
“Apple” ยื่นเรื่องถึง “อนุญาโตฯ มอสโก” กรณีข้อพิพาททางธุรกิจ” ต่อรัฐบาลรัสเซีย

สำนักข่าวรอยเตอร์ ประจำกรุงมอสโค ณ สหพันธรัฐรัสเซีย ได้เปิดเผยว่าบริษัท “บริษัทแอปเปิ้ล” เจ้าของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชื่อดัง ได้เริ่มดำเนินการทางกฎหมายกับหน่วยงานกำกับดูแลต่อต้านการผูกขาดของรัสเซีย (Anti-Monopoly Regulator) ในข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม แอปสโตร์ (App Store) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา
เหตุการณ์ทั้งหมดสืบเนื่องมาจากทางการรัฐบาลรัสเซีย ใช้มาตรการต่อต้านการผูกขาดทางการค้า และการชำระเงินกับบริษัท Apple เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลต่อประเด็นดังกล่าวว่าบริษัทแอปเปิ้ล ไม่อนุญาตให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น แจ้งต่อลูกค้าถึงตัวเลือกอื่นๆในการชำระเงินนอกเหนือจากแอปสโตร์ (App Store) และชี้แจงเพิ่มเติมว่าทางบริษัทอาจต้องเสียค่าปรับตามรายได้ในรัสเซียหากพบว่ามีความผิดจริง
ส่งผลให้บริษัทแอปเปิ้ลได้ทำการยื่นคำร้องที่ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยคณะอนุญาโตตุลาการแห่งกรุงมอสโกระบุว่า “Apple” เป็นผู้เรียกร้อง และหน่วยงานการต่อต้านการผูกขาดของรัฐบาลรัสเซีย (Federal Anti-monopoly Service (FAS)) เป็นจำเลยในข้อพิพาท “เศรษฐกิจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายในการบริหาร”
ทั้งนี้ บริษัทแอปเปิ้ล ปฏิเสธการให้ความเห็นใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ แต่ก็มีรายงานว่า ทางบริษัทฯ มีการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนี้เพิ่มเติมจากการรายงานของสำนักข่าวท้องถิ่นอย่าง RIA (Novosti) แต่กระนั้นหน่วยงาน FAS ของรัฐบาลรัสเซีย ก็ได้เปิดเผยว่าการยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทดังกล่าวนั้น เกี่ยวข้องกับการออกจดหมายเตือนของหน่วยงาน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรณีที่บริษัทแอปเปิ้ล ไม่ยอมให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มว่า พวกเขาสามารถชำระเงินได้ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้นอกเหนือจาก แอปสโตร์ (App Store)
อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทดังกล่าวที่ทางบริษัทแอปเปิ้ลต้องเผชิญ นั้นไม่ใช่ครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้พวกเขาก็ต้องเผชิญกับข้อพิพาทในลักษณะเดียวกันที่สหรัฐอเมริกาฝนช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางออกคำตัดสินที่บังคับให้บริษัทอนุญาตให้นักพัฒนาแจ้งลูกค้า และผู้ใช้งานว่าสามารถชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่านโยบายดังกล่าวของแอปเปิ้ลถือเป็นการผูกขาดทางการค้า หรือแท้จริงแล้วเป็นสิทธิโดยชอบธรรมทางการค้าของแอปเปิ้ลที่เลือกเฉพาะช่องทางการจำหน่ายเงินของตนเอง