Negotiation คืออะไร? มารู้จักกับคำนี้อย่างลึกซึ้งก่อนทำการระงับข้อพิพาททางเลือก
หลายๆ คนอาจจะทราบกันอยู่บ้างแล้วว่าการระงับข้อพิพาทนั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในศาล เพราะการระงับข้อพิพาทต่างๆ สามารถระงับได้ด้วย การระงับข้อพิพาทนอกศาล หรือ การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ซึ่งการระงับข้อพิพาททางเลือก มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี อดีตเลขาธิการศาลปกครอง นาย ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ได้แจกแจงวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกไว้ในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ครั้งที่ นาย ดิเรกฤทธิ์ ยังคงดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ ซึ่งกล่าวไว้ว่า วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก มีอยู่ด้วยกัน 4 วิธีการ คือ การเจรจา, การไกล่เกลี่ย, การประนอมข้อพิพาท และอนุญาโตตุลาการ ซึ่งนอกจากนี้ ภายในบทความ นายดิเรกฤทธิ์ ยังได้กล่าวถึงข้อดีของการระงับข้อพิพาททางเลือกไว้ว่า “เป็นการเปิดโอกาสให้คู่กรณีที่สมัครใจใช้ วิธีการดังกล่าว ได้เปิดใจพูดคุยและหาทางออกเพื่อยุติปัญหาร่วมกัน ที่ย่อมจะสร้างให้เกิดความพึงพอใจแก่คู่กรณี ทั้งสองฝ่ายได้มากกว่า (ในกรณีที่คู่กรณีสามารถตกลงกันได้) โดยลักษณะของข้อพิพาทที่ต่างกันก็เหมาะสมกับ วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกที่แตกต่างกันออกไป”
ความหมายของการเจรจาต่อรอง
ความหมายของ การเจรจาต่อรอง หรือ Negotiation คือ การใช้อำนาจจากการต่อรองอย่างเป็นทางการ เพื่อให้เกิดการยอมรับและเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงข้อเสนอที่ได้ทำการเจรจากัน หรือทั้งสองฝ่ายส่งตัวแทนต่อรองกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อเสนอ หรือเป็นการประชุมเพื่อให้คู่พิพาทค้นหาข้อตกลงที่คู่พิพาทยอมรับร่วมกันหรือเป็นขั้นตอนของการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกประเภทนี้เป็นการระงับข้อพิพาทที่ไม่มีคนกลางมาช่วยหาระงับข้อพิพาท
ลักษณะของการเจรจาต่อรอง
การเจรจาต่อรองถูกจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.การเจรจาต่อรองแบบได้บางส่วน (Distributive Negortiation)
หมายถึง การเจรจาเพื่อแบ่งผลประโยชน์หรือมีสิทธิร่วมกัน ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งได้ผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว เช่น การเจรจาธุรกิจที่แบ่งผลประโยชน์ เจรจาแบ่งมรดก หรือเจรจาร่วมกันเลี้ยงดูบุตรของคู่สามีภรรยาที่ตัดสินใจแยกทางกัน เป็นต้น
2.การเจรจาต่อรองแบบได้เต็มส่วน (Integrative Negotiation)
หมายถึง การเจรจาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ผลประโยชน์หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว และต้องหาข้อเสนอแนะอื่นเพื่อเป็นทางออกที่สามารถตอบสนองหรือทดแทนให้กับอีกฝ่ายได้ ยกตัวอย่างเช่น การเจรจาขอซื้อหุ้นกิจการ การเจรจาถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นต้น
ประเภทของการเจรจาต่อรอง
การเจรจาต่อรองแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.การเจรจาต่อรองทางการทูต
การเจรจาประเภทนี้มีความเป็นทางการสูง และเกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ระหว่างประเทศหรือของประเทศใดประเทศหนึ่ง
2.การเจรจาต่อรองทางการค้า
การเจรจาประเภทนี้ สามารถเป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หรือระหว่างบริษัท ทั้งในและต่างประเทศ ไปจนการเจรจาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
3.การเจรจาต่อรองในทางอุตสาหกรรม
การเจรจาประเภทนี้มักเป็นข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งฝ่ายลูกจ้างอาจจะมี 1 ขึ้นไป มักเป็นเรื่องของเงินเดือนขั้นต่ำ และสวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างควรได้รับตามกฎหมาย เป็นต้น
4.การเจรจาต่อรองสิทธิครอบครองหรือปกครอง
การเจรจาสิทธิ มีตั้งแต่ข้อพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินตามโฉนดกับผู้ที่แอบเข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินผืนนั้น ข้อพิพาทระหว่างสามีภรรยาเรื่องสิทธิในการปกครองลูก ข้อพิพาทปักเสาหรือรั้วล้ำที่ดิน เป็นต้น
ข้อดีของการระงับข้อพิพาทด้วยการเจรจาต่อรอง
เนื่องจากเป็นระงับข้อพิพาทด้วยการเจรจาต่อรอง กระทำกันระหว่างคู่พิพาทเองจึงทำให้มีความปลอดภัยและรับประกันไม่ให้ข้อมูลของข้อพิพาทนั้นๆ รั่วไหล
เมื่อคู่พิพาทไม่สามารถเจรจาต่อรองระงับข้อพิพาทด้วยตัวเองได้
ในกรณีที่การเจรจาต่อรองระหว่างคู่พิพาทไม่เป็นผลหรือคู่พิพาทไม่สามารถหาข้อสรุปของข้อพิพาทดังกล่าวด้วยตัวเองไม่ได้ คู่พิพาทสามารถหาข้อสรุปของข้อพิพาทนั้นๆ ได้ด้วยการระงับข้อพิพาทในชั้นศาล หรือการระงับข้อพิพาททางเลือกประเภทอื่นๆ ได้ เช่น การประนอมข้อพิพาท หรือ การอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีการให้บุคคลที่ 3 เข้ามาช่วยระงับข้อพิพาทนั้นๆ ได้ ซึ่งทางคู่พิพาทสามารถหาบุคคลที่ 3 มาช่วยระงับข้อพิพาทด้วยตัวเองก็ได้ หรือคู่พิพาทจะใช้บริการจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ หรือ THAC เพื่ออำนวยความสะดวกในการหาบุคคลที่ 3 มารับระงับข้อพิพาทก็ได้
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศและให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทางและมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อ THAC ได้ที่ อีเมล [email protected] หรือ โทร +66(0)2018 1615