ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ข้อความสำคัญที่ต้องมีในสัญญาก่อสร้าง
เมื่อเกิดปัญหา การขึ้นโรง ขึ้นศาลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย แต่เมื่อถึงขั้นตอนดังกล่าวแล้ว กล่าวได้เลยว่าจะมีความปวดหัวต่างๆ ตาม เพราะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน เป็นทางการ และกินระยะเวลายาวนาน ทำให้การยุติข้อพิพาทอย่างการเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้รับความนิยมอย่างมาก
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ การสรรหาคนกลางขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการพูดคุย ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างกัน และค้นหาทางออกร่วมกัน โดยจะไม่มีการตัดสินหรือมอบคำวินิจฉัยให้ จึงมีความเป็นอิสระมากกว่านั่นเอง ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยนั้นไม่จำเป็นต้องจบจากสาขากฎหมายโดยตรง สามารถคัดเลือกจากความเชี่ยวชาญตามข้อพิพาทนั้นๆ ได้เลย ทำให้หลายๆ แห่งมีการใส่วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ในสัญญา โดยเฉพาะสัญญาก่อสร้าง ในบทความนี้ THAC จะมาตอบคำถามว่าทำไมการระงับข้อพิพาทจึงจำเป็นต่อการก่อสร้าง
ทำไมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทถึงสำคัญอย่างมากสำหรับการก่อสร้าง
1.ความซับซ้อนของการก่อสร้าง
กล่าวได้ว่าการก่อสร้าง ไม่ว่าจะโครงการใหญ่หรือเล็กล้วนมีความซับซ้อนอย่างมาก และเต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคและเอกสารเฉพาะทางของงานก่อสร้างที่มีด้วยการหลากหลายรูปแบบ โดยโปรเจกต์ขนาดใหญ่อาจมีเอกสารถึงหลักพันหน้าได้ เพราะต้องมีทั้งเอกสารสัญญา เอกสารแนบสัญญา แบบก่อสร้าง ใบอนุญาตก่อสร้างหรือ EIA รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สเปกวัสดุ การติดตั้ง ขอบเขตหน้าคู่สัญญา อีกทั้งการก่อสร้างนั้นยังรวบรวมผู้ปฏิบัติหน้าที่จากหลากหลายสาขา ทั้งฝ่ายจัดซื้อ วิศวกร สถาปนิก ผู้รับเหมา นักออกแบบภายใน ซัพพลายเออร์ต่างๆ ฯลฯ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่อีก จึงเพิ่มความซับซ้อนทั้งหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายเข้ามาอีกได้
2.การก่อสร้างสามารถเกิดข้อพิพาท/ข้อเรียกร้องได้ง่าย
จากข้อที่กล่าวไป ความแตกต่างในการทำงานและรายละเอียดมหาศาลย่อมทรงผลทำให้เกิดข้อพิพาทและข้อเรียกร้องได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการไม่เป็นไปตามข้อตกลง ทั้งด้านระยะเวลาการก่อสร้าง สเปกวัสดุ การเปลี่ยนแปลงกะทันหันต่างๆ ซึ่งข้อเรียกร้องเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มงบประมาณหรือการรับผิดชอบต่อค่าปรับต่างๆ ได้ ซึ่งการมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในสัญญาจึงจำเป็นอย่างมาก
3.วิธีการที่ช่วยยุติข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องไปศาล
เนื่องจากการก่อสร้างถือว่าเป็นหัวข้อที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อพิพาทหรือข้อเรียกร้องต่างๆ ได้โดยง่าย ซึ่งหากจำเป็นที่จะต้องไปยุติข้อพิพาทถึงชั้นศาลนั้น อาจส่งผลกระทบต่อโครงการและเม็ดเงินมหาศาลได้ เพราะศาลมีอำนาจในการสั่งยุติการก่อสร้างหรือดำเนินการต่างๆ ได้ ทำให้โครงการก่อสร้างอาจหยุดชะงักลง รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการกว่าจะไปถึงขั้นตอนศาลได้นั้น ส่วนมากแล้วจะกินเวลายาวนาน ยิ่งในคดีที่มีความซับซ้อนอย่างการก่อสร้างอาจสามารถใช้ระยะหลายสิบปีในการตัดสินได้เลย
4.สามารถพิจารณาและตัดสินใจเลือกผู้ไกล่เกลี่ยได้
หลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ย คือ การมอบอิสระให้แก่คู่พิพาทในการคัดเลือกคนขึ้นมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยจะมีคุณสมบัติคือ มีความเป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่มีความเกี่ยวข้องหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีความรู้และความเชี่ยวชาญในประเด็นที่เป็นข้อพิพาท และจำเป็นที่จะต้องมีทักษะการฟังและพูดที่ดี เพราะจะทำหน้าที่ในการเป็นคนกลางที่ขึ้นมาพูดประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น สรุปใจความ และสื่อสารความต้องการของทั้งฝ่าย โดยจะไม่มีการชี้นำ เอียงเอน หรือเลือกฝ่ายถูก เพื่ออำนวยความสะอาดและหาทางออกร่วมกันของคู่พิพาทนั้นเอง
5.การรักษาความลับ
การรักษาความลับถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก เพราะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะมีการจัดขึ้นจากความตกลงของคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ซึ่งสามารถกำหนดขอบเขต เนื้อหา สถานที่ ขั้นตอนต่างๆ ไปจนถึงผู้ไกล่เกลี่ยได้ ซึ่งสามารถดำเนินการอย่างเป็นความลับ และผู้ไกล่เกลี่ยและเนื้อหาที่ได้พูดถึงในการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้น จะไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงในชั้นศาลได้อีกด้วย
6.มอบอำนาจให้คู่พิพาทหาคำตอบร่วมกัน
การไกล่เกลี่ยไม่ใช่การหาว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด แตกต่างจากการอนุญาโตตุลาการและการขึ้นศาล เพราะการไกล่เกลี่ยคือการหาข้อยุติร่วมกันจากคู่พิพาท ที่ต่างผ่อนผันเพื่อให้ข้อพิพาทยุติโดยสันติ ซึ่งแต่ละฝ่ายจะเจรจาและบอกความต้องการของตัวเองและหาทางออกร่วมกัน ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยจะไม่มีสิทธิในการชี้นำหรือชักจูงให้คู่พิพาทเห็นด้วยกับข้อตกลงใดข้อตกลงหนึ่ง จะเป็นความประสงค์ของคู่พิพาทเท่านั้นที่จะตกลงหรือไม่ตกลง ซึ่งถ้าตกลงได้ ก็จะไปสู่ขั้นตอนการทำหนังสือสัญญาประนีประนอม และในการที่ตกลงไม่ได้ คู่พิพาทสามารถที่จะดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อหรือเปลี่ยนไปใช้วิธีการที่มีการมอบคำตัดสินหรือข้อพิพาทอย่างอนุญาโตตุลาการและการขึ้นศาลได้
จากเหตุผลทั้ง 6 ข้อขั้นต้นที่กล่าวไป คงทำให้หลายคนเข้าใจแล้วว่าทำไมใส่ข้อความไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจึงสำคัญ ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในวงการก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังสามารถใส่ได้กับหนังสือสัญญาทุกฉบับ โดยระบุว่า “ข้อพิพาทใดที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาตกลงที่จะแก้ไข ปัญหาโดยวิธีการประนอมข้อพิพาทโดยใช้ข้อบังคับว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ที เอช เอ ซี คู่สัญญาตกลงที่จะเข้าร่วมในการประนอมข้อพิพาทโดยมีเจตนาสุจริตและสัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น” เพียงเท่านี้ก็สบายใจได้เลยว่าเมื่อเกิดข้อพิพาทก็สามารถระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับ THAC ได้
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อ THAC ได้ที่ อีเมล [email protected] หรือ โทร +66(0)2018 1615