
เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี

โดยทั่วไปแล้ว การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการที่ช่วยสมานความเข้าใจ โดยมีคนกลางเข้ามาช่วยในการพูดคุยและทำให้ความขัดแย้งคลี่คลายได้ ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงวิธีการที่จะช่วยทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี ว่าจะต้องทำอย่างไรได้บ้าง ก่อนอื่นมาทราบกันก่อนว่า คดีที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ จะประกอบด้วย
- คดีที่เป็นข้อพิพาททางแพ่ง เช่น คดีที่ดินที่ไม่ใช่เรื่องกรรมสิทธิ์ ข้อพิพาทระหว่างทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือข้อพิพาทตามที่จะมีการกำหนดในพระราชกฤษฎีกา รวมถึงข้อพิพาทอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าล้านบาท หรือตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ทว่ายังมีการไกล่เกลี่ยคดีแพ่งบางคดีที่ไม่สามารถทำได้คือ คดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว และกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์
- คดีที่เป็นข้อพิพาททางอาญา เช่น สามารถยอมความได้หรือลหุโทษ (มาตรา 390 – 395 และมาตรา 397) และคดีลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
- คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คือคดีที่มีความผิดเกี่ยวกับอาญา แต่สามารถที่จะไกล่เกลี่ยเรียกร้องค่าเสียหายได้ในส่วนของคดีแพ่งได้ เช่น กรณีที่ขับรถโดยประมาณจนทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกาย ก็สามารถไกล่เกลี่ยได้ในส่วนของค่าเสียหาย สำหรับความผิดตามอาญา เจ้าหน้าที่พนักงานก็จะดำเนินการต่อ
สำหรับการไกล่เกลี่ยนั้นสามารถทำได้ทั้งการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้อง ซึ่งส่วนมากแล้วก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดี เจ้าหน้าที่อาจแนะนำให้ทำการไกล่เกลี่ยก่อน รวมถึงภาคธุรกิจส่วนมากมักจะเลือกใช้การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องก่อน เพราะเป็นวิธีที่อำนวยความสะดวกให้อย่างมาก ไม่มีการบันทึกในประวัติ และไม่ต้องเสียเวลา โดยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งจากการค้นหาผู้ไกล่เกลี่ยภายนอกจากสถาบันต่างๆ มาเพื่อดำเนินการผสานความขัดแย้งได้ ซึ่งสะดวกอย่างมาก เพราะสามารถตกลงเลือกผู้ไกล่เกลี่ย ที่มีประสบการณ์ในหัวข้อนั้นๆ โดยเฉพาะ และกำหนดขั้นตอนการดำเนินการไกล่เกลี่ยได้อย่างอิสระ หรือจะเลือกไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องผ่านศูนย์ไกล่เกลี่ยประจำศาล ซึ่งจะมีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งจะไม่มีการค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระศาลได้ โดยหากสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ ก็จะมีการจัดทำสัญญาประนีประนอมขึ้นเพื่อบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
ในอีกด้านหนึ่ง การไกล่เกลี่ยหลังฟ้อง คือเมื่อมีการดำเนินคดีและศาลนัดมาพิจารณาคดี แล้วนั้น ในระหว่างที่มีการเจรจาระหว่างโจทก์และจำเลย หากศาลมีความคิดเห็นว่าความขัดแย้งนี้สามารถไกล่เกลี่ยได้ ก็อาจจะมีการจัดตั้งผู้ประนีประนอมขึ้นมาเพื่อหาข้อยุติร่วมกันและจัดทำสัญญาประนีประนอมขึ้นภายหลังได้
เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การไกล่เกลี่ยประสบความสำเร็จ คือ “ผู้ไกล่เกลี่ย” เพราะถือเป็นคนกลางที่จะเข้ามาทำให้การไกล่เกลี่ยดำเนินได้อย่างราบรื่น แต่ไม่ได้เป็นผู้ชี้ขาดหรือตัดสินว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด จึงจะต้องใช้ทักษะการฟังและการสื่อสารขั้นสูง มีความเป็นกลาง ใจเย็น พร้อมีประสบการณ์อย่างมากเพื่อให้การไกล่เกลี่ยดำเนินการอย่างราบรื่น โดยไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นทนายความ แต่ในเบื้องต้นจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เพราะอาจจะต้องดูแลเกี่ยวกับหนังสือสัญญาประนีประนอมภายหลัง
สำหรับการกำหนดขั้นตอนการไกล่เกลี่ยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
- ก่อนประชุมไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านคดีข้อพิพาท ทำความเข้าใจความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้วางแผนแก้ไขและเลือกแนวทางการไกล่เกลี่ยที่สอดคล้องกัน รวมถึงการเตรียมตัวว่าคู่พิพาทคือใคร เป็นบุคคล มีการแต่งตั้งตัวแทน หรือเป็นนิติบุคคลก็อาจจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้อง
- เริ่มประชุมไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องสร้างบรรยากาศที่ดี มีการกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานร่วมกัน สร้างความไว้วางใจระหว่างกัน อำนวยความสะดวกระหว่างการไกล่เกลี่ยและหาแนวทางแก้ไขเมื่อมีความขัดข้องในการเจรจา พร้อมเสนอหนทางเพื่อยุติความขัดแย้ง ค้นหาความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย และช่วยทำข้อตกลงที่เป็นธรรมและถูกหลักกฎหมาย
- จบการไกล่เกลี่ย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น กรณีที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จก็จะต้องมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน สำหรับกรณีที่ไม่สำเร็จอาจมีการนัดไกล่เกลี่ยกันอีกรอบ หรืออาจใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการเพื่อช่วยหาข้อสรุปรวมกันได้
ค้นหาผู้ไกล่เกลี่ยกับ THAC
สำหรับใครที่ต้องการหาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทาง THAC มีบริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมถึงการประนอมข้อพิพาทด้านอื่นๆ พร้อมมีผู้ไกล่เกลี่ยจากหลากหลายสาขาที่ทรงคุณวุฒิเฉพาะทางและสามารถช่วยให้คู่พิพาทหาทางออกที่ดีร่วมกันได้ และยังมีประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ยจากหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม จึงอำนวยความสะดวกทั้งข้อพิพาทภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมช่วยให้ทุกฝ่ายได้หาทางออกได้อย่างสันติ
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
บทความเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย
- ต้องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท? THAC ชวนรู้วิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย
- ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แนะนำการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จบข้อพิพาทอย่างสันติด้วยคนกลาง
- รู้จัก TalkDD ระบบไกล่เกลี่ยพิพาทออนไลน์ มิติใหม่ของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก
- ความเป็นไปได้ของการระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR ) บนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
- เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี
- เจรจา หรือ ไกล่เกลี่ย หนทางไหนที่เหมาะในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ
- เกิดความขัดแย้ง แต่ไม่อยากขึ้นศาล? ชวนรู้จัก “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท”หรือ”การประนอมข้อพิพาท”
- ระงับข้อพิพาทคดีทรัพย์สินทางปัญญานอกศาลผ่านการไกล่เกลี่ย
- แนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางเลือกกับ THAC
- การระงับข้อพิพาททางเลือกคืออะไร?
- ไกล่เกลี่ยหนี้สินแบบไหนไม่ให้ติดเครดิตบูโร
- ชวนรู้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง แตกต่างจากข้อพิพาททางอาญาอย่างไร
- ถอดบทเรียนแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง
- THAC ชวนรู้ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?