อนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 1
ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการนั้นมี 2 รูปแบบ คืออนุญาโตตุลาการไทยแท้ และอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน
อนุญาโตตุลาการนั้นมีความหมายว่าคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน หรือเป็นผู้ชี้ขาดในความขัดแย้งเหล่านี้ ซึ่งผู้ที่ได้ทำการจัดตั้งขึ้นมานั่นคือคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยที่ศาล หรือภาครัฐไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างไรเลย หากเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงมากนัก สามารถที่จะยอมความกันได้ ทางผู้ตัดสินเองก็จะเกลี่ยกล่อมให้เกิดการยอมความกัน
อนุญาโตตุลาการนั้นมีมานานแล้วไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ จากเมื่อก่อนนั้นมีความขัดแย้งกัน ก็จะสรรหาคนกลางเพื่อมาทำการตัดสิน ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพและความนับถือของทั้งสองคู่กรณีทั้งสอง และคู่กรณีเองก็จะให้ความเคารพในคำตัดสินเหล่านั้น และนี่คือสิ่งที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวง ให้เราได้ทำการศึกษากัน
หลักการพื้นฐานของอนุญาโตตุลาการนั้น หากจะทำความเข้าใจอย่างง่ายๆนั้นก็จะแปลว่าสัญญา ซึ่งได้มีการจัดทำ หรือการตกลงไว้ จะมีผลเมื่อได้มีการตกลงเสร็จสิ้น ซึ่งจะไม่เคร่งครัด หรือมีกฎเกณฑ์ที่ไม่มากมายนัก
อนุญาโตตุลาการในกฎหมายนั้นมี 2 ประเภทได้แก่ คนที่ทำการสอบสวน คนที่ตัดสินซึ่งสามารถทำการชี้ขาดได้เลย และมีคนที่นั่งฟังคำตัดสิน หากเป็นทางกฎหมายจะเรียกว่าประธานอย่างละคน แต่ถ้ากว่านั้นให้ทำการลงมติแล้วถือเสียงข้างมากคล้ายๆกับการเลือกตั้งนั่นเอง
ในมุมมองของศาล มักจะมองว่าอนุญาโตตุลาการเป็นคู่แข่ง เพราะเห็นว่าการตัดสินหรือการชี้ขาดนั้นไม่สามารถเชื่อถือได้ และมีความเห็นไม่ตรงกันเท่าที่ควรนัก เพราะอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการไกล่เกลี่ยให้เกิดการยอมความกัน หากเห็นว่าเหตุการณ์สงบก็เป็นอันว่าคดีเหล่านั้นเป็นโมฆะ
…รอพบกับตอนต่อไปนะค่ะ