ผู้อำนวยการ THAC เป็นประธานเปิดโครงการอบรมคณะอนุญาโตตุลาการ ศูนย์ระงับข้อพิพาทไทย – จีน TCIAC
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา นายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพร ผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมคณะอนุญาโตตุลาการ ร่วมกับศูนย์อนุญาโตตุลาการไห่หนาน (HIAC) และสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน (TCLAA) ภายใต้ความร่วมมือในนามศูนย์ระงับข้อพิพาทไทย – จีน (TCIAC Arbitration Training) เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของคณะอนุญาโตตุลาการ และกระบวนการพิจารณา ภายใต้มาตรฐานแห่ง TCIAC ร่วมกัน
นาย พสิษฐ์ อัศววัฒนาพร เปิดเผยว่าวัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทุกคนได้ยกระดับ และพัฒนาทักษะ รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เกิดการลบผลกระทบ หรือข้อพิพาทในการดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน จากความแตกต่างของข้อกฎหมาย และความซับซ้อนในการพิจารณาคดี พร้อมทั้งเพิ่มบทบาทของการะงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนข้ามแดนอีกด้วย
ภายในคำกล่าวเปิดโครงการ ผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ ยังเสริมต่อด้วยว่า ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาตัวเลขการเติบตางการค้า และเศรษฐกิจภายใต้ความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ และเอกชนระหว่าง ไทย – จีน เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางค้าแน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้น การระงับข้อพิพาททาทางเลือกจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย และปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 40 คน ในการให้การบริการการระงับข้อพิพาท และโครงการอบรมครั้งนี้จะทำให้ทุกฝ่ายมีผู้เชี่ยวที่หลากหลายวิชาชีพ และเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ในระหว่างการสัมมนานั้น ได้รับเกียรติจากนาย หวาง ซุยหลิน (Wang Xuelin) ประธานศูนย์ระงับข้อพิพาท TCIAC จากจีน และนาย ชิ ต้าโทว์ (Shi Datuo) เลขาธิการของ TCIAC ในการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอนุญาโตตุลาการและแนวทางปฏิบัติในประเทศไทย
พร้อมกันนี้สถาบันอนุญาโตตุลาการยังได้รับเกียรติจากคุณ นพมาศ ธรรมธีรเดโช ที่ปรึกษากฎหมายและทนายความจากบริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ ได้มามอบความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณสำหรับอนุญาโตตุลาการและค่าตอบแทนอนุญาโตตุลาการ รวมถึงคุณดุษดี ดุษฎีพาณิชย์ ทนายความ บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ฯ แขกรับเชิญพิเศษที่มามอบความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดให้อนุญาโตตุลาการต่างประเทศดำเนินการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย (ทางกายภาพ และออนไลน์) ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฉบับแก้ไขล่าสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 อีกด้วย