การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 1
สำหรับทุกวันนี้ความคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้พัฒนาไปมากแล้ว ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเอกชนด้วยกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า สามารถที่จะนำมาใช้ในสัญญา หรือยึดเป็นหลักทางการค้า แวดวงธุรกิจได้ ซึ่งเอกชนเองสามารถที่จะทำการตกลง หรือทำสัญญาได้หลายๆเรื่อง เมื่อเกิดปัญหาทีไม่สามารถตกลงกันได้เรียกกันว่า ข้อพิพาท ขึ้นมานั้นก็สามารถที่จะหาจุดยุติได้โดยอาศัยคนกลางมาทำการตัดสิน วิธีการอนุญาโตตุลาการนี้จะมีข้อดีกว่าการขึ้นศาล เพราะจะไม่ต้องเสียเวลา ไม่อาย มีความยืดหยุ่น อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการดำเนินเรื่องในชั้นศาลอีกด้วย
ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น จากลักษณะของอนุญาโตตุลาการโดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดจากการผิดสัญญาของคู่สัญญา ที่ได้ทำไว้อย่างสมัครใจเท่านั้น จากกฎหมายของประเทศแล้วไม่นิยมนำมาเพื่อเป็นการยุติ หรือตัดสินในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงกันไว้ระหว่างคู่กรณี ซึ่งเรียกว่า compulsory arbitration แต่กลับตรงกันข้าม เพราะเป็นเรื่องของเสรีภาพของการทำสัญญา ซึ่งกฎหมายก็ได้ปล่อยให้มีการจัดการ หรือตกลงอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามสัญญาเหล่านั้นก็จะมีขอบเขต มีการระบุว่ามีข้อพิพาท หรือขัดแย้งอะไรบ้างที่สามารถจัดการ หรือยุติด้วยอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งในข้อพิพาทที่ทางอนุญาโตตุลาการจะเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นจะเป็นเรื่องของความสงบ ศีลธรรมที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น ในประเทศไทยได้ตีความหมายในมุมกว้างว่าการที่จะยุติ หรือระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการนั้นจะต้องเป็นข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาททางแพ่งเท่านั้น
จากข้างต้นที่ว่าอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างนั้นต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของสัญญาที่ได้ร่วมกันทำหรือตกลงกันไว้ ซึ่งทางกฎหมายถือว่าเป็นนิติกรรม
ไม่เพียงเท่านี้ เพราะอนุญาโตตุลาการนั้นไม่ได้มีบทบาท หรือเกี่ยวข้องกับสัญญาเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อเกิดข้อพิพาท หรือเหตุต่างๆที่ขัดแย้งกันนั้น จะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากศาลในกระบวนการวินิจฉัย และการชี้ขาดจากในข้อพิพาทเหล่านั้นเช่นกัน ไม่สามารถแยกออกมาได้โดยเด็ดขาด จึงตัดไปได้เลยสำหรับความคิดที่ว่าจะทำให้อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการพิจารณาคดีที่มีรูปแบบเป็นเอกชนอย่างเต็มตัว อย่าลืมไปเสียว่าอนุญาโตตุลาการก็เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมนั่นเอง