Belt & Road Initiative กับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ (1)
Belt & Road Initiative คืออะไร
โครงการ Belt & Road Initiative (BRI) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า One Belt One Road นั้นเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศจีนซึ่งประกาศเปิดตัวโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพื่อเป็นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศจีนกับบรรดาประเทศต่าง ๆ ในที่อยู่ในเส้นทางระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 60 ประเทศ ในเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกาตะวันออกและเหนือ เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าและการคมนาคมข้ามแดน โดยเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมตั้งแต่เส้นทางถนน ทางรถไฟ โทรคมนาคม ท่อส่งน้ำมัน และท่าเรือ ในฐานะยุทธศาสตร์ทางการค้าใหม่ Belt & Road Initiative นั้นเป็นความพยายามเพิ่มบทบาทของจีนในเวทีโลก ผ่านมาตรการสนับสนุนการลงทุนระหว่างประเทศของรัฐบาลจีนที่ได้ดำเนินการมาอย่างยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโครงการ Belt & Road Initiative นั้นจะนำพาโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพาณิชย์ไปสู่ประเทศต่าง ๆ แต่การดำเนินการเหล่านี้ย่อมต้องอาศัยการจัดการที่ดี อีกทั้งยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศได้
การอนุญาโตตุลาการสำหรับโครงการ Belt & Road Initiative
ในปี 2018 นั้น คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของจีน (China International Economic and Trade Arbitration Commission หรือ ‘CIETAC’) พบว่ารูปแบบของข้อพิพาทที่พบบ่อยที่สุดจาก BRI นั้นจะเป็นข้อพิพาททางการเงิน[1]
ไม่เหมือนกับสนธิสัญญาการค้าหรือการลงทุนอื่น ๆ BRI เป็นเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการของรัฐที่ตกลงกันภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ที่ไม่มีผลผูกพันที่จะเข้าร่วมในโครงการริเริ่มด้านการพัฒนาที่ได้รับเงินสนับสนุนจากจีนเป็นส่วนใหญ่และดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ (State own enterprise หรือ SOE) และบริษัทของจีน ในขณะที่จีนอาจมีสนธิสัญญาการลงทุนทวิภาคี (BIT) ก่อนหน้านี้กับผู้เข้าร่วม BRI บางส่วนไม่มีสิทธิตามสนธิสัญญาการลงทุนเฉพาะ BRI และ BIT เพียงไม่กี่รายการระหว่างผู้เข้าร่วม BRI ซึ่งอาจ จำกัด การกู้คืนผ่านอนุญาโตตุลาการการลงทุน
นอกเหนือไปจากนี้ จากการที่ BRI นั้นเป็นการตกลงกันภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือ Memorandums of Understanding (MOUs) ซึ่งไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายแต่เป็นการตกลงในการเข้าร่วมการพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน ในขณะที่จีนนั้นอาจจะได้มีการตกลงสนธิสัญญาการลงทุนทวิภาคี (bilateral investment treaties) ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิทธิตามสนธิสัญญาการลงทุนสำหรับ BRI โดยเฉพาะซึ่งจะทำให้เกิดการจำกัดการเยียวยาผ่านทางอนุญาโตตุลาการการลงทุน
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
ด้วยลักษณะเฉพาะของโครงการ BRI นั้นมีความซับซ้อนและมีมูลค่าสูงเนื่องมาจากความหลากหลายทางธุรกรรมทางการเงิน รวมไปถึงการที่โครงการโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีขนาดใหญ่ เป็นโครงการระยะยาวตลอดจนของธุรกรรมและการลงทุนระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ทำให้เกิดความซับซ้อนและยุ่งยากในการแก้ไขข้อพิพาท ทั้งนี้เนื่องมาจากความแตกต่างในกฎหมายภายในประเทศของผู้ลงทุนต่าง ๆ รวมไปถึงการยอมรับและการบังคับใช้คำพิพากษาของศาลในระดับสากลอีกด้วย
นอกเหนือไปจากปัญหาดังกล่าวแล้ว การที่โครงการ BRI นั้นเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 70 ประเทศ ซึ่งถึงแม้ว่าเกือบทุกประเทศนั้นจะเป็นภาคีของอนุสัญญานิวยอร์ก (New York Convention) ซึ่งในประเทศเหล่านี้การยอมรับและบังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้นย่อมเป็นเรื่องที่ง่ายดาย แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา ได้แก่ อิรัก มัลดีฟส์ ติมอร์เลสเต เติร์กเมนิสถานและเยเมน
สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักคือในเรื่องของการลงทุนและพัฒนาระหว่างประเทศนั่นคือการทำให้แน่ใจว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ออกมานั้นมีผลบังคับใช้ได้จริงและสามารถบังคับใช้กับทรัพย์สินในต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องมาจากจีนนั้นได้มีข้อสวนเอาไว้ในอนุสัญญานิวยอร์ก ดังนั้นจึงหมายความว่า จีนจะยอมรับการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเฉพาะจากรัฐภาคีที่รับรองคำชี้ขาดจากจีน และจะปฏิเสธไม่ยอมรับคำชี้ขาดซึ่งไม่ถือว่าเป็นการค้าภายใต้กฎหมายของจีน ทั้งนี้ สำหรับประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญานิวยอร์กอันได้แก่ อิรัก มัลดีฟส์ ติมอร์เลสเต เติร์กเมนิสถานและเยเมนนั้น คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ออกภายใต้กระบวนการอนุญาโตตุลาการจากประเทศเหล่านี้จะไม่สามารถยอมรับและบังคับใช้ในประเทศจีนได้ นอกเหนือไปจากนี้ หากพบว่าการลงทุนนั้นมีการคอรัปชั่นรวมไปถึงการติดสินบนจากศาลภายในประเทศของจีน การบังคับใช้คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้นอาจไม่สามารถบังคับใช้ตามเนื่องจากการขัดต่อนโยบายสาธารณะภายใต้มาตรา 5 ของอนุสัญญานิวยอร์ก
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation)
นอกเหนือไปจากการระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการแล้ว การไกล่เกลี่ยก็เป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะกับคู่พิพาททางฝ่ายจีน อีกทั้งการไกล่เกลี่ยนั้นยังได้รับความนิยมจากประเทศที่ใช้ระบบ civil law อีกด้วย ทั้งนี้รวมไปถึงการระงับข้อพิพาทแบบผสมหรือ Med-Arb (Mediation-Arbitration) ซึ่งสามารถได้รับประโยชน์จากอนุสัญญานิวยอร์กอีกด้วย
[1] Wang Wenying ‘Development and reform of CIETAC’ Norton Rose Fulbrigh (Blog Post) <https://www.nortonrosefulbright.com/en-nl/knowledge/publications/ca2c8f17/development-and-reform-of-cietac>.