THAC ชวนรู้ “ผิดนัด” กับ “ผิดสัญญา” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
หลังจากทำสัญญาแล้ว เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิดสัญญา ไม่ยอมทำตามสัญญา จนทำให้นำมาสู่การฟ้องร้องหรือระงับข้อพิพาทต่างๆ ขึ้น ซึ่งบางครั้งการกระทำนี้ หลายคนเรียกทำผิดสัญญา แต่บางกรณีก็ถูกเรียกผิดนัด ทำให้เกิดความสับสนว่ากรณีนี้ต้องเรียกอย่างไร ดังนั้น THAC จะพาทุกคนมารู้ว่าผิดนัด กับ ผิดสัญญา เหมือนหรือต่างกันอย่างไรและกรณีใดที่จะเรียกว่าผิดนัดบ้าง
ผิดสัญญา คืออะไร?
ถือเป็นคำที่หลายคนคุ้นกัน โดยความเข้าใจของคนทั่วไปและในทางกฎหมาย คือ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือฝ่าฝืนข้อตกลงที่ระบุในสัญญาเอาไว้ เช่น มีการระบุว่าจะต้องชำระเงินภายในวันนี้แต่ไม่ได้ชำระเงินมา การตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์หากชำระเงินเรียบร้อย สัญญายืมโดยไม่มีค่าตอบแทนซึ่งผู้ยืมไม่ยอมคืนเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้ยืม
สัญญา โดยสัญญาที่ว่านั้นจะต้องเป็นสัญญาลายลักษณ์อักษร มีรายละเอียดของคู่สัญญา รายละเอียดที่ระบุภายใน รวมถึงระบุถึงวิธีระงับข้อพิพาท ซึ่งจะต้องเป็นสัญญาที่ได้มาด้วยความชอบธรรม ซึ่งการผิดสัญญานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสัญญาต่างตอบแทนและไม่ต่างตอบแทนหรือสัญญามีค่าตอบแทนและสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
โดยการผิดสัญญานับว่ามีความหมายกว้างๆ อาจเกี่ยวข้องกับการชำระเงินหรือไม่ชำระเงินก็ได้ อย่างในกรณีสัญญาจ้างงานที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะต้องจ่ายค่าจ้างเป็นเงินให้กับคู่สัญญาที่ทำงานให้ นอกจากนี้ยังมีกรณีสัญญาที่ไม่ระบุระยะเวลาตายตัว แต่ถึงเวลาตามเงื่อนไขแล้วไม่ยอมทำตาม อย่างกรณีที่สัญญาว่าจะชำระหนี้ เมื่อคู่สัญญามีรายได้งานประจำ หากมีรายได้และงานประจำแล้วไม่ยอมชำระหนี้ถือว่ามีความผิดนั่นเอง รวมถึงกรณีที่เป็นการกระทำละเมิดข้อตกลงไม่ว่าจะเป็นสาระสำคัญหรือไม่ใช่สาระสำคัญก็ถือว่าผิดสัญญาเช่นกัน
ผลของการผิดสัญญานั้น โดยทั่วไปจะมีการระบุชัดเจนว่าถ้ามีการผิดสัญญาขึ้น จะเกิดอะไรและจะต้องใช้วิธีการใดในการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการผิดสัญญา เช่น หากไม่ชำระเงินที่เหลือภายในกำหนด เงินที่จ่ายมาทั้งหมดจะถูกริบและไม่มีการคืน หรือจะมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราในรูปแบบใดและอัตราเท่าไหร่ ตลอดจนจะหากมีการผิดสัญญาขึ้นคู่สัญญาตกลงจะใช้วิธีไกล่เกลี่ยก่อน จะไม่นำไปฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล และหากการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จก็จะใช้วิธีอนุญาโตตุลาการเพื่อให้คำชี้ขาดและยุติความขัดแย้ง ซึ่งหากมีการละเมิดนำเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาลก็ถือว่ามีความผิด อีกทั้งหากในสัญญาไม่ได้มีการระบุวิธีการดำเนินการหากผิดสัญญาขึ้น คู่สัญญาไม่มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้เองตามที่ต้องการนั่นเอง
ผิดนัด คืออะไร
การผิดนัด คือ การที่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทินหรือวันที่เจ้าหนี้ได้เตือนลูกหนี้ โดยคำว่า “หนี้” คือภาระหน้าที่ที่ลูกหนี้จะต้องกระทำหรือสิ่งที่เจ้าหนี้เรียกร้องเอาจากลูกหนี้ ซึ่งการผิดนัดนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเท่านั้น เพราะหากลูกหนี้มีเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนดก็ยังถือว่ายังไม่เป็นผู้ผิดนัด อีกทั้งในกรณีที่เจ้าหนี้ปฏิเสธที่จะรับชำระหนี้จากลูกหนี้หมายความว่า เจ้าหนี้ก็ผิดนัดรับชำระเงิน และกรณีที่ไม่มีการระบุวันที่ชัดเจนในการชำระหนี้ตามกฎหมาย เจ้าหนี้จำเป็นที่ต้องเตือนลูกหนี้ก่อน หากไม่เตือนและไม่มีการชำระหนี้ก็ยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
ลักษณะการผิดนัดคือการไม่ชำระหนี้นั่นเอง โดยวัตถุแห่งหนี้ มีอยู่ 3 แบบ คือ การกระทำ งดเว้นการกระทำ และส่งมอบทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นเงิน ที่เรียกว่า “หนี้เงิน” หรือส่งมอบทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งจะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เงินเท่านั้น และการกำหนดวันชำระเงินเป็นการกำหนดให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินและกำหนดอายุความเริ่มนับเท่านั้น
ผลของการผิดนัด คือ ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในค่าสินไหมทดแทน หากมีการระบุไว้วางผิดนัดชำระจะต้องเสียดอกเบี้ย ลูกหนี้ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่เกิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่มีกำหนดไว้ในสัญญานั่นเอง
ผิดนัด กับ ผิดสัญญา ความเหมือนและความแตกต่าง
สำหรับการผิดนัดกับผิดสัญญานั้น จะมีความเหมือนกันที่เป็นการกระทำที่ละเมิดสัญญา ไม่ปฏิบัติตามสัญญา อย่างการผิดนัดคือลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินกำหนด และผิดสัญญาคือการที่ลูกหนี้ไม่ชำระเงิน ทำให้ลูกหนี้กลายเป็นผู้ผิดนัดทันที กล่าวได้ง่ายๆ ว่าการผิดนัดเป็นส่วนหนึ่งในการกระทำผิดสัญญาก็ว่าได้ ซึ่งการผิดนัดจะมีความหมายที่แคบมากกว่า เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือผิดสัญญานั่นเอง ในขณะที่การผิดสัญญาทุกกรณีจะไม่ถือเป็นการผิดนัด หากไม่ใช้เป็นการชำระหนี้ หรือการผิดสัญญาไม่มีค่าตอบแทนนั่นเอง สามารถแบ่งได้ดังนี้
ข้อ | หัวข้อ | ผิดสัญญา | ผิดนัด |
1 | ประเภทสัญญา |
สัญญามีค่าตอบแทน สัญญาไม่มีค่าตอบแทน สัญญาต่างตอบแทนสัญญาไม่ต่างตอบแทน |
สัญญาไม่ต่างตอบแทน สัญญาต่างตอบแทน |
2 | สรรพนาม |
คู่สัญญา เจ้าหนี้ลูกหนี้ |
คู่สัญญา เจ้าหนี้ลูกหนี้ |
3 | ความหมาย | การที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบของ การชำระเงิน ตลอดจนไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนด | การที่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทินหรือวันที่เจ้าหนี้ได้เตือนลูกหนี้ |
4 | ความแตกต่าง | ผิดสัญญาจะมีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งทุกการผิดนัดถือเป็นการผิดสัญญา | ผิดนัดจะมีความหมายที่แคบกว่า เพราะหมายถึงการไม่ชำระเงินตามวันที่กำหนด โดยทุกการผิดสัญญาจะไม่เท่ากับการผิดนัด |
สุดท้ายนี้ ทุกคนคงทราบแล้วว่า ผิดนัด กับ ผิดสัญญา คืออะไร มีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร ซึ่งอีกวิธีในการป้องกันและระงับข้อพิพาททั้งจากการผิดนัดและผิดสัญญา คือ การใส่ข้อสัญญาการประนอมข้อพิพาทจาก THAC เพื่อให้เราเป็นผู้ดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยการประนอม และยุติข้อพิพาทอย่างสันติ ด้วยผู้ประนอมข้อพิพาทที่มีประสบการณ์และทักษะการประนอม ดูเพิ่มเติม
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อ THAC ได้ที่ อีเมล [email protected] หรือ โทร +66(0)2018 1615