ความหมายของคำว่าอนุญาโตตุลาการ ตอนที่ 2
อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องการสัญญา และการตัดสิน ชี้ขาดในข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาท
จากข้างต้นที่ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องของสัญญานั้น ก่อนอื่นเลยนั้นต้องเข้าใจก่อนว่าอนุญาโตตุลาการนั้นเกิดได้เพราะว่าความต้องการหรือการสมัครใจของทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะระงับหรือยุติข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากความไม่ลงตัวอะไรก็ตาม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำนิติสัมพันธ์บางอย่างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเช่าบ้าน รถ เป็นต้น แล้วเกิดความไม่ลงรอยกัน หรือเกิดการขัดแย้งกัน ซึ่งทั้งคู่สามารถดำเนินการด้วยการฟ้องศาลได้ แต่หากไม่ต้องการให้เป็นเรื่องที่บั่นทอนจิตใจ หรือทำลายความสัมพันธ์อันดี ทำให้เสียชื่อเสียง ต่างๆ นานา ก็สามารถทำการตกลงยุติข้อขัดแย้งเหล่านั้นด้วยการหันไปพึ่งอนุญาโตตุลาการ หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งการตกลงนี้อาจทำขึ้นพร้อมๆ กับการทำนิติสัมพันธ์ก็เป็นไปได้ หรือไม่ก็สามารถทำการตกลงได้ในภายหลังจากเกิดข้อพิพาทและความขัดแย้งก็ได้
ซึ่งที่เกิดข้อพิพาทเองจะสามารถเลือกบุคคลภายนอกได้เอง(ผู้เป็นคนกลาง) โดยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งบุคคลคนนี้ต้องมีความเป็นกลาง แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้นไม่ตกลงหรือคัดค้านการชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการหรือไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของศาล จะบังคับให้อนุญาโตตุลาการมาชี้ขาดโดยที่อีกฝ่ายไม่ยอมรับไม่ได้
ความคิด (concept) ข้อตกลงใดๆ ที่ได้กำหนดไว้แล้วในสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติตาม ซึ่งหลักการนี้ก็เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมสัญญาอยู่แล้ว อีกประการหนึ่งหัวใจของกฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญาก็คือ ความซื่อสัตย์ไว้วางใจ ดังนั้น เมื่อคู่กรณีได้ตกลงกันไว้แล้วว่า จะให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ สัญญานี้ก็ควรที่จะได้รับการเชื่อถือและไว้วางใจ และคู่สัญญาก็ควรที่จะปฏิบัติตามด้วยความซื่อสัตย์สุจริต