นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน แสดงความกังวลถึงการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมของนายจ้าง เรื่องการปฏิเสธบุคคลที่เคยได้รับเชื้อ Covid-19 เข้าทำงาน โดยเรียกร้องให้มีบทลงโทษที่ชัดเจนระหว่างการประชุมสภารัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
โดยรายงานล่าสุดระบุว่า หลังการประชุมสภารัฐมนตรีในวันดังกล่าวสิ้นสุด รัฐบาลท้องถิ่นหลายพื้นที่ของประเทศจีนได้ออกข้อบังคับห้ามการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมแก่ผู้ที่เคยได้รับเชื้อ Covid-19 และยังแก้ไขมาตรการต่อต้านการแพร่ระบาดในท้องถิ่นบางอย่างให้รัดกุมมากขึ้น รวมถึงสภารัฐมนตรีได้ออกมายืนยันว่าจะดำเนินการปรับปรุงข้อบังคับบางมาตรการ เพื่อเพิ่มการจ้างงานและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ นายยู เฉียงฉาน นักกฎหมายจากสำนักงานกฎหมาย Beijing Yuecheng ได้กล่าวกับ chinadaily ว่า นายจ้างคนใดที่ปฏิเสธผู้ที่เคยได้รับเชื้อ Covid-19 เข้ารับทำงาน ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันโรคและรักษาโรคติดต่อ รวมถึงกฎหมายส่งเสริมการจ้างงาน หากผู้สมัครงานคนใดถูกปฏิเสธการเข้ารับทำงานเนื่องจากเคยได้รับเชื้อ Covid-19 สามารถยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ เพื่อรับเงินชดเชยค่าเสียหายสำหรับการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและยื่นฟ้องร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ รวมถึงผู้ใดที่ถูกนายจ้างไล่ออกเนื่องจากได้รับเชื้อ Covid-19 สายพันธ์ุใหม่สามารถให้หน่วยงานด้านการปกครองเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยหรือไปยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้ช่วยตัดสินชี้ขาดต่อกรณีดังกล่าวได้ โดยสามารถฟ้องร้องค่าเสียหายตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด หรือยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อฟ้องร้องคดีแพ่ง หากการเจรจาและการอนุญาโตตุลาการไม่สามารถแก้ปัญหาได้
นายยู เฉียงฉานกล่าวเสริมว่า การแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในการรับสมัครงานของสาธารณรัฐประชาชนจีนควรเริ่มจากการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อ Covid-19 ที่ถูกต้องแก่ประชาชน หรือควรให้ทางรัฐบาลเสนอสิ่งจูงใจให้แก่นายจ้างในการจ้างงาน เพื่อลดปริมาณจำนวนคนว่างงาน และรักษาประสิทธิภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ที่สำคัญควรสร้างข้อบังคับที่จริงจังแก่นายจ้าง เพื่อป้องกันการสอบถามหรือตรวจสอบประวัติทางการแพทย์แก่ผู้ที่เคยได้รับเชื้อ Covid-19
สุดท้ายนี้การระงับข้อพิพาททางเลือกถือว่าเป็นทางเลือกหลัก ที่หลาย ๆ ประเทศยอมรับและใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แทนที่จะยื่นเรื่องฟ้องร้องกันที่ศาล THAC ให้บริการทั้งอนุญาโตตุลาการ และ การประนอมข้อพิพาท ที่มีความเป็นกลาง เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน อิสระ สะดวก ประหยัด ที่สำคัญคือ รักษาความลับ
THAC เชื่อว่าการเจรจากันเอง หรือการประนอมข้อพิพาทกับการหากลางเข้ามาช่วยเหลือ เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะว่าไม่งั้นจะต้องใช้เวลาในการหาข้อยุติที่นาน เสียทั้งเวลา และสุขภาพจิตทั้ง “นายจ้าง” รวมไปถึง “ลูกจ้าง”
ข้อมูลจาก
https://www.globaltimes.cn/page/202207/1270485.shtml
http://www.chinadaily.com.cn/a/202207/15/WS62d10ee6a310fd2b29e6c98b.html
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก THAC ได้ที่ !