การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 4
อนุญาโตตุลาการเปรียบเทียบกับการยอมความ
การยอมความคือ การยุติข้อพิพาทให้เกิดขึ้นโดยต่างฝ่ายต่างยอมซึ่งกันและกัน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอนุญาโตตุลาการ ด้วยลักษณะเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า การยอมความนั้นคืออนุญาโตตุลาการ แต่สำหรับความเป็นจริงแล้วนั้น การยอมความนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกที่มาทำหน้าที่เป็นคนกลางแต่อย่างไร เพียงแค่เป็นเรื่องของต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เรื่องที่คอยแข่งขัน หรือต้องการการตัดสินเรื่องแพ้ชนะ ส่วนอนุญาโตตุลาการนั้นมีการแต่งแต่งตั้งคนกลางในการชี้ขาดในข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นการพุดคุยโดยส่วนตัว เพื่อปรับความเข้าใจหรือทำการต่อรองกันเอง ซึ่งที่ได้พูดมานั้นไม่ได้หมายความว่าระหว่างอนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีนั้นคู่กรณีทั้งสองจะไม่สามารถยอมความกันได้
อีกจุดหนึ่งที่บอกอย่างชัดเจนเลยว่าการยอมความไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญญา เพราะเมื่อมีการตกลงยอมความกันอย่างลงตัวแล้ว กฎหมายก็จะกำหนดให้ข้อเรียกร้องเหล่านั้นระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละคนที่เกิดการขัดแย้งกันในข้างต้นได้สิทธ์ตามที่ได้มีระบุในสัญญาว่าเป็นของตนนั่นเอง ส่วนอนุญาโตตุลาการแม้ว่าจะต้องพึ่งพาสัญญาของคู่กรณีเป็นพื้นฐาน แต่อย่างไรก็ตามลักษณะการตัดสินหรือชี้ขาดนั้นจะต้องดำเนินการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยข้อชี้ขาด ซึ่งผลที่ออกมาถือว่าเป็นที่ยุติและผูกพันธ์คู่กรณี