การจำแนกประเภทของอนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 3
ตัวอย่างการของคำตัดสินอนุญาโตตุลาการ
สำหรับสหรัฐอเมริกา การจำแนกประเภทนี้ได้รับการพัฒนาไปแนวเดียวกับประเทศฝรั่งเศส จะเห็นได้จากกรณี Bergesen เป็นข้อพิพาทระหว่างเจ้าของเรือชาวนอร์เวย์และบริษัทสวิส ถูกอนุญาโตตุลาการชี้ขาดที่เมืองนิวยอร์ก และได้นำคำชี้ขาดไปบังคับใช้โดยศาลของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่ฝ่ายที่ถูกบังคับไม่ทำตาม มีข้อโต้แย้งและปฏิเสธในคำชี้ขาดเหล่านั้น ทำให้เกิดความล่าช้าออกไป จนคดีความยืดเยื้อนานถึง 3 ปี คำชี้ขาดเหล่านั้นมีผล เมื่อได้ให้ศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บังคับ จากกรณีนี้ศาลในประเทศสหรัฐได้ทำการบังคับตามคำชี้ขาดภายใต้อนุสัญญากรุงนิวยอร์ก แม้ว่าเรื่องจะเกิดขึ้นในประเทศของตนก็ตาม แต่เนื่องด้วยคู่กรณีได้เลือกให้อนุญาโตตุลาการที่เมืองนิวยอร์กเป็นผู้ชี้ขาด ดังนั้นข้อพิพาทก็ยังคงมีลักษณะในระหว่างประเทศ
จากข้อความสรุปได้ก็คือ รัฐภาคีมีหน้าที่ในการยอมรับความสมบูรณ์ในข้อตกลงที่มีการมอบอำนาจให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ตัดสิน ไม่ว่าอนุญาโตตุลาการนั้นจะอยู่ในประเทศใด และคู่กรณีไม่ได้อยู่ในประเทศที่ทำการชี้ขาดก็ตาม แต่ทั้งนี้ต้องมีสัญชาติเป็นรัฐภาคี ซึ่งรัฐภาคีนั้นจะอ้างว่าคู่กรณีเป็นชาวต่างชาตินั้นไม่ได้ สำหรับการชี้ขาดทำขึ้นในประเทศใดก็ให้ถือว่าเป็นอนุญาโตตุลาการของประเทศนั้น ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือการใช้หลักดินแดนในการแยกประเภทของอนุญาโตตุลาการ
สรุปได้เลยว่าจะสามารถบังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อ คำชี้ขาดเหล่านั้นได้เป็นไปตามเงื่อนไขขอข้อกำหนดที่มีไว้ในอนุสัญญา ส่วนข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และวิธีการอื่นๆนั้นให้เป็นไปตามกฎหมายของรัฐภาคีที่มีการร้องขอให้ทำการบังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ดังนั้นจึงถือว่าใช้หลักดินแดนเช่นเดียวกัน
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศนั้นคือคำชี้ขาดที่ทำขึ้นในประเทศอื่นไม่ใช้ประเทศที่มีการร้องขอให้บังคับใช้