โอกาส ความท้าทาย และข้อกังวลในแง่ของข้อพิพาท หากประเทศไทยเข้าร่วม CPTPP
จากการรายงานข่าวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ถึงความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะผลักดันประเทศเข้าสู่ภาคความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) แม้จะมีการออกแสดงถึงความกังวล และคัดค้านของภาคประชาชนตลอดมา ตลอดจนมีการออกมารวมตัวอีกครั้ง พร้อมลายชื่อของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกว่า 400,000 ราย
ทั้งนี้ CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ การค้าเสรีในด้าน การค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐาน รวมถึงการวางกฎระเบียบร่วมกันของประเทศสมาชิก
ล่าสุด กมธ.พาณิชย์ฯ จัดประชุม 3 ฝ่ายระหว่าง กมธ. ภาคเอกชน และนักวิชาการอิสระที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ โดยผลการประชุมคณะจากภาคเอกชนสนับสนุนให้มีการเจรจาเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าว โดยชี้ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดึงดูนักลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกันในภูมิภาค แต่กระนั้นรัฐบาลไทยควรจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกังวลต่างๆ อาทิ การปรับปรุงกฎหมายในประเทศ การเตรียมนโยบายรองรับการปรับตัว แนวทางการเจรจา หรือการระงับข้อพิพาท ใน 8 ประเด็นหลัก ได้แก่
1. เกษตรและพันธุ์พืช
2. การแพทย์และสาธารณสุข
3. การค้าสินค้าการค้าบริการ และการลงทุน
4. กลไกการระงับข้อพิพาท (ระหว่างรัฐกับรัฐ และเอกชนกับรัฐ)
5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
6. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและรัฐวิสาหกิจ
7. แรงงาน
8. การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ด้านการวิเคราะห์จากฝั่งนักวิชาการอิสระนั้น มองว่าเนื่องด้วยปัจจัยแทรกที่สำคัญอย่างการแพร่ระบาดจากโรคโควิด-19 นั้นส่งผลให้แนวโน้มทางการค้าเปลี่ยนไป ห่วงอุปทานสั้นลง แต่การร่วมมือของสาธารณรัฐ ประชาชนจีนและจีนไทเปนั้น จะส่งเสริมให้กลุ่มสมาชิกเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ทั้งในมิติการลงทุน การค้า ทรัพยากร และเทคโนโลยี เป็นต้น แต่กระนั้นข้อสังเกตของนักวิชาการ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาคเอกชน ก็คือการปรับตัวฏหมายในประเทศ ระเบียบ และนโยบายที่สอดคล้องกับการลงทุน และยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกฝ่าย
ด้วยเหตุนี้ขอกังวลต่างๆ ที่ทั้งฝ่ายเอกชน และฝ่ายนักวิชาการอิสระ เห็นตรงกัน ก็คือเป็นสิ่งที่ FTA Watch ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้
1. การเข้าร่วมภาคี CPTPP นั้นจะต้องยอมรับข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ โดยข้อสังเกตุคือการลงนามนี้จะตัดสิทธิพื้นฐานของเกษตรกรในการเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อในฤดูกาลถัดไป และย้ายสิทธิดังกล่าวไปยังบริษัทรายใหญ่ต่างๆที่เข้ามาลงทุนในประเทศ
2. โครงการ CPTPP จะทำให้ประเทศไทยต้องยอมรับการนำเข้าสินค้าที่ปรับสภาพเป็นของใหม่ (remanufactured goods) เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ ขยะพลาสติก ซึ่งก่อให้เกิดข้อกังวลช่องโหว่ในการนำเข้าสิ่งเหล่านี้ในรูปแบบขยะ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
3. การคุ้มครองนักลงทุนชาวต่างชาติที่มากเกินไป หรือกล่าวคือหากประเทศไทยมีการออกกฎหมาย รวมถึงข้อบังคับใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนชาวต่างชาติ โดยมีคณะอนุญาโตตุลาการชาวต่างชาติเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาท ซึ่งหากไม่มีกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือก หรือการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทยที่ดี และเข้มแข็งมากพอ หรือหากรัฐบาลไทยเป็นผู้แพ้ในคำชี้ขาดเหล่านั้น อาจส่งผลให้ประชาชนต้อวเจียดเงินภาษีในการชำระค่าปรับต่างๆได้
4. สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ไม่ได้เป็นการรักษาสิทธิของประชาชนในประเทศที่มากพอ อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในด้านต่างๆ นอกเหนือจากภาคเกษตรกรรม เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาด้านยารักษาโรค เพราะต้องนำเข้ามากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนมีราคาสูง และสร้างความเหลื่อมล้ำแก่ ประชาชนรอบด้าน