วารสารวิชาการนิติศาสตร์ ที เอช เอ ซี สถาบันอนุญาโตตุลาการ
1.นโยบายการจัดพิมพ์
วารสารวิชาการนิติศาสตร์ ที เอช เอ ซี สถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นวารสารวิชาการด้านกฎหมาย ซึ่งไม่ได้จำกัดเนื้อหาเฉพาะการระงับข้อพิพาททางเลือกเท่านั้น แต่ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจและมี ประโยชน์ต่อพัฒนาการทางกฎหมาย วารสารฉบับนี้จะตีพิมพ์ปีละ 1 ฉบับ ช่วงระหว่างดือนตุลาคม ถึงเดือนกันยายนของปีต่อไป โดยจัดทำขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการด้านกฎหมาย, เพื่อส่งเสริมให้ผู้ทรงคุณวฒิ นักวิชาการทั่วไป นิสิตนักศึกษา ตลอดจนบุคคลที่สนใจด้านนิติศาสตร์ มีโอกาสที่จะ นำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านกฎหมายอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการในแวดวงนิติศาสตร์ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของวารสารทางวิชาการ
2.การประเมินคุณภาพบทความ
กองบรรณาธิการกำหนดให้บทความที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการนิติศาสตร์ ที เอช เอ ซี สถาบันอนุญาโตตุลาการ ได้นั้น จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ (Peer-Review) แบบ Double-blinded โดยคัดสรรและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานด้านการยุติธรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีความหลากหลายในมิติของหน่วยงาน รวมทั้งตรงตามสาขาวิชาของงานวิชาการที่พิจารณา โดยบทความ 1 เรื่อง จะได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน และเพื่อให้การประเมินบทความเป็นไปด้วยความโปร่งใส ในกรณีที่บทความนั้นนิพนธ์โดยบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ภายในที เอช เอ ซี สถาบันอนุญาโตตุลาการ ก็จะได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันฯ ทั้งหมด
3.ลักษณะของบทความที่เผยแพร่
บทความทางวิชาการ บทความวิจัย ปกิณกะกฎหมาย และฎีกาวิเคราะห์
4.การเตรียมต้นฉบับของบทความ
4.1 ผลงานทางวิชาการต้องมีองค์ประกอบดังนี้
4.1.1 บทความทางวิชาการ ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยมีความยาวระหว่าง 200 – 300 คำ และคำสำคัญซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความ และจัดเรียงโครงสร้างตามลำดับดังนี้คือ บทนำ เนื้อหาบทสรุป และเอกสารอ้างอิง
4.1.2 บทความวิจัย ประกอบด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยมีความยาวระหว่าง 200 – 300 คำ และคำสำคัญซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความ และจัดเรียงโครงสร้างตามลำดับดังนี้คือ บทนำ วิธีการศึกษาผลการศึกษา อภิปรายผล บทสรุป ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง
4.2 รูปแบบการพิมพ์ (Format)เพื่อความสะดวกในการจัดหน้าและเพื่อคงความสมบูรณ์ของเนื้อหาในต้นฉบับ ขอให้ผู้เขียนใช้รูปแบบการ พิมพ์ดังต่อไปนี้
4.2.1 การตั้งค่าหน้ากระดาษ : ระยะขอบล่างและขอบขวา 2.54 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้ว ส่วนขอบบน 3.17 เซนติเมตร หรือ 1.25 นิ้ว ขอบซ้าย 3.81 เซนติเมตร หรือ 1.5 นิ้ว
4.2.2 ขนาดตัวอักษร ใช้ตัวอักษรฟอนต์ Th SarabunPSK ขนาด 16 point ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (single paragraph spacing) และจัดแนวข้อความให้ด้านหน้าและหลังเสมอกันแบบ Thai Distributed เพื่อความสะดวกในการจัดหน้า
4.2.3 ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษสำหรับชื่อภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของทุกคำให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
4.2.4 ชื่อผู้เขียน (Author) ต้นฉบับบทความที่ส่งมายังกองบรรณาธิการ ควรระบุชื่อผู้เขียนด้านล่างชื่อบทความ และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนในเชิงอรรถท้ายหน้า กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน จะต้องใส่รายละเอียดให้ครบทุกคน โดยกำกับหมายเลขยกกำลังไว้ต่อท้าย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– สำหรับบทความและข้อเขียนทั่วไป
ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา; อีเมล:xxxx) ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง [ทางวิชาการ/อาชีพ เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ] ประจำ [หน่วยงานที่สังกัด]
– สำหรับบทความและข้อเขียนจากโครงการวิจัย
ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา; อีเมล:xxxx) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง [ทางวิชาการ/อาชีพ เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ] ประจำ [หน่วยงานที่สังกัด] บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ/ปรับปรุงจากโครงการวิจัยเรื่อง [ชื่อโครงการวิจัย] ซึ่งได้รับงบประมาณ/ทุนสนับสนุนจาก [ชื่อหน่วยงานที่ได้รับทุนสนับสนุน]
-สำหรับบทความจากวิทยานิพนธ์
ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนหลัก (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา; อีเมล:xxxx) และ ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนร่วม (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง [ทางวิชาการ/อาชีพ เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ] ประจำ [หน่วยงานที่สังกัด]
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ/ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง [ชื่อวิทยานิพนธ์] ของ [ชื่อผู้เขียนหลัก] ซึ่ง [ชื่อผู้เขียนรอง] เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา [อาจใส่รายละเอียดอื่นๆ เช่น ผลการประเมินการสอบวิทยานิพนธ์ การได้รับทุนสนับสนุน หรือรางวัลอื่นๆ ตามสมควร]อนึ่ง หากมีผู้เขียนมากกว่า 1 คน สามารถระบุเฉพาะอีเมลของผู้เขียนหลัก หรือผู้ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อได้เพียงท่านเดียวก็ได้
4.2.5 บทคัดย่อ และ Abstract ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวระหว่าง 200 – 300 คำ และให้อยู่ในบทความหน้าที่ 1 เท่านั้น
4.2.6 คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยให้เลือกคำสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความที่นำเสนอนั้นๆ ไม่เกิน 5 คำ โดยพิมพ์ต่อจากเนื้อหาของบทคัดย่อและ Abstractและให้จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษ คำสำคัญในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมดเว้นแต่เป็นชื่อเฉพาะ
4.2.7 เนื้อเรื่อง ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การเขียนหัวข้อ (Headings)
-หัวข้อหลัก (Heading) ควรพิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้ม (bold) และชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย
-หัวข้อรอง (Sub-heading) ผู้เขียนสามารถเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้เช่น การย่อหน้าขีดเส้นใต้หัวข้อย่อย กำกับด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสลับกันระหว่างตัวอักษรกับตัวเลขก็ได้ แต่ต้องใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งบทความ
การเขียนคำอธิบายภาพประกอบและตาราง (Captions)
-ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ กราฟ หรือการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพในรูปแบบอื่นๆ ต้องมีคำอธิบายประกอบ โดยระบุลำดับภาพเป็นตัวเลข ตามด้วยคำอธิบายที่พิมพ์ตัวหนา และวางคำอธิบาย(caption) ไว้เหนือภาพ ชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย
-ระบุที่มาของข้อมูลด้านล่างภาพ โดยใช้ว่า ที่มา: (อ้างอิงแหล่งข้อมูลตามหลักการอ้างอิง)
-ผู้เขียนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ตาราง แผนภูมิ กราฟ มีเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง หากเป็นแผนภูมิ ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเอง ควรจัดกลุ่มรูปร่างหรือวัตถุ (group) หรือแปลงแผนภูมิเป็นไฟล์ภาพ (.jpeg หรือ .tif) เพื่อให้มีเนื้อหาสมบูรณ์ ไม่มีส่วนใดขาดหายหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการบรรณาธิกรณ์ต้นฉบับหรือตีพิมพ์
-ภาพต้องมีความละเอียดสูง (300 dpi ขึ้นไป) และควรเป็นไฟล์ .jpeg หรือ .tif เพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อตีพิมพ์
4.2.8 หมายเลขหน้ากำกับบทความ โดยวางตำแหน่งเลขหน้าที่กึ่งกลางด้านล่าง หรือมุมขวาด้านบน เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการต่อไป
4.2.9 เอกสารอ้างอิง ให้ใช้การอ้างอิงแบบ APA 6th Edition โดยอาจใช้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เช่น [1] จุมพต สายสุนทร. (2552).กฎหมายระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม).กรุงเทพฯ : วิญญูชน. โดยไม่ต้องใส่เลขหน้า เว้นแต่เป็นการอ้างอิงงานวิชาการประเภทบทความให้ใส่เลขหน้าตั้งแต่หน้าเริ่มต้นของบทความจนถึงหน้าสุดท้าย เช่น ศุภวีร์ เกลี้ยงจันทร์. (2561). โรคชอบขโมยของ (Kleptomania)กับความรับผิดทางอาญาตามหลักกฎหมายไทย, วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 6(8), 95-114.โดยผู้เขียนสามารถดูรูปแบบการอ้างอิงได้จาก https://sac.kku.ac.th/kmsac/research/r19.pdf.
4.2.10 ความยาว จำนวนทั้งบทความไม่เกิน15 หน้ากระดาษขนาด A4 ซึ่งต้องรวมรูปภาพตาราง เข้าด้วยแล้ว สำหรับบทความวิจัย จำนวนหน้าทั้งบทความไม่เกิน 10 หน้ากระดาษขนาด A4 ซึ่งต้องรวมรูปภาพตารางเข้าด้วยแล้ว
3.การตรวจ แก้ไข และให้ความเห็นในไฟล์ต้นฉบับบทความ
นอกจากผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ในบางกรณี ผู้เขียนอาจได้รับไฟล์ต้นฉบับที่มีการแก้ไขแนบกลับไปด้วย กองบรรณาธิการจะเรียบเรียงข้อความใหม่ พิสูจน์อักษร และนำความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิมาใส่กำกับในไฟล์ต้นฉบับบทความ โดยใช้ฟังก์ชั่น “การติดตามการเปลี่ยนแปลง” (Track Changes) ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานในโปรแกรม Microsoft Word จากนั้นจึงส่งต้นฉบับกลับไปให้ผู้เขียนพิจารณา และขอให้แก้ไขบนไฟล์ที่แก้ไขแล้วดังกล่าวดังนั้น เมื่อได้รับไฟล์ต้นฉบับจากกองบรรณาธิการกลับไปพร้อมผลการประเมิน ผู้เขียนควรใช้ฟังก์ชั่นTrack Changes เพื่อตรวจสอบว่ามีการแก้ไขต้นฉบับและให้ความเห็นเพิ่มเติมในจุดใดบ้าง เพื่อทำให้การปรับปรุง บทความเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วน และรวดเร็วยิ่งขึ้น