการพลังน้ำ และการดำเนินคดีนั้นเริ่มขึ้นในรัฐบริติชโคลัมเบียซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการ ซึ่งในที่นี้ผู้พิทักษ์ทรัพย์ได้แต่งตั้ง Ernst & Young Inc เป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์ของ Petrowest ภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลายและพื้นฟูกิจการของแคนาดาหรือ Canada’s federal Bankruptcy and Insolvency Act ซึ่งผู้พิทักษ์ทรัพย์นี้ได้สั่งให้บริษัทล้มละลายและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินในการล้มละลาย (Bankruptcy Trustee) ด้วย
ต่อมาผู้พิทักษ์ทรัพย์ได้เริ่มดำเนินการเรียกเงินที่ค้างชำระแก่ Petrowest ซึ่งจำนวนเงินที่เป็นหนี้นี้อยู่ในสัญญาที่แตกต่างกันหลายฉบับรวมไปถึงบางฉบับนั้นมีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ แต่ผู้พิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินกระบวนการบังคับชำระหนี้ดังกล่าวเพียงกระบวนยุติธรรมเพียงขั้นตอนเดียวเท่านั้นแทนที่จะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการ
อย่างไรก็ดีลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการของรัฐบริติชโคลัมเบียมาตรา 15 และกฎหมายล่าสุดซึ่งกฎหมายได้วางหลักว่าว่าหากคู่สัญญาในข้อตกลงอนุญาโตตุลาการเริ่มดำเนินการในศาล อีกฝ่ายอาจยื่นคำร้องต่อศาลนั้นให้อดำเนินการดำเนินคดีในศาล ตามมาตรา 15 ศาล “ต้อง” สั่งให้มีการพิจารณาโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป เว้นแต่จะพบว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ ใช้ไม่ได้ผล หรือไม่สามารถดำเนินการได้ โดยเป็นการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อรอการพิจารณาของศาลเมื่อข้อพิพาทนั้นอยู่ภายใต้ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ซึ่งผู้พิทักษ์ทรัพย์นั้นได้ทำการโต้แย้งคำร้องดังกล่าวและยืนยันว่าศาลควรใช้อำนาจและดุลยพินิจตามเขตอำนาจศาลเพื่อพิจารณาคดี
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
คำตัดสินของศาล
ศาลชั้นต้นนั้นได้พิพากษาว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาหลากหลายประเภทนั้นไม่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากเงินจำนวนมากจะตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยง อีกทั้งเงินจำนวนมากนั้นก็มีดอกเบี้ย อีกทั้งกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการหลายครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูง และกระบวนการล้มละลายจะไม่สามารถเริ่มได้จนกว่าข้อพิพาทนั้นจะได้รับการตัดสินซึ่งความแตกต่างในค่าใช้จ่ายและเวลาที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการหลายครั้งมีความสำคัญมาก การดำเนินการผ่านอนุญาโตตุลาการจะไม่ยุติธรรมต่อเจ้าหนี้และขัดต่อวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติล้มละลายและฟื้นฟูกิจการของบริติชโคลัมเบีย
ต่อมาผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์บริติชโคลัมเบีย ซึ่งผู้พิทักษ์ทรัพย์ที่ศาลได้โต้แย้งว่า ผู้พิทักษ์ทรัพย์ไม่มีข้อผูกพันตามสัญญาของบริษัทลูกหนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ถูกผูกมัดโดยหรือคู่สัญญาของอนุญาโตตุลาการซึ่งใช้บังคับและยังอุทธรณ์ด้วยว่า เนื่องจากผู้พิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาอนุญาโตตุลาการ สัญญาอนุญาโตตุลาการจึงใช้การไม่ได้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้ทำการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น แต่ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้พิทักษ์ทรัพย์/ทรัสตีนั้นได้ปฏิเสธข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ดังนั้นสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นจึงเป็นโมฆะและไม่สามารถดำเนินการได้ และศาลศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ผู้รับ/ทรัสตีบังคับตามสัญญาของลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาเหล่านั้นด้วย
Doctrine of Separability
ในกฎหมายของแคนาดานั้น หลักคำสอนเรื่องการแยกออกจากกันหรือ Doctrine of Separability นั้นศาลเห็นว่าข้อตกลงในสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นสัญญาที่แยกออกจากสัญญาหลัก โดยที่ศาลนั้นมองว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการนั้นได้รับการยอมรับมานานแล้วว่าไม่ได้เป็นเพียงเงื่อนไจของสัญญา แต่เป็นสัญญาที่แยกโดยอิสระ (“This raises for consideration the doctrine of separability, by which arbitration clauses have long been recognized as forming not simply a term of the contract, but an independent agreement”.) ซึ่งมีตัวอย่างที่เห็นได้จากศาลฎีกาของแคนาดาใน Uber Technologies Inc. v Heller ซึ่งศาลแคนาดากล่าวว่าอนุญาโตตุลาการนั้น “เป็นอิสระจากการพิจารณาคดี” จากสัญญาหลัก
ที่มา:
- https://globalarbitrationnews.com/canada-enforceability-of-arbitration-clauses-in-insolvency-proceedings/
- https://ca.practicallaw.thomsonreuters.com/0-502-1672?transitionType=Default&contextData=(sc.Default)&firstPage=true
- https://www.blg.com/en/insights/2021/06/is-a-receiver-bound-by-an-arbitration-agreement
- https://insolvencyinsider.ca/petrowest-corporation-v-peace-river-hydro-partners-2020-bcca-339/
- https://urbas.ca/?p=2820
- https://www.thelawyersdaily.ca/articles/23672/administration-of-estate-receivers-duties-and-powers