ขอบเขตของผู้รับมอบอำนาจชาวต่างชาติตามกฎหมายใหม่
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดคำถามกับชาวต่างชาติที่ได้รับหนังสือรับรองตามพระราชบัญญัติอนุญาตุลาการ พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 (ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) ว่าด้วยเรื่องใบอนุญาตทำงาน“สามารถถามและตอบคำถามในชั้นพิจารณาของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ” ได้หรือไม่ ?
ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความไม่ชัดเจนว่า ผู้รับมอบอำนาจชาวต่างชาติไม่ทราบขอบเขตและอำนาจที่แน่นอนของตน ว่าจะสามารถสอบถามข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทจากพยานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ อย่างไร?
THAC จึงได้มีหนังสือส่งไปยังกรมจัดหางาน เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าว
และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 กรมการจัดหางานได้มีหนังสือตอบข้อซักถามกลับมาความว่า “หากผู้รับมอบอำนาจได้ตั้งทนายความสัญชาติไทยเป็นผู้ว่าต่างแก้ต่างในคดีแล้ว ผู้รับมอบอำนาจก็สามารถสอบถามข้อเท็จจริงจากพยานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีอนุญาโตตุลาการได้โดยชอบ โดยถือเป็นการกระทำแทนตัวความภายใต้ขอบเขตของหนังสือมอบอำนาจและเงื่อนไขในหนังสือรับรองที่ได้ออกจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ”
บทสรุปจากกรณีดังกล่าว ก็ทำให้เกิดความแน่นอนและชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจชาวต่างชาติ และยังสามารถป้องกันการโจมตีทางคดีโดยอาศัยประเด็นดังกล่าวได้อีกนัยยะหนึ่่งก็ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการทำงานของทนายความสัญชาติไทย เพราะว่ามีการกำหนดเป็นเงื่อนไขในหนังสือรับรองว่าให้มีการแต่งตั้งทนายความสัญชาติไทยเอาไว้ จึงจะสามารถซักถามหรือสอบถามข้อเท็จจริงจากพยานหรือบุคคล
ที่เกี่ยวข้องในคดีอนุญาโตตุลาการได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นมาตรการที่ปรากฎในต่างประเทศ เช่นเขตบริหารพิเศษฮ่องกงที่เปิดโอกาสให้ทนายความชาวต่างประเทศเป็นที่ปรึกษากฎหมายในคดีอนุญาโตตุลาการได้โดยต้องมีทนายความในประเทศร่วมด้วย ในลักษณะของ Co-counselling เป็นต้น
ชุดตัวอย่างเอกสารที่จะได้รับจาก THAC
แบบคำขอหนังสือรับรองสำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย