
ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แนะนำการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จบข้อพิพาทอย่างสันติด้วยคนกลาง

ใครที่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลคงจะเข้าใจดี ถึงความเหนื่อยล้าในการเดินทางไปยังศาล การติดต่อหาทนายความ หรือแม้แต่ระยะเวลารอที่ยาวนาน ดังนั้นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องจึงเป็นทางเลือกที่อยากให้ทุกคนรับทราบ และเข้าใจถึงแนวทางการนี้ ในวันนี้ THAC จะพาทุกคนมารู้จักการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องว่าคืออะไร ทำไมถึงสามารถยุติข้อพิพาทได้ และจะเลือกคนกลางมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้อย่างไร
ทำไมการไกล่เกลี่ยถึงยุติข้อพิพาทได้อย่างสันติ?
สาเหตุที่ทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสามารถยุติข้อพิพาทโดยชอบธรรมเกิดขึ้นจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นเป็นกระบวนการยุติข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่พิพาทได้เจรจาพูดคุย โดยมีบุคคลกลางเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย แต่จะไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ยกเว้นกรณีที่เป็นการไกล่เกลี่ยในชั้นศาลและในชั้นการบังคับคดี ข้อดีคือในกรณีที่มีข้อพิพาททางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่มากนักหรือในข้อพิพาททางอาญาที่สามารถยอมความได้ก็สามารถจบข้อพิพาทได้อย่างรวดเร็ว สามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับธุรกิจหรือภายในครอบครัว สามารถเก็บเป็นความลับได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 นั่นเอง นอกจากนี้ ในการทำการไกล่เกลี่ยทั่วไป หากสามารถหาข้อยุติร่วมกันได้แล้วนั้น จะมีการทำสัญญาประนีประนอมภายหลัง ว่าทั้งคู่ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เพื่อเป็นการบันทึกข้อตกลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การเกลี่ยไกล่ก่อนฟ้อง คืออะไร แตกต่างจากหลังฟ้องอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสามารถที่จะแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องและหลังฟ้อง โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคือการดำเนินการไกล่เกลี่ยในขั้นตอนก่อนขึ้นศาล อาจหาข้อยุติกันได้ก่อนที่จะนำเรื่องไปชั้นศาลก็จะนับเป็นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี สามารถที่จะทำได้ 3 วิธี คือการจัดสรรหาผู้ไกล่เกลี่ยภายนอกมาดำเนินขั้นตอนเอง การยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือไปรษณีย์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และวิธีการไกล่เกลี่ยออนไลน์ ในขณะที่การไกล่เกลี่ยหลังฟ้องนั้น คือเมื่อเข้าสู่กระบวนการชั้นศาลแล้ว ศาลมีความเห็นว่าคู่พิพาทสามารถที่จะผ่อนปรนยอมความได้ก็จะดำเนินการไกล่เกลี่ย จัดตั้งผู้ประนีประนอม และทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลขึ้น
คนกลางที่จะมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การไกล่เกลี่ยเป็นไปได้อย่างสะดวกคือการมี “ผู้ไกล่เกลี่ย” ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เนื่องจากบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยคือเป็นผู้ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ เสนอแนะแนวทาง และหาทางออกเพื่อให้คู่พิพาทพึงพอใจทั้งสองฝ่าย คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ไกล่เกลี่ยคือมีความเป็นกลาง มีวาทศิลป์ในการพูดและรับฟัง ควบคุมอารมณ์และสถานการณ์ได้ดี ซึ่งไม่จำเป็นว่าผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องจบด้านกฎหมายมาโดยตรง สามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ เข้ามาร่วมได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตกลงกันได้และต้องทำหนังสือประนีประนอม ข้อตกลงจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมาย ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นโมฆะ โดยส่วนมากแล้วการไกล่เกลี่ยทั่วไป คู่พิพาทสามารถที่จะคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยได้ ในกรณีที่เป็นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องหรือหลังฟ้องแล้วที่ไม่ได้อยู่ในชั้นศาล ในกรณีที่อยู่ในชั้นศาลจะเรียกผู้ไกล่เกลี่ยว่า “ผู้ประนีประนอม” และไม่สามารถเลือกได้เอง เนื่องจากในแต่ละศาลจะมีผู้ประนีประนอมประจำศาล รวมถึงจะมีการจัดตั้งผู้ประนีประนอมศาลขึ้นมาเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและช่วยดำเนินการหาทางออกนั้นๆ
THAC กับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและการไกล่เกลี่ยออนไลน์
สำหรับใครที่มองหาการวิธีระงับข้อพิพาททางเลือกอยู่นั้น THAC สถาบันอนุญาโตตุลาการ มีบริการด้านการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง โดยคู่พิพาทสามารถที่จะค้นหาผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จากหลากหลายสัญชาติหรือภาษาได้ ช่วยยุติข้อพิพาทได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รักษาความสัมพันธ์ได้อย่างดี รวมถึงดำเนินขั้นตอนอย่างเป็นความลับ และสามารถรับบริการไกล่เกลี่ยออนไลน์หรือการระงับข้อพิพาทออนไลน์ได้เช่นกัน (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยออนไลน์เพิ่มเติม ที่นี่)
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
บทความเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย
- ต้องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท? THAC ชวนรู้วิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย
- ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แนะนำการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จบข้อพิพาทอย่างสันติด้วยคนกลาง
- รู้จัก TalkDD ระบบไกล่เกลี่ยพิพาทออนไลน์ มิติใหม่ของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก
- ความเป็นไปได้ของการระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR ) บนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
- เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี
- เจรจา หรือ ไกล่เกลี่ย หนทางไหนที่เหมาะในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ
- เกิดความขัดแย้ง แต่ไม่อยากขึ้นศาล? ชวนรู้จัก “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท”หรือ”การประนอมข้อพิพาท”
- ระงับข้อพิพาทคดีทรัพย์สินทางปัญญานอกศาลผ่านการไกล่เกลี่ย
- แนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางเลือกกับ THAC
- การระงับข้อพิพาททางเลือกคืออะไร?
- ไกล่เกลี่ยหนี้สินแบบไหนไม่ให้ติดเครดิตบูโร
- ชวนรู้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง แตกต่างจากข้อพิพาททางอาญาอย่างไร
- ถอดบทเรียนแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง
- THAC ชวนรู้ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?