อนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 2
หลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการ
หากจะให้พูดถึงหลักเกณฑ์ของคำว่าอนุญาโตตุลาการนั้น ต้องนึกถึงหลักการทั่วๆไปเลย แต่สำหรับของต่างประเทศจะมีความแตกต่างกว่าเราก็ตรงที่จะอิงหลักกฎหมาย แม่บท หรือพระราชบัญญัติต่างๆที่ชัดเจน จะมีการกล่าวถึงเฉพาะแต่สาระที่สำคัญ และได้จัดทำสัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นหนังสือเพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่มีปัญหากัน ซึ่งในสัญญาเหล่านั้นจะมีการระบุที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคำชี้ขาด หรือจะเป็นการปรับ ซึ่งจะมีการเขียนไว้ในกฎหมายแม่บท สำหรับการพิจารณาหรือข้อตัดสินจริงๆนั้นจะเป็นแค่เรื่องของคู่ความ หรือคุณสัญญาที่ได้ทำการตกลงกันเองเพียงเท่านั้น
สำหรับต่างประเทศจะมีสถานบันที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศอังกฤษ หรืออเมริกาซึ่งกระบวนการ การออกกฎ และวิธีการพิจารณานั้นไม่ต่างไปจากเราสักเท่าไหร่นัก แต่ประมวลที่ทำไม่ได้เป็นกฎหมายเลย และจัดทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับคู่สัญญาเท่านั้นซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไข้ได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญาได้ทำการตกลง แต่มีการระบุที่ชัดเจนเหมือนเดิม รวมไปถึงภาษาที่ใช้ สถานที่ที่ใช้ในการตกลง และกฎหมายที่จะใช้บังคับ เหตุผลที่ต้องการตกลงกันไว้นั้นเพราะเนื่องจากเป็นสองสัญชาติที่ได้ดำเนินการร่วมกันอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องภาษา ดังนั้นการระบุเอาไว้เพื่อเป็นทางแก้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มานั้นคือจะไม่ค่อยเป็นประเด็นโต้เถียงกันมากนัก เพราะได้ชัดเจนจากหลักฐาน หากเป็นคนประเทศเดียวกัน ภาษาเดียวกันนั้นเรื่องนี้หมดห่วงไปได้เลย
แล้วทำไม่ศาลได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เป็นเพราะว่า โดยทั่วไปแล้วหลักการของอนุญาโตตุลาการไม่ได้เป็นกฎหมาย จึงจำเป็นที่จะต้องให้ศาลได้เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการนั้นจะสามารถดำเนินการได้คำตัดสินเหล่านั้นจะต้องผ่านศาลเสียก่อน
122สำหรับอนุญาโตตุลาการบางกรณีไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยศาลให้เข้ามาช่วยในการดำเนินการได้อย่างคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น”