การฟ้องร้องคดีครอบครัว รวมเรื่องสำคัญที่ควรทราบ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเด็กและเยาวชนมีวุฒิภาวะด้านต่างๆ แตกต่างจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนรู้ อารมณ์ พฤติกรรมและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ด้วยประสบการณ์ในชีวิตที่น้อยกว่าจึงจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการยุติธรรมที่ช่วยคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการพิจารณาคดีครอบครัว อันเป็นสถาบันที่สำคัญและมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการมุ่งแก้ไขพฤติกรรมของเด็กในการกระทำความผิดแล้ว ยังเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนอีกด้วย
ในบทความนี้ เราจะมาตอบคำถามเกี่ยวกับคดีครอบครัวคืออะไร มีรูปแบบใดบ้าง พร้อมแนะนำถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีครอบครัว เพื่อให้เกิดข้อตกลงที่ลงตัวระหว่างทั้งสองฝ่าย
คดีครอบครัว คืออะไร?
คดีครอบครัว คือ คดีแพ่งที่ทำการฟ้อง การร้องขอต่อศาล หรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับครอบครัว ดังนั้นคดีครอบครัวจึงเกี่ยวข้องกับการสมรส สิทธิและหน้าที่ หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา บิดา-มารดาและบุตรไม่ว่าในทางใด ซึ่งพิพาทกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทำการพิจารณาคดีจากสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวเนื่องกับครอบครัว หรือมีส่วนได้ส่วนเสียของผู้เยาว์
คดีครอบครัวมีอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปคดีครอบครัวเป็นการจำกัดความที่ครอบคลุมข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว ทั้งนี้ คดีครอบครัวที่สามารถพบได้บ่อยมีดังนี้
• คดีหย่าและการสมรส
มักพบได้ในลักษณะของคดีแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ การฟ้องหย่า หรือขอศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาในสัญญาก่อนสมรส และขอให้ศาลมีคำสั่งให้การสมรสเป็นโมฆะ เป็นต้น
• คดีผิดสัญญาหมั้น
ข้อพิพาทที่นำไปสู่คดีผิดสัญญาหมั้น มักเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทน การเรียกของหมั้น หรือสินสอดคืนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อันเนื่องมาจากการผิดสัญญาตามกฎหมาย
• คดีเกี่ยวกับบุตรและผู้เยาว์
มักเกิดขึ้นจากการพิพาทของพ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็ก ซึ่งนำไปสู่คดีขออำนาจปกครองบุตร หรือการขอรับรองบุตร การฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบุตรผู้เยาว์ ซึ่งเกิดจากการสมรสซ้อนเป็นบุตรโดยชอบอีกด้วย
การฟ้องคดีครอบครัว มีการพิจารณาและพิพากษาคดีอย่างไร?
การฟ้องคดีครอบครัวมีหลักสำคัญในการพิจารณาและพิพากษาคดี คือ ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลง หรือประนีประนอมกันในข้อพิพาท โดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ซึ่งการพิจารณาและพิพากษาคดีแบ่งออกเป็น 4 กรณี คือ
1. คดีมีข้อพิพาท หลังจากศาลได้รับคำฟ้อง หรือคำร้องใดๆ ก่อนพิจารณาคดีจะต้องแต่งตั้งผู้ประนีประนอมคดีครอบครัวขึ้นมาก่อน
2. คดีไม่มีข้อพิพาท หลังจากศาลได้รับคำฟ้อง หรือคำร้องใดๆ สามารถทำการไต่สวนได้ทันที
3. ในกรณีที่ผู้เยาว์มีประโยชน์ หรือส่วนได้เสียเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อศาลได้รับคำฟ้อง หรือคำร้องใดๆ ในคดีครอบครัว จะต้องแจ้งผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ที่ผู้เยาว์อยู่ในเขตอำนาจให้ทราบก่อนและฟังความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ก่อนมีคำพิพากษา
4. ในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีผลประโยชน์ หรือส่วนได้เสีย ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลจะทำการไต่สวนคู่ความ ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ประสงค์จะให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วย ให้ผู้พิพากษา 2 คนเป็นองค์คณะแทน
หากเกิดข้อสงสัยว่าในกรณีที่เกิดคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว จะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่ ให้อ้างอิงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวที่บัญญัติไว้ว่า ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สิ้นสุด
การไกล่เกลี่ยคดีครอบครัว
อ้างอิงตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ 2553 มีหลักสำคัญในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวนั้นว่าในคดีครอบครัวที่มีข้อพิพาท โดยก่อนเริ่มพิจารณาการไกล่เกลี่ยคดีครอบครัว ให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอม เพื่อไกล่เกลี่ยให้คู่ความในคดีครอบครัวประนีประนอมกัน โดยใช้หลักสำคัญในการพิจารณาและพิพากษาคดีดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น โดยสารจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์เป็นสำคัญ
ในระหว่างการไกล่เกลี่ย หรือพิจารณาคดี หากศาลเห็นว่าเพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรผู้เยาว์ อาจมอบหมายให้ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักจิตวิทยาดำเนินการสืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบให้คู่ความได้ ซึ่งผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แบ่งออกเป็น
1. การประนีประนอม
คือ คู่ความตกลงกันได้และร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งศาลจะยังไม่ทำการพิพากษาแต่จะกำหนดเงื่อนไขเวลาให้คู่ความทดลองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมก่อน
2. การงดไกล่เกลี่ย
คือ คู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ หรือคู่ความ
ทั้งนี้ ในการเจรจา ไกล่เกลี่ย หรืออนุญาโตตุลาการนอกศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทภายในครอบครัวนั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของคู่พิพาท ซึ่งหากตกลงประนีประนอมนอกศาลแล้ว ควรมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นกลาง เพื่อดำเนินการประนอมข้อพิพาทดังกล่าว และหาทางออกที่ลงตัวกับทั้งสองฝ่าย ซึ่ง THAC ยินดีให้บริการคำแนะนำ รวมถึงบริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากประสบการณ์และความชำนาญ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาที่ศาลตามวันนัด ผู้ไกล่เกลี่ยจะให้ทำการงดไกล่เกลี่ยแล้วนำคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีต่อไป
สรุปแล้วคดีครอบครัว คือ คดีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่ทำการฟ้อง หรือร้องขอต่อศาล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของคนในครอบครัวทั้งหมด ส่วนคดีครอบครัวฟ้องศาลไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดนั้นๆ จะเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาคดีและตัดสินคดีความ โดยมีหลักสำคัญในการพิจารณา คือ เน้นเรื่องความสัมพันธ์เป็นหลักและคำนึงถึงความสงบสุข และการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเพื่อให้คู่กรณีสามารถถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันได้ จนนำไปสู่ผลการประนีประนอมยอมความในที่สุด
เกี่ยวกับ THAC
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้าน
การอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อ THAC ได้ทาง
อีเมล: [email protected]