การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 3
ความแตกต่างระหว่างอนุญาโตตุลาการกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับใครที่เข้าใจว่า artibres – rapporteure เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับอนุญาโตตุลาการนั้น วันนี้เปลี่ยนความคิดไปได้แล้ว เพราะได้รับการรับรองจาก ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลได้ตั้งขึ้นมาในการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีนั้น ต่างเห็นพร้อมด้วยกันว่า artibres – rapporteure ไม่ใช่อนุญาโตตุลาการ เพราะไม่ได้ผูกพันธุ์คู่กรณี และศาลเองก็เห็นด้วยกับความเห็นเหล่านั้น
ในด้านการค้าขายนั้น เมื่อได้มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของสินค้า หรือการทำงาน ก็อาจมีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญไปยังจุดเหล่านั้น เพื่อทำการไปตรวจสอบว่าเป็นไปตามกำหนดที่ได้สัญญาไว้หรือไม่ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีอำนาจในการวินิจฉัยว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นมา หรือไม่เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้จะส่งผลอะไรที่ตามมาบ้าง ซึ่งบางครั้งไม่เพียงแต่ตรวจสอบคุณภาพเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญเองมีอำนาจในการปรับราคาให้ลดลงได้อีกด้วย เมื่อเห็นว่าคุณภาพของสินค้าตัวนั้นต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา หรือผิดเพี้ยนไปจากที่ได้ทำการตกลงกันไว้
จากที่ได้บอกมานั้นบางคนอาจคิดว่าเพียงกรณีแรกเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญ แต่กรณีหลังเป็นเรื่องของอนุญาโตตุลาการแล้ว มุมมองเหล่านี้คิดได้เพียงว่า ผู้เชี่ยวชาญนั้นเปรียบเสมือนคนกลางที่มาทำการยุติในข้อขัดแย้งของคุณภาพของสินค้า ก็ถือว่าผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นอนุญาโตตุลาการแล้ว ถึงแม้ว่าความเห็นเหล่านั้นจะเป็นเพียงข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นข้อกฎหมายก็ตาม เนื่องจากสามารถทำให้คู่กรณีที่เกิดความขัดแย้งกันยุติลง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับกรณีที่ได้พูดถึงไม่ได้ถือว่าเป็นอนุญาโตตุลาการ และเป็นคำชี้ขาดอย่างที่เข้าใจแน่นอน เพราะหากเป็นข้อยุติ หรือชี้ขาด อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ เพราะตามกฎหมายได้ให้อำนาจศาลในการทบทวนคำชี้ขาดเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายนั่นเอง สำหรับบางประเทศนั้นไม่ได้เรียกคนกลางที่มีอำนาจในการชี้ขาด หรือตัดสินอย่างแน่นอน เพราะเขาเชื่อว่าการที่จะเรียกได้อนุญาโตตุลาการนั้นจะต้องมีทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตามสำหรับหลายๆประเทศต่างเห็นควรว่าหากข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเป็นไปตามคำชี้ขาดของคนกลาง ทำให้เกิดการยุติและผูกพันได้นั้นก็สามารถเรียกว่าอนุญาโตตุลาการได้ แต่หากไม่ได้ยุติจัดว่าเป็นเรื่องของความเห็นคนกลาง ส่วนประเทศไทยให้ความหมายเพียงว่าอนุญาโตตุลาการหากเกี่ยวกับปัญหาข้อเท็จจริงก็สามารถทำได้ แต่ถ้ามีข้อกฎมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั้นถือว่าได้ทำเกินขอบเขตจากที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลก็เท่านั้นเอง