“Kirin” เผย การถอนฐานการผลิตจาก “เมียนมาร์” เป็นทางเลือกสุดท้าย หากล้มเหลวในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
บริษัท Kirin Holding ผู้ผลิตเบียร์ยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น ตัดสินใจใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อแสวงหาทางออกจากการเป็นหุ้นส่วนในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับบริษัทที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับรัฐบาลทหารเมียนมาร์
ผู้ผลิตเบียร์ Kirin Ichiban ได้พยายามที่จะยุติการเป็นหุ้นส่วนกับ เมียนมา อีโคโนมิค โฮลดิ้งส์ (Myanma Economic Holdings (MEHL)) นับตั้งแต่ทหารของเมียนมาร์เข้าควบคุมประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากการเจรจาในรายละเอียดต่างๆกับ MEHL ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้ Kirin ได้ยื่นข้อพิพาทดังกล่าวต่อศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
โยชิโนริ อิโซสากิ ประธานและ CEO ของบริษัท Kirin เปิดเผยผ่านสำนักข่าว Nikkei (นิกเกอิ) ของประเทศญี่ปุ่นว่า ความสำคัญสูงสุดของบริษัทคือการรักษาการดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาร์ต่อไป การถอนฐานการผลิต และธุรกิจออกคือทางเลือกสุดท้าย ด้วยเหตุนี้การยื่นข้อพิพาทดังกล่าวสู่อนุญาโตตุลาการระหว่าประเทศที่สิงค์โปร์ คือความพยายามของบริษัทที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาร์ต่อ แต่จะยึดตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ
อิโซสากิ ยังเสริมอีกด้วยว่าแม้การระงับข้อพิพาทดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลา 1 – 2 ปี แต่กระนั้น Kirin หวังว่าทุกอย่างจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนปีหน้า เนื่องจากธุรกิจต่างๆจำต้องดำเนินการในด้านต่างๆต่อไป ทั้งนี้ Kirin เข้าซื้อและทำการลงทุนในประเทศเมียนมาร์ในปี 2558 โดยถือหุ้นส่วนอยู่ที่ 51% และ MEHL ถือหุ้นอีก 49%
การขยายกิจกรรมสู่ประเทศเมียนมาร์ ได้ส่งผลให้บริษัทสามารถทำกำไรมากที่สุดในกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ โดยคิดเป็น 9 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะมีการรัฐประหารช่วงต้นปีที่ผ่านมา
หลังจากการปฏิวัติของทหารในเมียนมาร์ Kirin ต้องเผชิญกับปัญหาที่บริษัทต้องเจรจาโดยตรงกับ MEHL โดยให้อธิบายว่าการทางออกที่ดีที่สุดของบริษัทคือการยุติการร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหาร แต่ยังคงให้คิรินดำเนินธุรกิจอยู่ในเมียนมาร์ต่อไป ดังนั้นการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขข้อพิพาททางธุรกิจข้ามพรมแดน
อิโซสากิ ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายยอมรับในคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยทั้งยังเปิดเผยอีกว่ากำลังดำเนินการตามข้อตกลงในการระงับข้อพิพาท โดยล่าสุดกลุ่มบริษัทเมียนมาร์ยื่นคำร้องต่อศาลย่างกุ้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมาให้อนุมัติการยุบโรงเบียร์เมียนมาร์ ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว ผู้บริหารของ Kirin เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง และชี้ให้เห็นว่า MEHL จะเริ่มธุรกิจด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในประเทศเมียนมาร์วิเคราะห์ว่า ธุรกิจเบียร์เป็นแหล่งรายได้อันมีค่าสำหรับ MEHL มีส่วนร่วมในธุรกิจหลากหลายประเภท ตั้งแต่บริการทางการเงินไปจนถึงการซื้อขายอัญมณี ซึ่งเชื่อว่าจะจัดหาเงินทุนให้กับกองทัพเมียนมาร์
แต่ข้อพิพาทดังกล่าวไม่อาจจะดำเนินการได้อย่างราบรื่นไปในทุกประเด็น ตัวแปรแทรกที่อาจะโผล่เข้ามาแม้หลังจากการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการสิงคโปร์ ซึ่ง โยชิฮิโร ทากาโทริ ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านข้อพิพาทระหว่างประเทศของ สถาบันอนุญาโตตุลาการชาร์เตอร์ (Chartered Institute of Arbitrators) ระบุว่า แม้คำชี้จากคณะอนุญาโตตุลาการสิงค์โปรจะเอื้อประโยชน์ต่อ Kirin แต่ก็มีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงเช่นกันที่ศาลในประเทศเมียนมาร์ขัดขวางกระบวนการดังกล่าว
แม้ว่าในปี 2556 เมียนมาร์เข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและการบังคับใช้รางวัลอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ผู้ลงนามยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ แต่กฎหมายของเมียนมาร์ได้ตัดสินว่าศาลสามารถปฏิเสธการบังคับใช้ในกรณีที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ ตามที่สำนักงานกฎหมาย Baker McKenzie ได้เปิดเผยไว้
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจคือว่าศาลเมียนมาร์จะรับฟังแรงกดดันจากรัฐบาลทหาร หรือชื่อเสียง และจรรยาบรรณของหลักนิติศาสตร์ ยูกาวะ ยูสุเกะ ตัวแทนสำนักงานย่างกุ้งของสำนักงานกฎหมายนิชิมูระและอาซาฮี (Nishimura & Asahi) ชี้แจงว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของข้อพิพาทซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่น และเมียนมาร์อาจหาข้อยุติในร่วมกันได้
ก่อนหน้านี้ บริษัทต่างชาติหลายแห่งประกาศลาออกจากเมียนมาร์นับตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลของกองทัพ ซึ่งรวมถึงบริษัทค้าส่งจากประเทศเยอรมันอย่าง Metro และ British American Tobacco Posco ยักษ์ใหญ่ด้านเหล็กกล้าของเกาหลีใต้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับ Kirin เนื่องจากการเจรจาหยุดชะงักของหน่วยงานเพื่อซื้อ MEHL จากการร่วมทุนของพวกเขา