รวมข้อมูลการไกล่เกลี่ย ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง, หลังฟ้อง และขั้นตอนการไกล่เกลี่ย
การไกล่เกลี่ยนับเป็นวิธีการที่หลายๆ ฝ่ายมักใช้เพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยอาศัยคนกลางหรือผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามาช่วยเหลือในการเสนอแนะทางออก ซึ่งในบทความนี้ THAC จะมาบอกความแตกต่างระหว่างการไกล่เกลี่ยก่อนและหลังฟ้องต่างกันอย่างไรและขั้นตอนการไกล่เกลี่ยต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะร่วมหาทางออกของข้อพิพาทต่างๆ ร่วมกันอย่างดี
การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและไกล่เกลี่ยหลังฟ้อง ต่างกันอย่างไร?
การไกล่เกลี่ยเป็นอีกวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก เป็นอีกช่องทางในการแบ่งเบาภาระชั้นศาล สามารถแบ่งได้เป็นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้อง โดยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องนั้นจะปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี ซึ่งจะมีบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องการอย่างผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อที่จะรวมไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม โดยสันติวิธี สามารถลดขั้นตอน ภาระค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการดำเนินคดีได้ เพราะไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือจัดเตรียมเอกสารในการสืบพยาน ในขณะที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหลังฟ้องจะเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากโจทก์มีการยื่นฟ้องแล้ว โดยอาจเรียกว่าเป็นการไกล่เกลี่ยระหว่างพิจารณาก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยให้คู่ความต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง
ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น จะมีทั้งแบบที่หาผู้ไกล่เกลี่ยและดำเนินการเองและผ่านชั้นศาลอย่างศาลยุติธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้ได้เปิดให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี ซึ่งอาจเป็นการไกล่เกลี่ยก่อนถึงวันนัดพิจารณาได้เช่นกัน จะมีขั้นตอน ดังนี้
- ยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และการสแกน QR Code แยกตามศาลผ่านระบบ CIOS
- เจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยเสนอผู้พิพากษาพิจารณาสั่งรับคำร้อง
- เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยส่งคำร้องและเอกสารทางไปรษณีย์หรือ E-mail แนบหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย โดยให้ตอบกลับภายใน 15 วันนับตั้งแต่ส่งคำร้อง
- กรณีตอบรับ จะหมายความว่าประสงค์ไกล่เกลี่ย จะกำหนดวันและวิธีการไกล่เกลี่ยอย่างชัดเจน ในกรณีที่ไม่ตอบรับจะถือว่าไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ยและต้องการให้ยุติเรื่อง
- คู่กรณีมาศาล เสนอศาล และแต่งตั้งผู้ประนีประนอม
- ผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ย
- หากตกลงยอมความได้จะทำข้อตกลงหรือสัญญายอม และอาจขอศาลพิพากษาตามข้อตกลงและสัญญายอม
- หากไม่สามารถตกลงกันได้ จะยุติการไกล่เกลี่ย โดยเมื่อมีอายุความครบ 60 วัน จะสามารถขยายได้อีก 60 วัน นับตั้งแต่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่มองขั้นตอนที่ไม่เป็นทางการมากนัก ก็สามารถที่จะใช้บริการผ่านสถาบันอนุญาโตตุลาการ หรือ THAC ได้เช่นกัน เนื่องจากการไกล่เกลี่ยกับทาง THAC จะมีความเป็นอิสระมากกว่า โดยทาง THAC ก็จะมีผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความเป็นกลาง พร้อมมีความชำนาญหลากหลายสาขาวิชาและมีเชื้อชาติหรือสามารถพูดได้หลายภาษา เพื่อเป็นคนกลางที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้คู่พิพาท สามารถค้นหาแนวทางยุติได้อย่างสันติ แต่ไม่ใช่เป็นการตัดสินชี้ขาดเหมือนการอนุญาโตตุลาการ โดยขั้นตอนจะมีความยืดหยุ่นกว่า สามารถกำหนดได้เอง ดำเนินการอย่างเป็นความลับและจบข้อพิพาทได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อหาข้อยุติได้แล้ว สามารถที่จะดำเนินการทำสัญญาได้เช่นกัน
Tips: บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
- ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แนะนำการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จบข้อพิพาทอย่างสันติด้วยคนกลาง
- ระงับข้อพิพาทคดีทรัพย์สินทางปัญญานอกศาลผ่านการไกล่เกลี่ย
ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหลังฟ้อง
สำหรับการไกล่เกลี่ยหลังฟ้องหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาล คู่ความสามารถขอให้ศาลใช้การไกล่เกลี่ยเวลาใดๆ ก็ได้ระหว่างการพิจารณาคดี ขณะที่หากคู่ความ 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ก็จะนำมาสู่การถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ หรือศาลมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่คู่ความตกลง นอกจากยังมีกรณีที่ศาลเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะตกลงได้ก็จะดำเนินการสอบถามหรือเชิญชวนให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้เช่นกัน ซึ่งระหว่างนั้นศาลจะมีเจ้าหน้าที่หรือบุคคลภายนอกเจ้ามาเป็นผู้ประนีประนอมและทำสัญญาประนีประนอมเมื่อหาข้อยุติร่วมกันได้
จากที่ได้กล่าวไปหลายท่านคงเข้าใจความแตกต่างของการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้องแล้ว รวมถึงขั้นตอนการไกล่เกลี่ยของทั้งสองแบบ สำหรับใครที่ต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย หรือวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่นๆ ทาง THAC ก็ยินดีให้บริการ เพื่อช่วยหาทางออกอย่างสันติวิธี รักษาความสัมพันธ์ และรักษาความลับระหว่างคู่พิพาท
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
อ้างอิง
บทความเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย
ข่าวเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย