
อนุญาโตตุลาการผ่าน AI ยอมรับและบังคับใช้ได้จริงหรือไม่?

คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการโดยระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถได้รับการยอมรับและบังคับใช้ได้จริงหรือไม่? การวิเคราะห์จากทัศนคติของนโยบายสาธารณะ
ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI สามารถนำมาใช้ในการตัดสินได้จริงหรือไม่ เป็นหัวข้อที่ทันสมัยแต่กฎของอนุญาโตตุลาการก็ยังคงนิ่งเฉยยังไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติความเป็นมนุษย์ของอนุญาโตตุลาการ นโยบายสาธารณะระบุไว้ในอนุสัญญาที่ว่าด้วยการยอมรับและการบังคับใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (นิวยอร์ก,2501) นั้น ปฏิเสธคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการโดยหากคำชี้ขาดนั้นขัดแย้งกับนโยบายสาธารณะ ที่ถูกมองว่าคลุมเครือและยากที่จะระบุความชัดเจน แต่เพื่อการเอาชนะปัญหาและความไม่เอื้ออำนวยนี้ โดยการใช้แนวความคิดของโลกาภิวัตน์ปรากฏขึ้นในฐานะปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดทางการเมือง วัฒนธรรม กฎหมายและอุดมการณ์ ค่านิยมสากลที่แพร่หลายในสังคมโลกส่งผลกระทบต่อการประเมินนโยบายสาธารณะนานาชาติ การมีอยู่ของค่านิยมสากลจึงเป็นเหตุทำให้มีการตัดสินใจที่ได้รับการยอมรับจากประเทศส่วนใหญ่ ภายในค่านิยมหลักอิสระของคู่สัญญามีความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นรากฐานที่สำคัญของอนุญาโตตุลาการที่สะท้อนให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพากันโดยมีเงื่อนไขที่ต้องเคารพหลักการสำคัญของศุภนิติกระบวน
AI ที่ใช้ในการตัดสินใจยังคงอยู่ในระยะแรกเริ่มเท่านั้น จึงเป็นอุปสรรคในการยอมรับหรือการบังคับชี้ขาดที่ได้จากระบบ ทิศทางการใช้ระบบ AI เป็นอนุญาโตตุลาการนั้น ต้องมีบรรทัดฐานที่ชัดเจน การบูรณาการ AI เข้ากับระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ควรมีคำจำกัดความเสนอให้เป็นทางเลือกโดยการสร้างกรอบทางกฎหมายที่ล้ำยุคสำหรับอนุญาโตตุลาการ โดย AI มีวัตถุประสงค์เป็นเครื่องมือพลวัตมากขึ้นที่สามารถปรับเปลี่ยนบทบัญญัติของอนุสัญญาให้สอดคล้องกับระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศกับการบังคับใช้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดยศาลใรประเทศ จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาและควบคุม AI โดยคำนึงถึงความยุติธรรม และประสิทธิภาพเป็นหลักสำคัญ