
เจรจา หรือ ไกล่เกลี่ย หนทางไหนที่เหมาะในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ

“ขึ้นโรง ขึ้นศาล” หนึ่งในวลีที่หลายคนคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นการไปยังโรงพักหรือฟ้องร้องขึ้นศาลนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างง่ายดาย แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าแล้วถ้าเป็นความขัดแย้งระหว่างต่างประเทศ ต้องถึงขั้นขึ้นศาลโลกหรือไม่? แล้วยิ่งข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศจะต้องทำแบบไหนดี วันนี้ THAC จะพาทุกคนมารู้จักวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาลอย่างการเจรจาต่อรองและการไกล่เกลี่ย โดยจะมาแนะนำว่าแต่ละอย่างคืออะไร วิธีการไหนเหมาะกับการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศมากกว่า
การไกล่เกลี่ย การเจรจา คือ
ถือเป็นวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาลที่สามารถดำเนินการได้สะดวก โดยจะเปิดโอกาสให้คู่กรณีที่สมัครใจใช้วิธีการ ได้เปิดใจพูดคุยและหาทางออกเพื่อยุติปัญหาร่วมกัน ผ่านการเจรจาต่อรอง คือ การที่คู่พิพาทจะทำการพูดคุยเสนอหาทางออกกันในเบื้องต้น ซึ่งจะไม่มีคนกลางเข้ามาช่วยในการพูดคุยและระงับข้อพิพาท ในขณะที่การไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทจะเป็นการมีคนกลางเข้ามาช่วยในการพูดคุยและอำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ข้อพิพาทสามารถระงับได้ ซึ่งข้อดีข้อเสียของการเจรจาและไกล่เกลี่ย มีดังนี้
ข้อดีของการเจรจา
|
ข้อเสียของการเจรจา
|
ข้อดีของการประนอมข้อพิพาท
|
ข้อเสียของการประนอมข้อพิพาท
|
ข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศ
สำหรับข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศ สามารถเกิดขึ้นได้จากความแตกต่างทั้งทางด้านวัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ อัตราแลกเปลี่ยน ระยะเวลาที่แตกต่างกัน ตลอดจนข้อกฎหมาย และรวมถึงเหตุสุดวิสัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างประเทศได้ ส่วนมากแล้วเมื่อมีการค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเอกชนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ การทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศจึงจำเป็น เพราะถือเป็นข้อตกลงการค้าที่ผูกพันตามกฎหมาย เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง อย่างน้อยควรมีสัญญา เช่น
- สัญญาซื้อขาย (Purchase Order)
- สัญญาการชำระเงิน (Term of Payment)
- สัญญาการขนส่งและเทอมการส่งมอบสินค้า (Logistics & Incoterms)
- สัญญาประกันความเสี่ยง (Insurance)
โดยทั่วไปแล้ว ในสัญญาจะมีการระบุรายละเอียดอย่างครบถ้วน เช่น รายละเอียดของผู้ซื้อ-ผู้ขาย จำนวนเงิน มูลค่าของเงิน เทอมการชำระเงิน สถานที่ดำเนินการ เวลารับเงิน รายละเอียดสินค้า ปริมาณสินค้า สถานที่รับมอบ เวลารับสินค้า การบอกเลิกสัญญา ตลอดจนกรณีที่เกิดข้อพิพาทจะแก้ไขด้วยวิธีการใด ซึ่งส่วนมากแล้วหากเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศมักจะเลือกระบุวิธีการระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยหรือการอนุญาโตตุลาการมากกว่า เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่า รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่มีการเปิดเผยความลับ ไม่ได้อิงข้อกฎหมายประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงคู่พิพาทสามารถเลือกผู้ประนอมข้อพิพาทได้
เจรจาหรือไกล่เกลี่ย หนทางไหนที่เหมาะในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ
จากที่ได้กล่าวไป ความสำคัญในการระบุวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาลอย่างการเจรจาและการไกล่เกลี่ยในหนังสือสัญญาไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะหากเกิดข้อพิพาทแล้วเลือกที่จะระงับด้วยวิธีการขึ้นศาลเพียงอย่างเดียว จะทำให้คู่พิพาทต้องเสียเวลาและในบางครั้งอาจเสียเปรียบทั้งด้านค่าใช้จ่าย รวมถึงวิธีการพิจารณาคดีความนั้นจะเป็นการตีความไปตามข้อกฎหมาย แต่การระบุให้มีการระงับข้อพิพาทด้วยการเจรจาหรือไกล่เกลี่ยในเบื้องต้น จะเปิดโอกาสให้คู่พิพาทได้พูดคุยถึงความต้องการของแต่ละฝ่าย ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้
หัวข้อ | การเจรจา | การประนอมข้อพิพาท |
การฟ้องร้องดำเนินคดี | ไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้องดำเนินคดี | ไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้อง เพียงมีการระบุไว้ในข้อสัญญาก็สามารถติดต่อหน่วยงานได้เลย |
ระยะเวลา | ใช้เวลาน้อยกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง รวมถึงยังมีความยืดหยุ่นมากกว่า | ในบางกรณีอาจใช้ระยะเวลานานกว่าการเจรจาต่อรอง |
การมีคนกลาง | ไม่มีบุคคลกลางเข้ามาช่วยเจรจาต่อรอง | คู่พิพาททั้งสองจะจัดตั้งผู้ประนอมหรือผู้ไกล่เกลี่ยขึ้นมาช่วยอำนวยความสะดวกในการพูดคุย |
ความเป็นทางการ | ไม่มีความเป็นทางการ สามารถตกลงกับคู่พิพาทได้ | มีความยืดหยุ่น ไม่เป็นทางการ สามารถกำหนดขั้นตอนได้ |
การรักษาความลับ | สามารถเก็บรักษาความลับได้ เพราะเป็นการเจรจาต่อรองระหว่างคู่พิพาทเอง | สามารถเก็บความลับได้ เพราะผู้ประนอมจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ ของคู่พิพาทแก่สาธารณชน |
การยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศ | มีโอกาสสูงที่จะตกลงไม่ได้ในครั้งแรก ด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา ข้อกฎหมาย ที่อาจเป็นอุปสรรคในการระงับข้อพิพาท รวมถึงในกรณีที่อำนาจต่อรองต่างกันมาก อาจทำให้เกิดความไม่เสมอทางการต่อรองได้ | มีโอกาสในการยุติข้อพิพาทได้มากกว่า เพราะผู้ประนอมเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการหาความต้องการที่แท้จริงของทั้งสองฝ่าย แต่ก็อาจไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทว่ายังสามารถที่จะเลือกใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการเพื่อหาคำชี้ขาดได้ |
ข้อบังคับทางกฎหมายหลังระงับข้อพิพาท | ไม่มีการคุ้มครองหรือรับรองทางกฎหมาย | ในกรณีที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จจะไม่มีการรับรองทางกฎหมาย แต่ในกรณีที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จจะมีการทำหนังสือสัญญาประนีประนอมว่าข้อพิพาทเหล่านั้นได้ยุติเรียบร้อยและเป็นไปตามอนุสัญญาสิงคโปร์ |
จากตารางจะแสดงให้เห็นว่าการไกล่เกลี่ยจะได้เปรียบกว่าในแง่ของการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ เพราะสามารถหาบุคคลกลางเข้ามาช่วยประสานความเข้าใจ มีการทำสัญญาที่ระบุชัดเจนว่าจะไม่มีการนำข้อพิพาทที่ได้ระงับขึ้นมาเรียกร้องใหม่อีกครั้ง จึงนับว่าในแง่ของการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศมีความแตกต่างและมีประสิทธิภาพมากกว่าการเจรจาต่อรองนั่นเอง รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยังมีการรับรองด้วยอนุสัญญาสิงคโปร์ที่เป็นการบันทึกข้อตกลงสำหรับระงับข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไกล่เกลี่ย หากคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายสามารถที่จะยื่นคำร้องขอต่อองค์กรที่มีอำนาจ (Competent Authority) เพื่อให้บังคับตามข้อตกลงนั้นได้ (อ่านเพิ่มเติม)
นอกจากนี้การระบุวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ย การอนุญาโตตุลาการ หรือการระงับข้อพิพาทแบบผสม (Med-Arb) ในสัญญา ยังเพิ่มความเชื่อมั่นทางการลงทุนได้อีกด้วย เนื่องจากมีมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญานิวยอร์ก ซึ่งหมายความว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ทำขึ้นในต่างประเทศ สามารถนำมาขอบังคับตามคำชี้ขาดภายในประเทศไทยได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศไม่ว่าจะทำ ณ ที่ใด ประเทศที่เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญานิวยอร์กนั้นจะยอมรับนับถือ (Recognition) และทำการบังคับตามคำชี้ขาด เว้นแต่จะได้มีการกำหนดข้อสงวนไว้ตามอนุสัญญานิวยอร์ก (อ่านเพิ่มเติม) จึงทำให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดข้อพิพาทแล้วดำเนินการด้วยอนุญาโตตุลาการจะได้รับความเป็นธรรมนั่นเอง
ท้ายที่สุดแล้ว สามารถกล่าวได้ว่าการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางนั้นมีประสิทธิภาพในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศอย่างมาก เพราะการมีคนกลางที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและหาความพึงพอใจระหว่างกันโดยไม่มีการตัดสินชี้ขาด ย่อมมอบอำนาจในการตัดสินใจระหว่างคู่พิพาทได้มากกว่าวิธีการอื่น จึงนับเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ซึ่งทางสถาบันอนุญาโตตุลาการ THAC ก็มีบริการประนอมข้อพิพาทแบบครบวงจร เพื่อประสานความเข้าใจระหว่างคู่พิพาทได้ โดยสามารถคัดเลือกผู้ประนอมได้จากหลากหลายสาขาและเชื้อชาติได้ รวมทั้งเรายังมีบริการการประนอมข้อพิพาทออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกให้กับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศอย่างมาก สนใจติดต่อได้ที่นี่
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
บทความเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย
- ต้องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท? THAC ชวนรู้วิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย
- ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แนะนำการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จบข้อพิพาทอย่างสันติด้วยคนกลาง
- รู้จัก TalkDD ระบบไกล่เกลี่ยพิพาทออนไลน์ มิติใหม่ของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก
- ความเป็นไปได้ของการระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR ) บนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
- เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี
- เจรจา หรือ ไกล่เกลี่ย หนทางไหนที่เหมาะในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ
- เกิดความขัดแย้ง แต่ไม่อยากขึ้นศาล? ชวนรู้จัก “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท”หรือ”การประนอมข้อพิพาท”
- ระงับข้อพิพาทคดีทรัพย์สินทางปัญญานอกศาลผ่านการไกล่เกลี่ย
- แนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางเลือกกับ THAC
- การระงับข้อพิพาททางเลือกคืออะไร?
- ไกล่เกลี่ยหนี้สินแบบไหนไม่ให้ติดเครดิตบูโร
- ชวนรู้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง แตกต่างจากข้อพิพาททางอาญาอย่างไร
- ถอดบทเรียนแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง
- THAC ชวนรู้ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?